1. กรอบแนวคิดทางการเงิน
1.1. กรอบแนวคิดทางการเงินของการจัดทำรายงานทางการเงิน ต้องการสนับสนุนพันธกิจของตามมาตรฐานการบัญชีสากล เช่น IFRS (International Financial Reporting Standards) หรือ GAAP (Generally Accepted Accounting Principles) ซึ่งให้แนวทางในการรับรู้และจัดทำรายงานทางการเงินที่มีความโปร่งใส และการรับผิดชอบตามหน้าที่และมีประสิทธิภาพจากการตลาดการเงินทั่วโลก
1.1.1. 1.สนับสนุนความโปร่งใสโดยเพิ่มความสามารถในการเปรียบเทียบกันในระหว่างประเทศและเพิ่มคุณภาพของข้อมูลการเงิน ช่วยนักลงทุนและผู้ร่วมตลาดได้ตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจอย่างมีข้อมูลประกอบ
1.1.2. 2.เสริมความรับผิดชอบตามหน้าที่โดยลดช่องว่างของข้อมูลระหว่างผู้ให้เงินทุนกับผู้ดูแลเงิน มาตรฐานที่อิงจากกรอบแนวคิดจะให้ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อให้ฝ่ายบริหารมีความรับผิดชอบตามหน้าที่ในฐานะแหล่งข้อมูลที่เปรียบเทียบกันได้ระดับโลก มาตรฐานเหล่านี้มีความสำคัญต่อหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลก
1.1.3. 3.สนับสนุนความมีประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจโดยช่วยนักลงทุนให้้ระบุโอกาสและความเสี่ยงทั่วโลก จึงเป็นการปรับปรุงจัดสรรเงินทุนให้ดีขึ้น สำหรับการประกอบธุรกิจ การใช้ภาษาบัญชีเดียวที่เชื่อถือได้เพราะมาจากมาตรฐาน ที่อิงจากกรอบแนวคิดทำให้ต้นทุนเงินทุนต่ำลงและลดต้นทุนการรายงานระหว่างประเทศ
1.2. ลักษณะสำคัญที่กรอบแนวคิดตั้งไว้ อาทิ เช่น มีสาระสำคัญ เที่ยงธรรม เปรียบเทียบได้ พิสูจน์ยืนยันได้ ทันเวลา เข้าใจได้ และการประยุกต์เชิงคุณภาพเสริม
1.3. มีกฏเกณฑ์ว่าด้วยการจัดทำงบการเงินและรายละเอียดในการนำเสนองบการเงินรูปแบบต่างๆ และองค์ประกอบของงบการเงินต่างๆ
1.4. คำนิยามหลักๆ 5 หมวด สินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย
1.4.1. สินทรัพย์ คือ ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจในปัจจุบันที่อยู่ในความควบคุมของกิจการอันเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ คือ สิทธิที่มีศักยภาพในการสร้างผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
1.4.2. หนี้สิน คือ ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการที่จะโอนทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจอันเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต
1.4.3. ทุน/ส่วนของเจ้าของ คือ ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินของกิจการทั้งหมด
1.4.4. รายได้ คือ การเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือการลดลงของหนี้สิน ส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของส่วนของเจ้าของ ทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้ถือสิทธิเรียกร้องส่วนของเจ้าของ
1.4.5. ค่าใช้จ่าย คือ การลดลงของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน ส่งผลให้เกิดการลดลงของส่วนของเข้าของ ทั้งนี้ไม่รวมการจัดสรรคืนให้ผู้ถือสิทธิเรียกร้องส่วนของเจ้าของ
1.5. การรับรู้รายการและการเลิกรับรู้รายการ
1.5.1. ความไม่แน่นอนของการมีอยู่
1.5.2. ความน่าจะเป็นในระดับต่ำของกระแสรับหรือจ่ายเชิงเศรษฐกิจ
1.5.3. ความเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม/ความไม่แน่นอนของการวัดค่า
1.5.4. การเลิกรับรู้รายการ
2. ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ 1 เคส การใช้งาน
2.1. ตัวอย่าง การรับรู้ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) ของสินทรัพย์ถาวร:
