การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน (1)

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน (1) by Mind Map: การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน (1)

1. 1.1พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเมียนมา

1.1. พุทธศาสนานิกานเถรวาทเข้ามาสู่ประเทศพม่า เมื่อ คราวที่พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย ได้อุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 236 ได้มีการส่งพระสมณทูตไป เผยแผ่พระพุทธศาสนาในแถบ สุวรรณภูมิ ประเทศต่าง ๆ รวม 9 สาย ด้วยกัน พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองใน พม่าราวพุทธศตวรรษที่ 6 เพราะได้พบ หลักฐานเป็นคำจารึกภาษาบาลี และ จารึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

2. 1.3พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศมาเลเซีย

2.1. จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เชื่อกัน ว่าพระพุทธศาสนาได้แผ่สู่มาเลเซีย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 3 โดยนิกาย เถรวาทซึ่งไม่แพร่หลายเท่าใดนัก ต่อมา ในพุทธศตวรรษที่ 12 อิทธิพลของ อาณาจักรศรีวิชัย จึงได้มีพุทธศาสนา แบบมหายาน แผ่ขยายมาถึงมาเลเซีย

3. 1.4พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์

3.1. พระพุทธศาสนาเริ่มต้นในประเทศ สิงคโปร์ ตั้งแต่สมัยศรีวิชัย แต่ต่อมาชาว มลายูมุสลิมได้มาตั้งรกรากอยู่ และต่อ มาก็มีชาวจีนโพ้นทะเลได้มาตั้งรกราก อยู่ที่สิงคโปร์ ได้นำพระพุทธศาสนา แบบมหายานมาเผยแผ่ด้วย และเป็น ศาสนาที่แพร่หลายมากในประเทศนี้

4. 1.5พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศลาว

4.1. พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศลาวในรัชสมัยของพระเจ้าฟ้างุ้ม (พ.ศ. ๑๘๙๖-๑๙๑๔) แห่งอาณาจักรล้านช้าง เนื่องจากมเหสีของพระองค์คือ พระนางแก้วกัลยา ซึ่งเป็นพระธิดาของพระเจ้า- ศรีจุลราชแห่งเมืองอินทปัตย์ในอาณาจักรกัมพูชา ทรงเคารพนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาก่อน เมื่อพระนางเสด็จมาประทับที่อาณาจักรล้านช้าง ทรงรู้สึกไม่สบายพระทัย เพราะพบเห็นชาวเมืองเคารพ ผีสางเทวดา จึงกราบทูลให้พระเจ้าฟ้างุ้มแต ่งคณะราชทูตไปทูลขอพระสงฆ์จากพระเจ้าศรีจุลราช เพื่อมาช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระเจ้าศรีจุลราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้อาราธนาพระมหาปาสมันตะเถระ และพระมหาเทพลังกาให้นำพระสงฆ์จำนวน ๒๐ รูป เดินทางไปเผยแผ ่พระพุทธศาสนาที่อาณาจักร ล้านช้าง นอกจากนี้ได้พระราชทานพระพุทธรูปปัญจโลหะองค์หนึ่งพระนามว่า “พระบาง„ พร้อมด้วย พระไตรปิฎก และหน ่อพระศรีมหาโพธิ์มาถวายแก ่พระเจ้าฟ้างุ้มด้วย นับตั้งแต ่นั้นเป็นต้นมา พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทก็เจริญรุ่งเรืองในประเทศลาวและได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติไปในที่สุด

5. 1.2พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศอินโดนีเซีย

5.1. พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศ อินโดนีเซียในพุทธศตวรรษที่ 3 คราวที่ พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งพระโสณะ และพระอุตตระเดินทางมาเผยแผ่พุทธ ธรรม{[ที่สุวรรณภูมิ]} ต่อมาในพุทธ ศตวรรษที่ 12 ได้เกิดรัฐมหาอำนาจทาง ทะเลชื่อว่า อาณาจักรศรีวิชัย (Srivijaya) ซึ่งมีอิทธิพลตั้งแต่ อินโดนีเซีย จนถึงคาบสมุทรมลายู รวม ไปถึงทางใต้ของประเทศไทย อาณาจักรศรีวิชัยนี้ ศาสนิกชนส่วนใหญ่ จะเป็นนิกายมหายาน และแพร่หลาย มาก และได้พบหลักฐานทางโบราณคดี มากมาย ได้แก่ พระพิมพ์ดินดิบ และ พระโพธิสัตว์ เป็นต้น.

6. 1.7พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเวียดนาม

6.1. พระพุทธศาสนาที่เข้ามาสู่เวียดนามใน ยุคแรกแบบ 100%นั้น เป็นพุทธศาสนา แบบมหายาน โดยสันนิษฐานว่าท่านเมีย วโป (Meou-Po) [1]ได้เดินทางมาจาก ประเทศจีนเข้ามาเผยแผ่ เวียดนามจึงได้ รับเอาศาสนาจากจีน รวมทั้งคัมภีร์ทาง ศาสนา ก็เป็นภาษาจีนเหมือนกัน แต่การ เผยแผ่พุทธศาสนาก็ไม่เจริญนัก เพราะ กษัตริย์จีนในขณะนั้นนับถือศาสนาขงจื้อ ไม่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา และยัง ไม่พอพระทัยที่มีคนนับถือพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อชาวเวียดนามกอบกู้เอกราชได้ สำเร็จ พระพุทธศาสนาได้รับการฟื้นฟู อย่างจริงจังในปี พ.ศ. 1212 พระพุทธศาสนากลับมาเจริญรุ่งเรืองอีก ครั้ง พระพุทธศาสนาได้มีอิทธิพลต่อวิถี ชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก

7. 1.6พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศกัมพูชา

7.1. ศาสนาพุทธเข้ามาสู่กัมพูชาเมื่อราว พุทธศตวรรษที่ 10 โดยศาสนาพุทธ นิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำรัฐตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 18 ยกเว้นช่วงที่เขมร แดงครองอำนาจ ในปัจจุบันมีจำนวนเป็น 95% ของประชากรทั้งหมด[4] ประวัติศาสตร์ของศาสนาพุทธใน กัมพูชายาวนานเกือบสองพันปี ผ่านระยะเวลาของอาณาจักรต่างๆที่สืบทอ ดมาจากจักรวรรดิเขมร การเข้าสู่ กัมพูชาเกิดได้สองเส้นทาง คือรูปแบบดั้งเดิมของศาสนาพุทธที่ได้รับอิทธิพล ของศาสนาฮินดูเข้าสู่อาณาจักรฟูนัน โดยพ่อค้าที่นับถือศาสนาฮินดู ในเวลา ต่อมา ศาสนาพุทธได้เข้าสู่กัมพูชาอีกทางหนึ่งในช่วงอาณาจักรพระนคร โดย ผ่านทางอาณาจักรมอญคือทวารวดีและ หริภุญไชย