กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย by Mind Map: กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

1. ป.1

1.1. มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน

1.1.1. สาระที่1 การอ่าน

1.1.1.1. สาระการเรียนรู้

1.1.1.1.1. การอ่านออกเสียงและบอกความหมายของคำ คำคล้องจอง และข้อความที่ประกอบด้วย คำพื้นฐานคือคำที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่น้อยกว่า 600 คำรวมทั้งคำที่ใช้เรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ประกอบด้วย 1.คำที่มีรูปวรรณยุกต์และไม่มีรูปวรรณยุกต์ 2.คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราและไม่ตรงตามตัวสะกด 3.คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ 4.คำที่มีอักษรนำ

1.1.1.1.2. การจับใจความจากสื่อต่างๆเช่น 1.นิทาน 2.เรื่องสั้นๆ 3.บทร้องเล่นและบทเพลง 4.เรื่องราวจากบทเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

1.1.1.1.3. การอ่านหนังสือตามความสนใจ เช่น 1.หนังสือที่นักเรียนสนใจและเหมาะสมกับวัย 2.หนังสือที่ครูและนักเรียนกำหนดร่วมกัน

1.1.1.1.4. การอ่านเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ ประกอบด้วย 1.เครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน 2.เครื่องหมายแสดงความปลอดภัยและแสดงอันตราย

1.1.1.1.5. มารยาทในการอ่านเช่น 1.ไม่อ่านเสียงดังรบกวนผู้อื่น 2.ไม่เล่นกันขณะที่อ่าน 3.ไม่ทำลายหนังสือ

1.2. มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

1.2.1. สาระที่2 การเขียน

1.2.1.1. สาระการเรียนรู้

1.2.1.1.1. การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด ตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย

1.2.1.1.2. การเขียนสื่อสาร 1.คำที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 2.คำพื้นฐานในบทเรียน 3.คำคล้องจอง 4.ประโยคง่ายๆ

1.2.1.1.3. มารยาทในการเขียนเช่น 1.เขียนให้อ่านง่ายสะอาดไม่ขีดฆ่า 2.ไม่เขียนในที่สาธารณะ 3.ใช้ภาษาเขียนเหมาะสมกับเวลา สถานที่ และบุคคล

1.3. มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

1.3.1. สาระที่3 การฟัง การดู และการพูด

1.3.1.1. สาระการเรียนรู้

1.3.1.1.1. การฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำคำสั่งง่ายๆ

1.3.1.1.2. การจับใจความและผู้แสดงความคิดเห็นความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง เช่น 1.เรื่องเล่าและสารคดีสำหรับเด็ก 2.นิทาน 3.การ์ตูน 4.เรื่องขบขัน

1.3.1.1.3. การพูดสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น 1.การแนะนำตนเอง 2.การขอความช่วยเหลือ 3.การกล่าวคำขอบคุณ 4.การกล่าวคำขอโทษ

1.3.1.1.4. 1.) มารยาทในการฟัง เช่น 1.ตั้งใจฟัง ตามองที่พูด 2.ไม่รบกวนผู้อื่นขณะที่ฟัง 3.ไม่ควรนำอาหารหรือเครื่องดื่ม ไปรับประทานขณะที่ฟัง 4.ให้เกียรติผู้พูดด้วยการปรบมือ 5.ไม่พูดสอดแทรกขณะที่ฟัง 2.) มารยาทในการดู เช่น 1.ตั้งใจดู 2.ไม่ส่งเสียงดังหรือแสดงอาการรบกวนสมาธิของผู้อื่น 3.) มารยาทในการพูด เช่น 1.ใช้ถ้อยคำและกิริยาที่สุภาพ เหมาะสมกับกาละเทศะ 2.ใช้น้ำเสียงนุ่มนวล 3.ไม่พูดแทรกในขณะที่ผู้อื่นกำลังพูด

1.4. มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

1.4.1. สาระที่4 หลักการใช้ภาษา

1.4.1.1. สาระการเรียนรู้

1.4.1.1.1. 1.) พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ 2.) เลขไทย

1.4.1.1.2. 1.) การสะกดคำ การแจกลูก และการอ่านเป็นคำ 2.) มาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตรา และไม่ตรงตามมาตรา 3.) การผันคำ 4.) ความหมายของคำ

1.4.1.1.3. การแต่งประโยค

1.4.1.1.4. คำคล้องจอง

1.5. มาตรฐาน ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดี และวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

1.5.1. สาระที่5 วรรณคีและวรรณกรรม

1.5.1.1. สาระการเรียนรู้

1.5.1.1.1. วรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรองสำหรับเด็ก เช่น 1.นิทาน 2.เรื่องสั้นง่ายๆ 3.ปริศนาคำทาย 4.บทร้องเล่น 5.บทอาขยานบทร้อยกรอง 6.วรรณคดีและวรรณกรรมในบทเรียน

1.5.1.1.2. บทอาขยานและบทร้อยกรอง 1 บทอาขยานตามที่กำหนด 2 บทร้อยกรองตามความสนใจ