วงจรการพัฒนาระบบ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
วงจรการพัฒนาระบบ by Mind Map: วงจรการพัฒนาระบบ

1. ความหมายของวงจรการพัฒนาระบบ

1.1. การแบ่งขั้นตอนกระบวนการพัฒนาระบบงาน หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางธุรกิจหรือตอบสนองความต้องการขององค์กรโดยระบบที่จะพัฒนานั้นอาจเป็นการพัฒนาระบบใหม่หรือการปรับปรุงระบบเดิมให้ดีขึ้น

2. สาเหตุที่ต้องมึีการพัฒนาระบบ

2.1. 1. ตัดงานที่ไม่จําเป็นออก

2.2. 2. ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานให้ง่าย และรวดเร็ว

2.3. 3. ปรับปรุงเครื่องมือ เครื่องใช้ให้เหมาะสม

2.4. 4. จัดสถานทที่ ํางานให้ง่ายต่อการปฏิบัติงาน (Work place layout)

2.5. 5. มอบงานใหตรงก ้ ับความสามารถของผู้รับ

2.6. 6. ปรับปรุงสภาพแวดล้อม

2.7. 7. รวบรวมงานที่มีขั้นตอนการปฏิบัติยืดเยื้อเข้าด้วยกัน

3. รูปแบบของวงจรการพัฒนาระบบ

3.1. 1. SDLC ในรูปแบบ Waterfall

3.2. 2. SDLC ในรูปแบบ Adapted Waterfall

3.3. 3. SDLC ในรูปแบบ Evolutionary

3.4. 4. SDLC ในรูปแบบ Incremental

3.5. 5. SDLCในรูปแบบ Spiral

4. ขั้นตอนการพัฒนาระบบ

4.1. 1.) ขั้นกําหนดขอบเขตปัญหา

4.1.1. ระยะที่ 1 การกำหนดปัญหา

4.1.2. นักวิเคราะห์ระบบจะต้องศึกษาเพื่อค้นหาปัญหา ข้อเท็จจริงที่แท้จริง ซึ่งหากปัญหาที่ค้นพบ มิใช่ปัญหาที่แท้จริง ระบบงานที่พัฒนาขึ้นมาก็จะตอบสนองการใช้งานไม่ครบถ้วน

4.1.2.1. สรุปขั้นตอนของระยะการกำหนดปัญหา

4.1.2.2. 1. รับรู้สภาพของปัญหาที่เกิดขึ้น

4.1.2.3. 2. ค้นหาต้นเหตุของปัญหา รวบรวมปัญหาของระบบงานเดิม

4.1.2.4. 3. ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการพัฒนาระบบ

4.1.2.5. 4. จัดเตรียมทีมงาน และกำหนดเวลาในการทำโครงการ

4.1.2.6. 5. ลงมือดำเนินการ

4.2. 2.) ขั้นวางแผนและการออกแบบ

4.2.1. ระยะที่ 2 การวิเคราะห์

4.2.2. การวิเคราะห์ จะต้องรวบรวมข้อมูลความต้องการ (Requirements) ต่างๆ มาให้มากที่สุด ซึ่งการสืบค้นความต้องการของผู้ใช้สามารถดำเนินการได้จากการรวบรวมเอกสารการสัมภาษณ์ การออกแบบสอบถาม และการสังเกตการณ์บนสภาพแวดล้อมการทำงานจริง

4.2.2.1. สรุปขั้นตอนของระยะการวิเคราะห์

4.2.2.2. 1. วิเคราะห์ระบบงานปัจจุบัน

4.2.2.3. 2. รวบรวมความต้องการ และกำหนดความต้องการของระบบใหม่

4.2.2.4. 3. วิเคราะห์ความต้องการเพื่อสรุปเป็นข้อกำหนด

4.2.2.5. 4. สร้างแผนภาพ DFD และแผนภาพ E-R

4.3. 3.) ขั้นดําเนินการเขียน คําสั่งงาน

4.3.1. ระยะที่ 3 การออกแบบ

4.3.2. เป็นระยะที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ ที่เป็นแบบจำลองเชิงตรรกะมาพัฒนาเป็นแบบจำลองเชิงกายภาพ โดยแบบจำลองเชิงตรรกะที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์ มุ่งเน้นว่ามีอะไรที่ต้องทำในระบบในขณะที่แบบจำลองเชิงกายภาพจะนำแบบจำลองเชิงตรรกะมาพัฒนา

4.3.2.1. สรุปขั้นตอนของระยะการออกแบบ

4.3.2.2. 1. พิจารณาแนวทางในการพัฒนาระบบ

4.3.2.3. 2. ออกแบบสถาปัตยกรรมระบบ

4.3.2.4. 3. ออกแบบรายงาน

4.3.2.5. 4. ออกแบบหน้าจออินพุตข้อมูล

4.3.2.6. 5. ออกแบบผังงานระบบ

4.3.2.7. 6. ออกแบบฐานข้อมูล

4.3.2.8. 7. การสร้างต้นแบบ

4.3.2.9. 8. การออกแบบโปรแกรม

4.4. 4.) ขั้นทดสอบและแก้ไขโปรแกรม

4.4.1. ระยะที่ 4 การพัฒนา

4.4.2. เป็นระยะที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรม โดยทีมงานโปรแกรมเมอร์จะต้องพัฒนาโปรแกรมตามที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้ การเขียนชุดคำสั่งเพื่อสร้างเป็นระบบงานทางคอมพิวเตอร์ขึ้นมา โดยโปรแกรมเมอร์สามารถนำเครื่องมือเข้ามาช่วยในการพัฒนาโปรแกรมได้เพื่อช่วยให้ระบบงานพัฒนาได้เร็วขึ้นและมีคุณภาพ

