1. สื่อที่ใช้ในการเรียนรู้
1.1. สื่อการสอน
1.1.1. สิ่งต่างๆที่เป็นวัตถุ อุปกรณ์ วิธีการ และรวมถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นแหล่งเรียนรู้ ซึ่งช่วยถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ไปถึงผู้เรียน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ต้องการ ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง บรรลุ ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร (พรนภา พุทธสังฆ์, 2555) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsa-journal/article/download/249502/172565/918918
1.2. ทรัพยาการที่ใช้ในการสอน
1.2.1. ทรัพยากรทุกชนิด ซึ่งผู้เรียนสามารถใช้แบบเชิงเดี่ยว หรือแบบผสม แบบไม่เป็นทางการ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ https://eclassnet.kku.ac.th/etraining/file/1200395643-rahz.doc
1.3. ทรัพยากรการเรียนรู้
1.3.1. ทรัพยากรทุกชนิด ซึ่งผู้เรียนสามารถใช้แบบเชิงเดี่ยว หรือแบบผสม แบบไม่เป็นทางการ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ https://eclassnet.kku.ac.th/etraining/file/1200395643-rahz.doc
1.4. ประเภทของสื่อการเรียนรู้
1.4.1. จำแนกตามลักษณะ
1.4.1.1. 1. วัสดุ หมายถึง สิ่งของที่นำมาใช้อ านวยความสะดวกในการสอน เช่น ภาพถ่าย ภาพยนตร์ 2. อุปกรณ์ หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการสอน เช่น เครื่องฉายภาพ โทรทัศน์กระดาน 3. วิธีการ หมายถึง กิจกรรมที่ครูดำเนินการหรือให้ผู้เรียนปฏิบัติ เช่น การสาธิต การทดลอง ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2523) อ้างถึงใน กระทรวงศึกษาธิการ (2552) https://www.moe.go.th/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B
2. นวัตกรรมเพื่อการศึกษา
2.1. การนำเอาสิ่งใหม่ๆซึ่งอาจจะเป็น ความคิด เทคนิค วิธีการหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ หรือนำสิ่งเก่ามาปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสม เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น http://innovationforeducation.weebly.com/35883623363436173627361736343618.html
2.2. การยอมรับนวัตกรรม
2.2.1. การที่บุคคลแต่ละประเภท ยอมรับนวัตกรรมใหม่ๆ ได้มากน้อยแค่ไหน เพราะนวัตกรรมใหม่ สินค้าใหม่ บริการใหม่ หรือเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นในโลก มีคนนำไปใช้มากน้อยแตกต่างกัน (โสภณ แย้มกลิ่น,2566) https://www.sophony.co/business-model-innovation/innovation-adoption-%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3/
2.2.2. การกระจายตัวของนวัตกรรม
2.2.2.1. ทฤษฎีของ Everett Rogers
2.2.2.1.1. 1 กลุ่มบุกเบิก (Innovators) มีอยู่ 2.5% เป็นกลุ่มที่มีความกระตือรือร้นในด้านเทคโนโลยี มีความพร้อมทางด้านการเงินและทักษะในการใช้งาน เมื่อนวัตกรรมเปิดตัวแล้วจะตัดสินใจใช้ทันที มีบุคลิกกล้าเสี่ยง กล้าลอง จนถึงขั้นหลงใหลในสิ่งใหม่ๆ
2.2.2.1.2. กลุ่มที่ 2 กลุ่มล้ำสมัย (Early Adopters) มีอยู่ 13.5% เป็นกลุ่มคนที่มีความเป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรม เปิดใจให้กับสิ่งใหม่ ๆ คอยให้คำแนะนำ และให้ข้อมูลกับคนรอบตัว ได้รับความเคารพจากคนรอบตัว จึงมีความกลมกลืนอยู่กับสังคมใกล้ตัวมากกว่าคนกลุ่มที่ 1 ที่กลมกลืนกับสังคมในระดับสากล
2.2.2.1.3. กลุ่มที่ 4 กลุ่มตามสมัย (Late Majoriry) มีอยู่ 34% เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ยอมรับแนวคิดใหม่ ๆ หลังคนทั่วไปในสังคม มีความลังเลสงสัยในแนวคิดใหม่ ๆ จะตัดสินใจใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพราะความจำเป็นหรือได้รับแรงกดดันทางสังคม หรือกล่าวอีกอย่างได้ว่า นวัตกรรมนั้นจะต้องเป็นบรรทัดฐานของสังคมก่อน คนกลุ่มนี้จึงจะตัดสินใจใช้
2.2.2.1.4. กลุ่มที่ 5 กลุ่มล้าหลัง (Laggards) มีอยู่ 16% ซึ่งมีปริมาณเท่ากับกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 รวมกัน แต่กลุ่มที่ 5 ไม่สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้ เนื่องจากงานวิจัยพบกว่า กลุ่มที่ 5 ทั้ง 16% นี้ มีลักษณะที่กลมกลืนกัน คือ ยึดโยงอยู่กับอดีต คำนึงถึงคนรุ่นก่อน เมื่อตัดสินใจใช้เทคโนโลยี เทคโนโลยีนั้นก็อาจล้าหลังไปแล้ว คนกลุ่มนี้นอกจากจะมีความลังเลสงสัยในแนวคิดใหม่ ๆ ยังลังเลสงสัยในกลุ่มคนที่เป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง
3. กลุ่มที่ 3 กลุ่มทันสมัย (Early Majority) มีอยู่ 34% เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ยอมรับแนวคิดใหม่ ๆ ก่อนคนทั่วไปในสังคม ไม่ใช่ผู้นำทางเทคโนโลยี แต่พร้อมจะปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง โดยคนกลุ่มนี้จะใช้เวลาในการพิจารณาข้อมูลต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ จึงมีส่วนสำคัญในแพร่กระจายของนวัตกรรมในสังคม
4. เทคโนโลยีการศึกษา
4.1. เป็นการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา ดำเนินการ และประเมินผล สภาพแวดล้อมของการเรียนการสอนและสื่อการเรียนรู้ เพื่อนำไปพัฒนาเป็นระบบของการสอนและการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น https://www.learn.co.th/articles/
4.2. ขอบข่าย
4.2.1. การออกแบบ (design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้
4.2.2. การพัฒนา (development) เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนการออกแบบ
4.2.3. การใช้ (utilization) เป็นการใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน
4.2.4. การจัดการ (management) เป็นการควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน การจัดการ การประสานงาน และการให้คำแนะนำ
4.2.5. การประเมิน (evaluation) กระบวนการหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน
4.2.6. แนวคิดของสมาคมการสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษาแห่งสหรัฐอเมริกา
4.2.7. https://bomcharun.wordpress.com/
4.3. บทบาท
4.3.1. 1. ใช้จัดเตรียมการสอนอย่างเป็นระบบ 2. พัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่เป็นมาตรฐาน ลดความแตกต่างของการเรียนรู้ 3. กระตุ้นความสนใจในการเรียน 4. สร้างปฏิสัมพันธ์ในการเรียนรู้ 5. ควบคุมเวลาในการสอนหรือลดเวลาในการส่งสาร (เนื้อหา) จำนวนมากให้ผู้เรียนได้ 6. เพิ่มความคงทนในการเรียนรู้ และมีคุณภาพการเรียนรู้สูงขึ้น 7. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนผ่านสื่อ หรือเครื่องมือต่างๆได้จากทุกที่ทุกเวลา 8. เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น สร้างทัศนคติเชิงบวกในการเรียน 9. ผู้สอนมีเวลาเพิ่มเติมในการตอบคำถาม ให้ข้อมูลป้อนกลับ ตลอดจนพัฒนาตัวเอง ส่วนงานวิจัยและพัฒนา สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย อ้างถึงใน ยศระวี วายทองคำและคณะ. (2563). การใช้สื่อและเทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนการสอน. นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา. สำนักพิมพ้มหาวิทยาลัยรามคำแหง.