1. สื่อที่ใช้ในการเรียนรู้
1.1. คำคาบเกี่ยว
1.1.1. สื่อการเรียนการสอน
1.1.1.1. ความหมาย
1.1.1.1.1. สิ่งต่างๆ ที่เป็นบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนเทคนิควิธีการ ซึ่งเป็นตัวกลางทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ได้อย่างง่ายและรวดเร็วเป็นเครื่องมือซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็วเป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
1.1.2. ทรัพยากรที่ใช้ในการเรียนการสอน
1.1.2.1. ความหมาย
1.1.2.1.1. วัสดุที่ใช้ในการศึกษาเพียงแต่ว่าเนื้อหาที่บรรจุในวัสดุส่วนมากจะอยู่ในรูปของการให้ความบันเทิง เช่น คอมพิวเตอร์ หรือภาพยนตร์สารคดีชีวิตสัตว์สิ่งเหล่านี้ถูกมองไปในรูปแบบของความบันเทิงแต่สามารถให้ความรู้ในเวลาเดียวกัน
1.1.3. ทรัพยากรการเรียนรู้
1.1.3.1. ความหมาย
1.1.3.1.1. ทุกสิ่งทุกอย่างที่ช่วยผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
1.2. ประเภท
1.2.1. แบ่งตามคุณลักษณะ
1.2.1.1. 1.สื่อประเภทวัสดุ คือสื่อการสอนพื้นฐานที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนทั่วไปสำหรับบทเรียนต่าง ๆ ไม่จำกัดเฉพาะหัวข้อหรือวิชา สื่อประเภทนี้ เช่น สไลด์แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์
1.2.1.1.1. 2.สื่อประเภทอุปกรณ์ คือสื่อการสอนที่ใช้ประกอบในบทเรียนหรือวิชาที่มีความเฉพาะด้าน เช่น นาฏศิลป์ ภาพยนตร์ศึกษา เคมี ฟิสิกส์ ฯลฯ ดังนั้น จึงมีความแตกต่างกันไปในแต่ละหัวข้อของวิชาต่าง ๆ ตัวอย่างสื่อประเภทนี้ มักจะเป็น ของจริง หุ่นจำลอง เป็นต้น
1.2.2. แบ่งตามประสบการณ์
1.2.2.1. 1. ประสบการณ์ตรง เป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาเลย เพราะเป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากของจริงและความเป็นจริงในชีวิตด้วยตนเอง
1.2.2.1.1. 2. ประสบการณ์จำลอง เกิดขึ้นจากการที่ว่า วิชาความรู้แขนงต่าง ๆ ในโลกมีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมด
2. นวัตกรรมการศึกษา
2.1. ความหมาย
2.1.1. การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2.2. การยอมรับนวัตกรรม
2.2.1. แบ่งตาม”เอเวอร์เร็ท รอเจอร์
2.2.1.1. 1.ขั้นตื่นตัวหรือรับทราบ ขั้นแรกที่บุคคลรับรู้ว่ามีความคิดใหม่ สิ่งใหม่หรือวิธีปฏิบัติใหม่ ๆ เกิดขึ้นแล้วนวัตกรรมมีอยู่จริง แต่ยังไม่มีข้อมูลรายละเอียด
2.2.1.1.1. 2.ขั้นสนใจ บุคคลจะรู้สึกสนใจในนวัตกรรมนั้นทันทีที่เขาเห็นว่าตรงกับปัญหาที่เขาประสบอยู่หรือตรงกับความสนใจ
2.3. ประเภท
2.3.1. ตามผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง
2.3.1.1. 1.ครู เช่น แผนการการสอน คู่มือครู เอกสารประกอบการเนียน เป็นต้น
2.3.1.1.1. 2.นักเรียน เช่น บทเรียนสำเร็จรูป ชุดฝึกปฏิบัติ ใบงาน หนังสือเสริมประสบการณ์ เป็นต้น
2.3.2. ตามลักษณะ
2.3.2.1. 1.สื่อการเรียนการสอน เช่น บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน บทเรียนโมดูล วิดีทัศน์ เป็นต้น
2.3.2.1.1. 2.เทคนิคและวิธีการ เช่น บทบาทสมมติ การสอนเป็นคณะ การเรียนเพื่อรอบรู้ การสอบแบบโครงการ การฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม
3. เทคโนโลยีการศึกษา
3.1. ความหมาย
3.1.1. การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดนเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหา
3.2. ขอบข่าย
3.2.1. 1. การออกแบบ (design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้
3.2.1.1. 2.การพัฒนา (development) เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนการออกแบบ
3.2.1.1.1. 3. การใช้ (utilization) เป็นการใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน
3.3. บทบาท
3.3.1. 1. ช่วยในเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, ระบบมัลติมีเดีย, ระบบวิดีโอออนดีมา
3.3.1.1. 2. สนับสนุนการจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตาม ประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม
3.3.1.1.1. 3.การสื่อสารระหว่างบุคคล เกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน
3.4. ประเภท
3.4.1. แนวตั้ง
3.4.1.1. 1.ปฐมวัยศึกษา
3.4.1.1.1. 2.ประถมศึกษา
3.4.2. แนวนอน
3.4.2.1. 1.บริหารการศึกษา ระบบธุรกิจ การเงินพัสดุ กิจการนักเรัยน
3.4.2.1.1. 2.บริการการศึกษา ระบบสารนิเทศการศึกษา ระบบให้คำปรึกษาแนะแนว
3.5. พัฒนาการเทคโนโลยีการศึกษา
3.5.1. ทศวรรษที่ 1800 ใช้ชอล์กเขียนบนกระดานดำ
3.5.1.1. ทศวรรษที่ 1900 ใช้เทคโนโลยีทางสื่อโสตทัศน์
3.5.1.1.1. ทศวรรษที่ 1920 - 1930 เริ่มใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เรื่องบันทึกเสียง วิทยุกระจายเสียง เป็นต้น