2.1.1. 1. กรอบแนวคิด การรับรู้ค่าเสื่อมราคา: ตามกรอบแนวคิดการรายงานทางการเงินของ IFRS หรือ TFRS, การรับรู้ค่าเสื่อมราคาต้องสอดคล้องกับหลักการการคำนวณต้นทุนและผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในอนาคตกำหนดให้ค่าเสื่อมราคาควรถูกบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่สินทรัพย์ถูกใช้งาน เพื่อสะท้อนถึงการลดลงของมูลค่าสินทรัพย์ที่เกิดจากการใช้งานและการสึกหรอ
2.1.2. 2. มาตรฐานการบัญชี IAS 16 / TFRS 16: Property, Plant and Equipment การรับรู้ค่าเสื่อมราคา: กำหนดให้บริษัทต้องรับรู้ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ถาวรตามอายุการใช้งานที่คาดหวังและวิธีการคำนวณที่เหมาะสม วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา: บริษัทสามารถเลือกวิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาได้หลายวิธี วิธีเส้นตรง (Straight-Line Method), วิธีการลดลงอย่างรวดเร็ว (Declining Balance Method), หรือวิธีการคำนวณตามหน่วยผลผลิต (Units of Production Method) อายุการใช้งาน: ประเมินอายุการใช้งานของสินทรัพย์และมูลค่าคงเหลือ (Residual Value) เพื่อคำนวณค่าเสื่อมราคาอย่างถูกต้อง
2.1.3. 3. ประมว ลรัษฎากร (Revenue Code) มาตรา 65 (Section 65): เกี่ยวกับการรับรู้ค่าใช้จ่ายและกำไรในการคำนวณภาษี โดยการรับรู้ค่าเสื่อมราคาต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ทางบัญชีและภาษี เช่น อัตราการคิดค่าเสื่อมราคาที่สามารถหักได้ตามกฎหมาย มาตรา 65 ตรี (Section 65 Ter): รายการค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถนำมาหักในการคำนวณกำไรสุทธิ เช่น การรับรู้ค่าเสื่อมราคาตามอัตราที่เกินกำหนด
2.1.4. สมมติว่าบริษัทซื้อเครื่องจักรที่ราคา 1,000,000 บาท และคาดว่าจะใช้งานเครื่องจักรนี้เป็นเวลา 5 ปี โดยคาดว่ามูลค่าคงเหลือของเครื่องจักรหลังจากการใช้งานครบ 5 ปี จะเป็น 100,000 บาท
2.1.5. การรับรู้ค่าเสื่อมราคานี้จะถูก บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนปีละ 180,000 บาทและจะทำให้สินทรัพย์ในงบดุลลดลงตามมูลค่าที่เสื่อมราคาตลอดช่วงเวลา 5 ปี
2.1.6. วิธีคิดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง = ต้นทุนสินทรัพย์ - มูลค่าซากคงเหลือ / อายุการใช้งาน
3. การปรับตัวของธุรกิจและการบัญชีตามแนวทางยั่งยืน ESG
3.1. • สิ่งแวดล้อม (Environment-E) เป็นหลักเกณฑ์ที่คำนึงถึงในด้านความรับผิดชอบของบริษัทต่อสิ่งแวดล้อม • สังคม (Social-S) เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้วัดว่าบริษัทมีการจัดการความสัมพันธ์ และมีการสื่อสารกับลูกจ้าง Suppliers ลูกค้า หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders)อย่างไร • การกำกับดูแล (Governance-G) เป็นหลักการที่ใช้วัดว่าบริษัทมีการจัดการบริการความสัมพันธ์ในเชิงการกำกับดูแลอย่างไร เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย
4. ประมวลกฏหมายรัษฏากร ที่เกี่ยวข้อง
4.1. มาตราที่สำคัญเด่นๆ : ในประเทศไทยกำหนดข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสียภาษี เช่น การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายสำหรับวัตถุประสงค์ในการคำนวณภาษี บริษัทจำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านี้ ในการจัดทำรายงานทางการเงินเพื่อวัตถุประสงค์ทางภาษี
