แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education for Sustainable devlopment)

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education for Sustainable devlopment) by Mind Map: แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education for Sustainable devlopment)

1. การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คือรูปแบบของนโยบายการจัดการศึกษาขององค์การสหประชาชาติหรือ UNESCO ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาทั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ทั้งหมด 17 เป้าหมาย โดยเป้าหมายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษานั้นอยู่ในเป้าหมายที่ 4 คือการจัดกการศึกษาที่เท่าเทียม ซึ่งการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยังยืนนั้นคือหัวข้อที่ 4.7 และจะเห็นได้ว่าเหมายนี้เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพลังผู้เรียนให้สามารถตัดสินใจอย่างมีข้อมูลและการกระทำที่มีความรับผิดชอบต่อความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม ความอยู่รอดพอเพียง และความเป็นธรรมทางสังคม เพื่อมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งเคารพในความหลากหลายทางวัฒนธรรม

2. ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้

2.1. รายวิชาศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ครูมอบหมายงานให้นักเรียนจับกลุ่มศึกษาประเด็นปัญหาของหลักธรรมต่าง ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตในปัจจุบัน หลังจากได้ประเด็นและหลักธรรมที่กลุ่มของตนสนใจแล้ว ให้แต่ละกลุ่มหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาหลักธรรมนั้น ๆ ที่ไม่สามารถนำมาสอดคล้องกับการดำรงค์ชีวิตปัจจุบันได้ นำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม ตามกระบวนการคิดแบบพุทธวิธี และกระบวนการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล พร้อมสรุปแนวทางการนำไปใช้แล้วนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน

2.2. รายวิชาเศรษฐศาสตร์ ครูมอบหมายงานให้นักเรียนในการศึกษาข้อมูลการใช้เงินของตนเองในแต่ละอาทิตย์ โดยให้สะท้อนปัญหาของการบริหารเงินของตัวเองออกมาให้ชัดเจน จากนั้นนำปัญหาของตนนั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ ในกลุ่มหรือในห้อง เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์การแก้ไขปัญหา ซึ่งจำทำให้ผู้เรียนเกิดแนวทางในการบริหารค่าใช้จ่ายของตนให้ออกมาได้อย่างเหมาะสมจนนำไปสู่การสร้างพฤติกรรมการบริหารเงินติดตัวไป ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาที่นำไปสู่ความยั่งยืน

2.3. รายวิชาประวัติศาสตร์ เป็นการนำมาใช้ในเรื่อง การศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยให้นักเรียนศึกษาปัญหาของการศึกษาประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดยอาจแบ่งกลุ่มทำงานหรือเดี่ยวก็ได้ ซึ่งให้ผู้เรียนหาข้อมูลและนำมาแบ่งปันแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในห้องเรียนหรือในกลุ่มของตน เพื่อกำหนดปัญหาที่เด่นชัดของการศึกษาทางประวัติศาสตร์ของไทย โดยที่ผู้สอนต้องมุ่งเน้นในการชี้แนะความคิดให้ผู้เรียนคิดในประเด็นของหลักฐานที่มีอยู่ในประเทศไทย หลังจากนั้นให้นักเรียนกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องต่อการลงมือกระทำในรูปแบบการกำหนดแนวทางการแก้ไข ซึ่งการจัดกิจกรรมนี้จะทำให้ผู้เรียนเกิดสำนึกในการอนุรักษ์หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทย อันนำไปสู่การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ยั่งยืนต่อไป

2.4. รายวิชาหน้าที่พลเมือง ครูผู้สอนกำหนดให้ผู้เรียนศึกษาปัญหาสังคมของประเทศไทย โดยอาจกำหนดให้แคบลงเป็นปัญหาภายในชุมชนได้เช่นเดียวกัน ซึ่งกระบวนการในรายวิชาหน้าที่พลเมืองนั้น จะสอดคล้องกับกระบวนการของสหประชาชาติ ตามที่ได้ยกตัวอย่างมาจากบทความที่ทำการศึกษา

2.5. รายวิชาภูมิศาสตร์ ครูผู้สอนสามารถนำมาใช้ในเรื่อง ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ โดยผู้สอนแบ่งกลุ่มทำโครงการเล็ก ๆ ในโรงเรียน และให้นักเรียนแต่ละกลุ่มระดมสมองสะท้อนปัญหาของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพภายในโรงเรียนของตนเป็นประเด็นการศึกษาของกลุ่มตน และร่วมกันกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับประเด็นที่กลุ่มตนเลือก จากนั้นร่วมกันลงมือแก้ไขปัญหาและสรุปกิจกรรมต่อไป

3. รูปแบบการจัดการศึกษาแบบ Reflect-Share-Act

3.1. คือการจัดการศึกษาที่มุ้งเน้นการถ่ายทอดประสบการณ์ในชิวิตของสมาชิกในกลุ่ม เพื่อการจัดการเรียนรู้และพัฒนาสังคมแบบยั่งยืนดังนี้

3.2. Reflect - คือการสะท้อนปัญหาที่เคยเกิดขึ้นกับประเด็นนั้น ๆ ผ่านพื้นฐานของชุมชน หรือสังคม

3.3. Share - คือการแบ่งปันประสบการณ์ของสมาชิกในกลุ่มเพื่อให้หลาย ๆ คนในกลุ่มได้เรียนรู้ปัญหาที่แต่ละคนเคยเจอ

3.4. Act - คือการลงมือปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน ผ่านการจัดกระบวนการรเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้ วิสาหกิจ หรือสถานศึกษา หรืออื่น ๆ

4. เป้าหมายที่มุ่งเน้น 8 ความสามารถ

4.1. ความสามารถในการคิดเชิงระบบ

4.2. ความสามารถในการคาดการณ์

4.3. ความสามารถเชิงบรรทัดฐาน

4.4. ความสามาถเชิงกลยุทธ์

4.5. ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

4.6. ความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์

4.7. ความสามารถในการตะหนักรู้ตนเอง

4.8. ความสามารในการแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการ