ภูมิภาคของโลกกับพัฒนาการ ทางประวัติศาสตร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ภูมิภาคของโลกกับพัฒนาการ ทางประวัติศาสตร์ by Mind Map: ภูมิภาคของโลกกับพัฒนาการ ทางประวัติศาสตร์

1. ทวีปแอฟริกา

1.1. -มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก -เป็นทวีปที่มีการพัฒนาล้าหลังที่สุด -มีทะเลทรายกว้างใหญ่ ป่าดิบชื้น ที่ราบสูงเป็นอุปสรรค ที่สำคัญมากต่อการพัฒนา และการคมนาคมติดต่อระหว่างกัน

1.1.1. 1.ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่มีต่อผลต่อพัฒนาการของทวีป

1.1.1.1. -เป็นทวีปที่มีเส้นศูนย์สูตรพาดผ่านเกือบกึ่งกลางทวีป ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทวีป -ทวีปแอฟริกาได้ชื่อว่า ทวีปแห่งที่ราบสูง -ภูเขาสูงสุด คือ ภูเขาคิลิมันจาโร

1.1.1.2. 1. มีทะเลทรายสะฮาราครอบคลุมเป็นบริเวณกว้างใหญ่ทางตอนเหนือ จึงขีดคั่นดินแดนแอฟริกาเหนือกับดินแดนส่วนอื่นของทวีป พัฒนาการของ ประเทศแถบทางเหนือ จึงแตกต่างจากส่วนอื่น ๆ และมีการพัฒนาที่สูงกว่า

1.1.1.3. 2. ตอนกลางของประเทศเป็นป่าฝนร้อนชื้นหรือป่าดิบชื้นที่ทำให้การคมนาคม ลำบาก และมีฌรคภัยเขตร้อนชุกชุม โดยเฉพาะโรคมาลาเรีย

1.1.1.4. 3.แม่น้ำในทวีปเป็นสายยาว แต่ไม่ไหลลงทะเลหรือมหาสมุทร แต่อาจลงทะเลสาบ/ไหลผ่านเกาะแก่ง และกลายเป็นน้ำตกทำให้ชาวแอฟริกัน ไม่สามารถใช้แม่น้ำเพื่อการคมนาคมขนส่งจากชายฝั่งเข้าไปตอนในของทวีป

1.1.1.5. 4. การขนส่งสินค้าทางทะเลไม่สะดวก เพราะขาดแคลนทั้งเมืองท่า และท่าเรือดี ๆ เนื่องจากชายฝั่งของทวีปเว้าแหว่งเป็นที่ราบสูงชัน โดยเฉพาะทาง ภาคตะวันออกจึงไม่อำนวยต่อการสร้างท่าเทียบเรือหรือทำการประมง

1.1.2. 2.พัฒนาการและการสร้างสรรค์ด้านต่างๆ

1.1.2.1. พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง

1.1.2.1.1. -ตั้งแต่โปรตุเกสจัดตั้งสถานีการค้าตามชายฝั่งแอฟริกาและส่ง ชาวแอฟริกันพื้นเมืองไปเป็นแรงงานทำให้ชาติตะวันตกอื่นๆพากันเข้าไปหาประโยชน์ในทวีปแอฟริกา -การเรียกร้องเอกราชประสบความสำเร็จครั้งแรกในปลายศตวรรษ 1950 -โกลด์โคสต์เป็นอิสระจากอังกฤษใน ค.ศ.1957 เมื่อได้รับเอกราชก็ได้เกิดสงครามกลาง เมืองตามมาเพราะการแตกแยกกันเองของคนพื้นเมือง

1.1.2.1.2. -การได้รับเอกราชสิ้นสุดลงเมื่อนามิเบียแยกตัวออกจากแอฟริกาสำเร็จ ภายหลังผู้คนเชื้อสายของประเทศผู้ปกครองเดิมอพยพกลับถิ่นฐานเป็นส่วนใหญ่ -ต้น ค.ศ.2011 ได้มีการขับไล่ผู้นำชาติในแอฟริกาที่บริหารมานาน ซึ่งมีปัญหาคอร์รัปชัน ลิดรอนสิทธิของพลเมือง ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ โดยเริ่มจากตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย

1.1.2.2. พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ

1.1.2.2.1. ทวีปนี้เป็นแหล่งผลิตเพชรและทองคำมูลค่ามหาศาลป้อนตลาดโลก ทั้งนี้เพราะ เขตความเจริญทางเศรษฐกิจของทวีปปรากฎเป็นเพียงจุดเล็กๆบนแผนที่เท่านั้น

1.1.2.2.2. 1.การตกอยู่ภายใต้การชี้นำทางเศรษฐกิจของประเทศ ตะวันตกที่เข้ามาตั้งอาณานิคม 2.ความลำบากในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และการคมนาคมขนส่งสินค้าและวัตถุดิบในทวีป 3.การทำเกษตรกรรมไม่ได้ผลดี

