กฎหมาย​สิทธิ​บัตร

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
กฎหมาย​สิทธิ​บัตร by Mind Map: กฎหมาย​สิทธิ​บัตร

1. อนุสิทธิบัตร​

1.1. อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจาก ผลงานสร้างสรรค์จากการประดิษฐ์ คิดค้นที่ไม่มีความซับซ้อน อาจคิดขึ้นโดยง่าย เป็นความคิดสร้างสรรค์ ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย แต่ต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น

1.2. ขั้นตอนการยื่นขอรับอนุสิทธิบัตร

1.2.1. 1.แบบฟอร์มคำขอรับสิทธิบัตร

1.2.2. 2.คำอธิบายการเขียนรายละเอียดการประดิษฐ์

1.2.3. 3.รูปแบบรายละเอียดการประดิษฐ์

1.2.4. 4 .หนังสือสัญญาโอนสิทธิขอรับสิทธิบัตร

1.3. ขั้นตอนการยื่นจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์​

1.3.1. 1.ผู้ประดิษฐ์ตรวจทาน/แก้ไข แบบฟอร์มคำขอรับสิทธิบัตร รายละเอียดการประดิษฐ์ และหนังสือสัญญาโอนสิทธิ์

1.3.2. 2.ส่งไฟล์กลับมายังอีเมลศูนย์ฯ

1.3.3. 3.เมื่อเห็นว่าถูกต้องสมบูรณ์แล้ว ให้ผู้ประดิษฐ์ซึ่งเป็นเจ้าของผลงาน ส่งไฟล์ที่แก้ไขกลับมายังอีเมลศูนย์ฯ อีกครั้ง​

1.3.4. 4.เมื่อหลักฐานครบ รายละเอียดการประดิษฐ์ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ จะนำหลักฐานทั้งหมด ไปยื่นคำขอรับสิทธิบัตรที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ จะนำหลักฐานการยื่นคำขอที่ได้ และเลขที่คำขอรับสิทธิบัตรส่งคืนเจ้าของผลงานทั้งในรูปของเอกสาร และไฟล์ เพื่อเก็บเป็นหลักฐานร่วมกันกับศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาฯ ต่อไป​

2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

2.1. การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ที่แตก ต่างไปจากเดิมและต้องเป็นการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อ อุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม

2.2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์  หมายถึง สิทธิที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครอง การออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะ ตามกฎหมายกำหนดเป็นพิเศษ โดยให้ สิทธิที่จะผลิตสินค้า และจำหน่ายสินค้า แต่เพียงผู้เดียว ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

2.3. ผลที่ได้รับจากสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

2.3.1. ผู้ทรงสิทธิบัตรเท่านั้นมีสิทธิใช้ ผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร หรือขาย หรือมี ไว้เพื่อขาย หรือเสนอขาย หรือนำเข้ามา ในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ใช้แบบ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เว้นแต่การใช้แบบ ผลิตภัณฑ์เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย

2.4. เงื่อนไขการขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

2.4.1. ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ แตกต่างไปจากเดิมยังไม่เคยมีหรือใช้ แพร่หลายหรือได้เปิดเผยภาพ อันเป็น สาระสำคัญของการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่ แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อน วันขอรับสิทธิบัตรและต้องเป็นการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งสามารถผลิต ได้ในเชิงอุตสาหกรรมและหัตถกรรม

2.5. การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้

2.5.1. 1. แบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่

2.5.1.1. 1.1 ต้องไม่เป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือ ใช้แพร่หลายอยู่แล้ว ก่อนวันยื่นขอรับ ความคุ้มครอง 1.2 ต้องไม่เป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มี การเปิดเผยรูปภาพ สาระสำคัญ หรือ รายละเอียด ในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ ได้เผยแพร่อยู่แล้ว ก่อนวันยื่นขอรับ ความคุ้มครอง 1.3 ต้องไม่เป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมี ประกาศโฆษณาของสำนักสิทธิบัตรอยู่ แล้วก่อนวันยื่นขอรับความคุ้มครอง

2.5.2. 2. แบบผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน

2.5.3. 3. แบบผลิตภัณฑ์ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

2.6. ขั้นตอนการยื่นขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

2.6.1. หลักฐานการยื่นจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

2.6.2. ขั้นตอนการยื่นจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

2.6.3. เรื่องความเป็นเจ้าของสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มี 2 กรณีดังนี้

2.6.3.1. 1. ตามระเบียบของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2.6.3.2. 2. หากมีการทำวิจัยร่วมกับบุคลากรจากสถาบันอื่น

3. สิทธิบัตรการประดิษฐ์

3.1. คืออะไรสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากผล งานสร้างสรรค์จากการประดิษฐ์ที่มี ลักษณะของการแก้ปัญหาทางเทคนิคที่ ไม่สามารถคิดขึ้นโดยง่าย

3.1.1. การประดิษฐ์ (Invention) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ ลักษณะ องค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกของ ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การรักษา หรือปรับปรุงคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทำให้เกิด ผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม

3.2. การได้มาซึ่งความคุ้มครอง การประดิษฐ์จะได้รับความคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ก็ต่อเมื่อนำการประดิษฐ์นั้นมายื่น ขอรับความคุ้มครอง และได้รับการจด ทะเบียนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เท่านั้น