4.1.1. มาตรา 65 (Section 65): การคำนวณรายได้และค่าใช้จ่าย กำหนดวิธีการคำนวณรายได้และค่าใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล มาตรานี้รวมถึงแนวทางในการคำนวณรายได้และการหักค่าใช้จ่ายที่สามารถยอมรับได้ตามกฎหมายในการจัดทำงบการเงินสำหรับการคำนวณภาษี เช่น การรับรู้รายได้ตามหลักเกณฑ์สะสม (Accrual Basis) และการจัดการกับค่าใช้จ่ายที่สามารถหักได้และไม่ได้ ถ้าไม่ถูกต้องตามมาตรฐานนี้จะต้องทำเป็นค่าใช้จ่ายบวกกลับในทางภาษีอากร
4.1.2. มาตรา 65 ตรี (Section 65 Ter):รายการต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิกำหนดรายการค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถนำมาหักในการคำนวณกำไรสุทธิได้สำหรับการเสียภาษี เช่น ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจ่ายค่าเสื่อมราคาที่เกินอัตราที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย มาตรานี้มีความสำคัญต่อการจัดทำงบการเงินเพื่อการเสียภาษี เนื่องจากมีผลต่อการคำนวณกำไรสุทธิที่จะต้องเสียภาษี มาตรา 69 ทวิ (Section 69 Bis): การยื่นงบการเงิน กำหนดข้อกำหนดเกี่ยวกับการยื่นงบการเงินสำหรับการประเมินภาษี บริษัทและห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องยื่นงบการเงินต่อกรมสรรพากรภายในระยะเวลาที่กำหนดเพื่อวัตถุประสงค์ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
4.1.3. มาตรา 71 (Section 71): การจัดทำและยื่นแบบแสดงรายการภาษี กำหนดให้บริษัทต้องจัดทำและยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ตามงบการเงินที่ถูกต้องและ ถูกจัดทำตามหลักการบัญชีที่ยอมรับได้การยื่นแบบแสดงรายการภาษีจะต้องเป็นไปตามรูปแบบและระยะเวลาที่กำหนดโดยกรมสรรพากร
4.1.4. มาตรา 79 และมาตรา 79/1 (Section 79 & Section 79/1): ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำและการรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงการจัดทำรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการเก็บและการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรานี้มีผลกระทบต่อการบันทึกและการรายงานรายได้และค่าใช้จ่ายในงบการเงิน
4.1.5. มาตราต่างๆ ในประมวลรัษฎากรนี้เป็นแนวทางและข้อบังคับที่ธุรกิจต้องปฏิบัติตามในการจัดทำงบการเงินเพื่อการเสียภาษี ซึ่งต้องทำให้สอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายที่ระบุไว้
5. มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับรายงานทางการเงิน
5.1. TFRS (Thai Financial Reporting Standards): มาตรฐานการบัญชีของประเทศไทยที่ปรับปรุงจาก IFRS ซึ่งให้คำแนะนำที่ละเอียดเกี่ยวกับ การบันทึกและเปิดเผยรายการทางการเงิน ตัวอย่างเช่น:
5.1.1. TFRS 16 (เรื่องสัญญาเช่า): กำหนดให้ผู้เช่าต้องรับรู้สินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินจากสัญญาเช่าในงบดุล
5.1.2. TFRS 15: (รายได้จากสัญญากับลูกค้า) กำหนดหลักการในการรับรู้รายได้ เพื่อให้ผู้ใช้งานงบการเงินสามารถเข้าใจธรรมชาติและระยะเวลาของรายได้ที่ได้รับจากสัญญากับลูกค้า แสดงถึงการรับรู้รายได้ที่สะท้อนถึงกรอบแนวคิดในการรับรู้รายได้อย่างเหมาะสม
5.1.3. TFRS 9 (เรื่องเครื่องมือทางการเงิน): กำหนดวิธีการวัดมูลค่าและรับรู้ผลกระทบของเครื่องมือทางการเงิน เช่น การจัดชั้นสินทรัพย์ทางการเงินและการประเมินความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ
5.1.4. TFRS 1: (การนำเสนองบการเงิน) กำหนดหลักการสำหรับการนำเสนองบการเงิน รวมถึงองค์ประกอบที่ควรมีในงบการเงิน เช่น งบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด มุ่งเน้นการให้ข้อมูลที่มีคุณภาพ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตัดสินใจทางเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม
5.1.5. TFRS 8: Accounting Policies, (นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด) กำหนดวิธีการคัดเลือกและเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี รวมถึงการปรับปรุงข้อผิดพลาดในงบการเงิน ยืนยันว่าการรายงานทางการเงินควรปฏิบัติตามกรอบแนวคิดที่ระบุไว้เพื่อให้การรายงานมีความสอดคล้องและเชื่อถือได้
5.1.6. TFRS 7: Statement of Cash Flows (งบกระแสเงินสด) ให้แนวทางในการจัดทำและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกระแสเงินสด เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการประเมินความสามารถของกิจการในการสร้างและใช้กระแสเงินสด เป็นส่วนหนึ่งของกรอบแนวคิดที่มุ่งเน้นความสำคัญของการรายงานกระแสเงินสดในงบการเงิน
5.1.7. TFRS 10: Events After the Reporting Period (เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน) กำหนดหลักการในการจัดทำรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ในงบการเงินแต่ยังไม่ได้รับรู้ในงวดนั้น มุ่งเน้นให้การรายงานมีความครบถ้วนและเชื่อถือได้
6. ธุรกิจ ESG คืออะไร >>> ความหมาย ESG เป็นการใช้กลยุทธ์สำหรับการประเมินความยั่งยืนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลขององค์กร ซึ่งแนวคิดนี้ดึงดูดนักลงทุน เพื่อนำมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจลงทุน มาจาก สิ่งแวดล้อม+สังคม+ธรรมาภิบาล
6.1. E= Environmental
6.1.1. คือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบที่ดำเนินธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น ใช้ทรัพยากร มลพิษ การเปลี่ยนสภาพอากาศ การจัดการขยะ ประสิทธิภาพพลังงาน และทางชีวภาพต่างๆ
6.2. S=Social
6.2.1. ผลกระทบทางสังคม เช่น ผู้มีส่วนได้เสียภายในและภายนอก รวมถึงห่วงโซ่คุณค่า Value Chain และการประเมินต่างๆ เช่น แรงงาน ความปลอดภัยที่ทำงาน พนักงาน ความเสมอภาค การมีส่วนร่วมชุมชน
6.3. G=Governmance
6.3.1. คือ การกำกับดูแลโครงสร้าง แนวทางการดำเนินงานธุรกิจ ความโปร่งใสการดำเนินงานธุรกิจ การประเมินการทำงาน มีกฏระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายที่เป็นธรรม มีการปกป้องผลประโยชนนักลงทุน สิทธิผู้ถือหุ้น ความโปร่งใส การต่อต้านทุจริต
7. อัตราส่วนทางการเงิน
7.1. อัตราส่วนด้านบริหารสินทรัพย์
7.1.1. Inventory turnover = ต้นทุนขาย / สินค้าคงเหลือเฉลี่ย
7.1.1.1. New node
7.1.1.1.1. สูตรไว้หาต้นทุนขาย ไว้ทำอัตราส่วน
7.1.2. AR Turnover = ยอดขายเครดิต/ลูกหนี้การค้าเฉลี่ย
7.1.3. Total Asset turnover = รายได้จากการขาย / สินทรัพย์รวม
7.2. อัตราส่วนด้านสภาพคล่อง
7.2.1. Current Ratio = สูตร สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน
7.2.2. Quick Ratio = สูตร สินทรัพย์หมุนเวียน - สินค้าคงเหลือ / หนี้สินหมุนเวียน
7.3. อัตราส่วนการทำกำไร
7.3.1. Gross profit Margin = กำไรขั้นต้น / รายได้การขาย x100
7.3.1.1. รายได้จากการขาย หักต้นทุนขาย = กำไรขั้นต้น
7.3.2. Net profit Margin กำไรสุทธิ/รายได้การขาย x100
7.3.3. ROA [Asset] กำไรสุทธิ/สินทรัพย์รวม x100
7.3.4. ROE [Equity] กำไรสุทธิ /ส่วนผู้ถือหุ้น x100
7.4. อัตราส่วนความมั่นคงการเงิน
7.4.1. Debt to Equity = หนี้สินรวม/ส่วนผู้ถือหุ้น
7.4.2. Interest Coverage กำไรจากการดำเนินงาน/ ดอกเบี้ยจ่าย