1.1.2.3. พัฒนาการด้านสังคมและศิลปวัฒนธรรม

1.1.2.3.1. พลเมืองในทวีปแอฟริกาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ พวกแอฟริกันผิวดำ และพวกคอเคเซียน พวกแรกจะมีจำนวนมากกว่าและดำรงชีพอยู่ทั่วไป ส่วน ทางเหนือมักจะเป็นพวกเชื้อสายคอเคเซียน ซึ่งเป็นพวกอาหรับผสมกับชนพื้นเมือง นอกจากนี้ยังมีพวกคอเคเซียนจากยุโรปเข้าไปตั้งถิ่นฐานจำนวนมากทางภาคใต้ โดยเฉพาะในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้

1.1.3. 3.อิทธิพลของทวีปแอฟริกาต่อสังคมโลก

1.1.3.1. แอฟริกาเป็นภูมิภาคที่ประชากรหลายล้านคนขาดแคลนทั้งอาหารและ สุขอนามัยต่างๆ เพราะระดับการพัฒนาล้าหลังที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังเป็น ดินแดนที่มีปัญหารุนแรงเรื่องการแพร่ของโรคเอดส์ และโรคมาลาเรีย รวมถึง ปัญหาทางด้านนิเวศวิทยาที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมของโลก

2. ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย

2.1. ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกและอยู่ทาง ทิศตะวันออกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชนาด ใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศที่เล็กที่สุดในโลก

2.1.1. 1.ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการของทวีป

2.1.1.1. ประชากรส่วนใหญ่อยู่บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกหลังแนว เทือกเขาเกรตดิไวดิง มีแม่น้ำสายสำคัญ เช่น แม่น้ำดาร์ลิง แม่น้ำเมอร์รีย์ และมีเขตเพาะปลูกรวมกันเพียงร้อยละ 7 ของพื้นที่ทั้งประเทศ

2.1.2. 2.พัฒนาการและการสร้างสรรค์ด้านต่างๆ

2.1.2.1. เป็นที่รู้จักกันว่า เทอร์รา ออสเตรลิส หรือแผ่นดินตอนใต้ ที่ไม่มีใครรู้จักออสเตรเลียเป็นทวีปสุดท้ายที่ชาวยุโรปค้นพบ ในสายตาของชาวดัตซ์ทวีปนี้เป็นดินแดนของคนป่าเถื่อน(ชาวอะบอริจินิส) ต่อมาเมื่ออังกฤษสูญเสียอเมริกาใน ค.ศ.1776 ซึ่งเคยเปนแหล่งระบายนักโทษ จึงคิดทีจะยึดออสเตรเลียเป็นแหล่งระบายนักโทษแห่งใหม่

2.1.2.2. พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง

2.1.2.2.1. ตั้งแต่ ค.ศ.1821 รัฐบาลอังกฤษได้ส่งเสริมให้เสรีชนเดินทางมาตั้ง หลักแหล่งในออสเตรเลีย พวกอดีตนีกโทษหมดบทบาทในสังคม เกิดการ ขยายชุมชนและการจัดตั้งรัฐต่างๆขึ้นเป็นอิสระจากกันโดยแต่ละรัฐมีข้าหลวง ปกครอง ขณะเดียวกันอำนาจเด็ดขาดของข้าหลวงก็ถูกจำกัดลง และรัฐบาลอังกฤษ ก็ออกกฎหมายให้มีการจัดตั้งนิติบัญญัติ

2.1.2.3. พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ

2.1.2.3.1. 1.การปศุสัตว์ -กลางศตวรรษที่ 1790 จอห์น แมกอาเทอร์เริ่มนำแกะพันธุ์เมอริโน ให้ขนแกะหนานุ่มมาทดลองเลี้ยง จนกล่ยเป็นสัตว์เศรษฐกิจ -ปลายศตวรรษ 1840 ได้เพิ่มจำนวนถึง 1.5 ล้านตัวเกิดการขยายพื้นที่ ในการเลี้ยงแกะ และการตั้งชุมชนที่สำคัญ

2.1.2.3.2. 2.การเกษตร -ช่วงทศวรรษที่ 1850 เศรษฐกิจของออสเตรเลียขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทองคำกลายเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้สูงมาพัฒนาประเทศ แต่ ระหว่าง ค.ศ.1860-1870 ทองคำเริ่มลดน้อยลง รัฐได้ดำเนินนโยบายการ เปิดพรมแดนเพื่อขยายพื้นที่การเกษตร กระตุ้นให้ทำปศุสัตว์ซื้อที่ดินแทนการเช่า