4.4.2.1. สรุปขั้นตอนของระยะการพัฒนา

4.4.2.2. 1. พัฒนาโปรแกรม

4.4.2.3. 2. เลือกภาษาโปรแกรมที่เหมาะสม

4.4.2.4. 3. สามารถนำเครื่องมือมาช่วยพัฒนาโปรแกรมได้

4.4.2.5. 4. สร้างเอกสารประกอบโปรแกรม

4.5. 5.) ขั้นจัดทําคู่มือระบบ

4.5.1. ระยะที่ 5 การทดสอบ

4.5.2. เมื่อโปรแกรมได้พัฒนาขึ้นมาแล้ว ยังไม่สามารถนำระบบไปใช้งานได้ทันทีจำเป็นต้องดำเนินการทดสอบระบบก่อนที่จะนำไปใช้งานจริงเสมอ ควรมีการทดสอบข้อมูลเบื้องต้นก่อน ด้วยการสร้างข้อมูลจำลองขึ้นมาเพื่อใช้ตรวจสอบการทำงานของระบบงาน หากพบข้อผิดพลาดก็ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง

4.5.2.1. สรุปขั้นตอนของระยะการทดสอบ

4.5.2.2. 1. ทดสอบไวยากรณ์ภาษาคอมพิวเตอร์

4.5.2.3. 2. ทดสอบความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้

4.5.2.4. 3. ทดสอบว่าระบบที่พัฒนาตรงตามความต้องการของผู้ใช้หรือไม่

4.6. 6.) ขั้นการติดตั้ง

4.6.1. ระยะที่ 6 การนำระบบไปใช้

4.6.2. เมื่อดำเนินการทดสอบระบบจนมั่นใจว่าระบบที่ได้รับการทดสอบนั้นพร้อมที่จะนำไปติดตั้งเพื่อใช้งานบนสถานการณ์จริง ขั้นตอนการนำระบบไปใช้งานอาจเกิดปัญหา จากการที่ระบบที่พัฒนาใหม่ไม่สามารถนำไปใช้งานแทนระบบงานเดิมได้ทันที

4.6.2.1. สรุปขั้นตอนของระยะการนำระบบไปใช้

4.6.2.2. 1. ศึกษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ก่อนที่จะนำระบบไปติดตั้ง

4.6.2.3. 2. ติดตั้งระบบให้เป็นไปปตามสถาปัตยกรรมที่ออกแบบไว้

4.6.2.4. 3. จัดทำคู่มือระบบ

4.6.2.5. 4. ฝึกอบรมผู้ใช้

4.6.2.6. 5. ดำเนินการใช้ระบบงานใหม่

4.6.2.7. 6. ประเมินผลการใช้งานของระบบใหม่

4.7. 7.) ขั้นการบํารุงรักษา

4.7.1. ระยะที่ 7 การบำรุงรักษา

4.7.2. หลังจากระบบงานที่พัฒนาขึ้นใหม่ได้ถูกนำไปใช้งานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนการบำรุงรักษาจึงเกิดขึ้น ทั้งนี้ข้อบกพร่องในด้านการทำงานของโปรแกรมอาจเพิ่งค้นพบได้ ซึ่งจะต้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องรวมถึงกรณีที่ข้อมูลที่จัดเก็บมีปริมาณที่มากขึ้นต้องวางแผนการรองรับเหตุการณ์นี้ด้วย นอกจากนี้งานบำรุงรักษายังเกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมกรณีที่ผู้ใช้มีความต้องการเพิ่มขึ้น

4.7.2.1. สรุปขั้นตอนระยะการบำรุงรักษา

4.7.2.2. 1. กรณีเกิดข้อผิดพลาดขึ้นจากระบบ ให้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง

4.7.2.3. 2. อาจจำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเพิ่มเติม กรณีที่ผู้ใช้มีความต้องการเพิ่มเติม

4.7.2.4. 3. วางแผนรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

4.7.2.5. 4. บำรุงรักษาระบบงาน และอุปกรณ์

5. ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบ

5.1. 1.ไม่มีการเปลี่ยนแปลกระบบใดๆเลย ภายหลังจากการวิเคราะห์ระบบแล้วพบว่ายังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในหารเปลี่ยนแปลกหรือเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลกระบบได้ตามที่ต้องการ

5.2. 2.ปรับปรุงระบบเดิมให้ดีขึ้น เมื่อพิจารณาผลจากาการวิเคราะห์ระบบแล้วพบว่า ปัญหาเหล่านั้นสามารถแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น

5.3. 3.พัฒนาระบบใหม่ขึ้นมาใช้งาน เมื่อพิจารณาผลจากการวิเคราะห์ระบบแล้วพบว่า หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะเกิดผลเสียร้ายแรงกับองค์กร

6. ปัญหาในการพัฒนาระบบ

6.1. ขาดข้อกำหนดวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ และนโยบาย

6.2. ขาดการวางแผนที่ดี

6.3. ขาดงบประมาณ

6.4. ขาดการติดตาม

6.5. ขาดควารู้ทั้งผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ

6.6. การพัฒนาระบบที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

6.7. การเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลบ่อยครั้ง