7.4.2.1. กำไรจากการดำเนินงาน=รายได้จากการขาย−ต้นทุนขาย COGS − ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน คือเรียกง่ายๆว่า EBIT
8. การให้ความสำคัญกับ ESG ในแบบต่างๆ
8.1. ปัจจุบันธุรกิจทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ ESG เพื่อช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร และสร้างคุณค่าในระยะยาวให้กับกิจการ ควรได้รับการส่งเสริมในทุกๆด้าน ดังนี้
8.2. E= Environmental
8.2.1. การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
8.2.2. พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
8.2.3. เมืองหรือถิ่นฐานมนุษย์ที่ยั่งยืน
8.2.4. อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
8.2.5. แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
8.2.6. การรับมือสภาพอากาศและเปลี่ยนแปลง
8.2.7. การใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล
8.2.8. การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวชทางบก
8.3. S=Social
8.3.1. ขจัดความยากจน
8.3.2. ขจัดความหิวโหย
8.3.3. ส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
8.3.4. การศึกษาที่เท่าเทียม
8.3.5. ความเท่าเทียมทางเพศ
8.3.6. การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
8.3.7. การจ้างงานที่มีคุณค่าและเติบโตทางเศรษฐกิจ
8.3.8. ลดความเหลื่อมล้ำ
8.3.9. แผนการบริโภคที่ยั่งยืน สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
8.4. G=Governance
8.4.1. ความเท่าเทียมทางเพศ
8.4.2. จ้างงานที่มีคุณค่าและเติบโตในทางเศรษฐกิจ
8.4.3. อุตสาหกรรม นวัตกรรม
8.4.4. สังคมสงบสุข ยุติธรรม
8.4.5. ความร่วมมือกันและพัฒนาที่ยั่งยืน
8.4.6. เมืองและถิ่นฐานมนุษย์ที่ยั่งยืน
9. คำศัพท์ย่อต่างๆที่เกี่ยวข้อง
9.1. CSR = Corporate + Social+Responsibillty
9.2. CSV = Creating+ Shared+ Value
9.3. ESG = Environmental + Social + Governance
10. การกำหนดมาตรฐานการรายงานและการจัดรายงานและดัชนีชี้วัด ESG
10.1. IFRS S1
10.1.1. ความเสี่ยงและโอกาสทางการเงินที่เกี่ยวกับความยั่งยืน
10.1.2. ธรรมมาภิบาล กระบวนการและขั้นตอนการจัดการ จัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงและโอกาส ที่เกี่ยวกับความยั่งยืน
10.1.3. ความเสี่ยงของห่วงโซ่คุณค่า เช่น ความปลอดภัยในที่ทำงาน สิทธิแรงงานในห่วงโซ่คุณค่า
10.2. IFRS S2
10.2.1. ความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ
10.2.2. ธรรมมาภิบาล กระบวนการ ขั้นตอน การจัดการและประเมินความเสี่ยง โอกาสและการฟื้นฟูที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ
10.2.3. การลดคาร์บอน กลยุทธและแผนการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจคารบอนต่ำ รวมถึงมีตัวชี้วัดและเป้าหมายติดตามความคืบหน้า
10.3. สำหรับร่าง 2 รายการบน สภาวิชาชีพบัญชีฯ ในไทย กำลังจัดทำ (ร่าง) มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เปิดเผยเรื่องความยั่งยืน เรื่องข้อกำหนดทั่วไปสำหรับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเพื่อความยั่งยืน ถ้ามีผลประกาศใช้แบบทางการ จะยิ่งทำให้นักบัญชีได้เข้ามาใช้เป็นมาตรฐานและมีบทบาท แนวคิดของ ESG ที่ได้เชื่อมโยงกับมาตรฐาน TFRS ที่เกี่ยวข้อง
11. ผลกระทบต่อการบัญชี ESG เช่น
11.1. ด้านบัญชีการเงิน
11.2. ด้านบัญชีบริหาร
11.3. ด้านบัญชีต้นทุน
11.4. ด้านการบัญชี ESG
11.4.1. กรอบแนวคิด มาตรฐานและแนวการปฏิบัติ
11.4.2. การบริหารจัดการความเสี่ยง
11.4.3. การบริหารระบบข้อมูล
11.4.4. การนำเสนอข้อมูลการการบริหาร