2.1.2.4. พัฒนาการด้านสังคมและศิลปวัฒนธรรม

2.1.2.4.1. 1.ความเสมอภาคของคนขาว -จัดเป็นสังคมที่มีความทัดเทียมกันทางชนชั้นทั้งภูมิหลังทางครอบครัวและชานิตระกูล -ในทศวรรษ 1850 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการค้าพบทองคำนั้น ผู้อพยพส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นพวกชนชั้นกลาง ทำให้ขบวนการเรียกร้อง และปฏิรูปเข้มแข็งขึ้น นำไปสู่การขยายสิทธิเลือกตั้งให้แก่ผู้ชายทุกคน โดยปราศจากการคัดค้านของชนชั้นขุนนาง

2.1.2.4.2. 2.การสร้างสังคมนานาชาติและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม -ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่าง ออสเตรเลียกับอังกฤษทั้งด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มีมาเริ่มเปลี่ยนแปลง การอพยพเข้ามาของชาวยุโรปตะวันออกและยุโรป ทำให้ออสเตรเลียมีลักษณะ เป็นสังคมนานาชาติที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม

2.1.3. 3.อิทธิพลของทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนียต่อสังคมโลก

2.1.3.1. เป็นภูมิภาคที่ประชากรหลายล้านคนขาดแคลนทั้งอาหารและสุขอนามัยต่างๆ เพราะระดับการพัฒนาล้าหลังที่สุดในโลก และยังเป็นดินแดนที่มีปัญหารุนแรง เรื่องการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ และโรคมาลาเรีย รวมถึงปัญหาทางด้าน ระบบนิเวศที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะสิ่งแวดล้อมโลก แต่หลายประเทศสนใจเข้าไป ลงทุนที่แอฟริกาเพราะยังมีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมหาศาลและแรงงานราคาถูก

3. ทวีปอเมริกาเหนือ

3.1. -เป็นที่ตั้งของประเทศที่มั่งคั่งด้วยทรัพยากรและความเจริญก้าวหน้าทางด้านต่างๆ -มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก

3.1.1. 1.ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการของทวีป

3.1.1.1. ตั้งอยู่ซีกโลกเหนือทั้งหมด ลักษณะภูมิประเทศคล้ายรูปสามเหลี่ยม แบ่งออกเป็น 3 ภูมิภาค คือ ภูมิภาคอเมริกาเหนือ ภูมิภาคอเมริกากลาง ภูมิภาคเวสต์อินดีส

3.1.1.2. แม่น้ำสำคัญมี 3 สาย คือ แม่น้ำแมกเคนซี แม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ แม่น้ำมิสซิสซิปปี

3.1.1.3. ดินแดนส่วนใหญ่ตั้งแต่เขตทรอปิกถึงเขตขั้วโลกเหนือมีอุณหภูมิเกือบทุกประเภทเช่นเดียวกับเอเชีย

3.1.2. 2.พัฒนาการและการสร้างสรรค์ด้านต่างๆ

3.1.2.1. พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง

3.1.2.1.1. ทั้งสหรัฐอเมริกาและแคนนาดาปกครองในระบอบประชาธิปไตย

3.1.2.1.2. -สหรัฐอเมริกาเดิมเป็นอาณานิคมของอังกฤษแต่อังกฤษปกครองอย่างเอาเปรียบ เก็บภาษีสูงทำให้ชาวอาณานิคมไม่พอใจจนนำไปสู่สงคราม -ช่วงก่อสร้างประเทศและขยายดินแดนปัญหาหลัก คือ ปัญหาทาสทางสังคมชาวอเมริกัน จนนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกันมลรัฐทางภาคเหนือ

3.1.2.1.3. -แคนาดาเดิมเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส แต่ฝรั่งเศสสนใจที่จะปกครองอย่างจริงจัง เพราะเห็นว่ายังเป็นดินแดนล้าหลังและไม่มีการสำรวจพื้นที่ทั้งหมด -ฝรั่งเศสใช้แคนาดาเป็นตลาดใหญ่ของการค้าขนสัตว์เท่านั้น

3.1.2.1.4. ในอเมริกากลางโดยเฉพาะเม็กซิโกเดิมเป็นอาณานิคมของสเปน -การปกครองเป็นแบบเผด็จการและมีการแย่งชิงอำนาจ -ใน ค.ศ.1917 ปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบประชาธิปไตย

3.1.2.1.5. -เมื่ออังกฤษได้อาณานิคมอเมริกันในทวีปอเมริกาเหนือ อังกฤษ จึงต้องการแย่งชิงตลาดการค้าขนสัตว์ของฝรั่งเศส นำไปสู่การเกิดสงคราม ระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสใน ค.ศ.1756 -ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายแพ้และเสียแคนาดาในอังกฤษ -แม้อังกฤษจะปกครองแคนาดาอย่างผ่อนปรนแต่ชาวแคนาดาก็ต่อต้าน ระบบการปกครองอาณานิคมของอังกฤษและเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมือง โดยเฉพาะการมีผู้แทนรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง

3.1.2.2. พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ

3.1.2.2.1. ระบบเศรษฐกิจของประเทศในอเมริกาเหนือเป็นระบบการค้าเสรี รัฐจะควบคุมและดำเนินการทางธุรกิจที่เกี่ยวกับการสาธารณะและสวัสดิภาพ ของสังคมส่วนร่วมทรัพยากรและแร่ธาตุที่มีอยู่มาก ตลอดจนเงินทุนและแรงงาน ที่มีคุณภาพจำนวนมากและมีเส้นทางขนส่งที่ดีทำให้ทวีปอเมริกาเหนือเป็นทวีปที่เจริญก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมของโลก

3.1.2.3. พัฒนาการด้ารสังคมและศิลปวัฒนธรรม

3.1.2.3.1. มีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ร่วมกัน วัฒนธรรมและวิถีชีวิตจึงเป็นวัฒนธรรมที่ผสมผสาน

3.1.3. 3.อิทธิพลของทวีปอเมริกาเหนือต่อสังคมโลก

3.1.3.1. อเมริกาเป็นประเทศที่มั่งคั่งและมีความเจริญก้าวหน้าทั้ง ด้านอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีต่างๆมากที่สุดในทวีป ได้ชื่อว่า เป็นผู้นำการปกครองระบอบประชาธิปไตย อุดมการณ์ของอเมริกาถือว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน เป็นหลักการปกครองที่ทุกประเทศทั่วโลกยอมรับ

3.1.3.2. ความเป็นผู้นำด้านอวกาศและนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา ทำให้อเมริกามีบทบาทโดดเด่นด้านความมั่นคงทางการเมือง

4. ทวีปอเมริกาใต้

4.1. -ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก -พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตซีกโลกใต้

4.1.1. 1.ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการของทวีป

4.1.1.1. เทือกเขาแอนดีส -ทอดยาวจากเหนือจรดใต้ขนานไปกับชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก -หลังสเปนเข้ายึดครองพบว่าเป็นเขตที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ จึงสร้างความมั่งคั่งอย่างมหาศาล

4.1.1.2. แม่น้ำแอมะซอน -ยาวอันดับ 2 ของโลก -มีต้นน้ำเริ่มจากเขตหิมะลายในเทือกเขาแอนดีสบริเวณประเทศเปรู -เขตป่าฝนของแม่น้ำแอมะซอนนับเป็นเขตป่าฝนที่กว้างใหญ่ที่สุดของโลก จึงเรียกว่าเป็นเขตปอดของโลก

4.1.2. 2.พัฒนาการและการสร้างสรรค์ด้านต่างๆ

4.1.2.1. พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ

4.1.2.1.1. ดินแดนอเมริกาใต้จัดว่าเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุและทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจุบันต่างมีความพยายามที่จะไม่ผูกติดเศรษฐกิจกับทรัพยากรประเภทใดประเภทหนึ่ง โดยภาพรวมเศรษฐกิจของทวีปยังคงมาจากผลิตผลทางการเกษตรเป็นหลัก

4.1.2.2. พัฒนาการด้านสังคมและศิลปวัฒนธรรม

4.1.2.2.1. -พวกอินเดียนเป็นชนพื้นเมืองเมืองของทวีปอเมริกา ปัจจุบันยังมี จํานวนมากโดยอาศัยอยู่ในเปรูและโบลิเวีย -พวกที่สืบเชื้อสายจากชาวยุโรป เขตที่อยู่สำคัญ คือ อาร์เจนตินา และอุรุกวัยซึ่งมีพลเมืองเชื้อสายอิตาลี สเปน ฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมันอาศัยอยู่

4.1.2.3. พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง

4.1.2.3.1. ส่วนใหญ่ได้รับเอกราชในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่สาธารณรัฐใหม่ต่างๆ ไม่มีประสบการณ์บริหารระดับประเทศ ทำให้นายทหารที่เรียกว่า พวกกอดิลโย สามารถยึดอำนาจการปกครอง/อยู่เบื้องหลังคอยชี้นำรัฐบาลระบบเผด็จการ/อำนาจนิยม เข้าครอบคลุมในหลายประเทศ รวมทั้งบราซิลและอาร์เจนตินา

4.1.3. 3.อิทธิพลของทวีปอเมริกาใต้ต่อสังคมโลก

4.1.3.1. -เป็นดินแดนแห่งอารยธรรมเก่าแก่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก จนเป็นรายได้สำคัญของหลายประเทศ -ค.ศ.2011 ก่อตั้งสหภาพแห่งประชาชาติอเมริกาใต้โดยใช้สหภาพยุโรป เป็นแม่แบบในการดำเนินงาน ทำให้อเมริกาใต้เป็นกลุ่มการค้าเสรีใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก