การพูดเเละความสำคัญของการพูด

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การพูดเเละความสำคัญของการพูด by Mind Map: การพูดเเละความสำคัญของการพูด

1. ลักษณะการพูดที่ดี 1. ออกเสียงให้ชัดเจน -คำที่นำมาใช้ต้องการความหมาย ภาษาอังกฤษต้องแปล -วรรคตอนดี ถูกต้อง -อักษรควบกล้ำ -วางหัวข้อก่อน-หลังให้ชัดเจน -น้ำหนักของเสียง (อันไหนเน้นต้องเน้น) 2. ความถูกต้องแม่นยำ -ตรวจสอบข้อมูลของผู้ฟังให้ถูกต้องก่อนพูด -ไม่ควรใช้ำคำย่อ เช่น พ.ศ., กกต. ฯลฯ -ข้อมูลตรงกับความจริง 3. ความน่าสนใจ -การแต่งการให้ร่วมสมัย -แต่งตัวให้อ่อนกว่าอายุ -ความเชื่อมั่นที่แสดงออก เหมาะสมไม่ก้าวร้าว -มีความเป็นมิตร สบายๆ แสดงออกทางสีหน้าและแววตา -การใช้เสียง ต้องมีพลัง สามารถควบคุมได้ -เรื่องราวที่นำมาพูดต้องทันเหตุการณ์เสมอ -การเคลื่อนไหวร่างกายในขณะพูด เมื่อพูดจบแต่ละเรื่องราว ควรเว้นความต่อเนื่อง

2. เทคนิคการพูดในที่ชุมนุมชน การพูดในที่ชุมนุม คือ การสนทนาที่ได้ขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น เป็นการสื่อสารอย่างมีจุดมุ้งหมาย

3. ข้อห้ามที่ไม่ควรทำ การพูด : เอ้อ อ้า แบบว่า ก็ และก็ แล้วอ้า คิดว่า ควร

4. อากัปกิริยาที่ต้องห้าม : แกว่ง : โยก : เขย่า : กระดิกร่างกาย หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย : เล่นกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดขณะพูด ควรวางมือขวาทับมือซ้าย ประมาณใต้เข็มขัด : แลบลิ้น : หัวเราะจนตัวงอ : ไม่มองหน้าผู้ฟัง

5. การพูด หมายถึง การติดต่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์ โดยใช้เสียง ภาษา แววตา สีหน้าท่าทางต่างๆ เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดจากผู้พูดไปยังผู้ฟังให้เป็นที่เข้าใจกัน

6. การพูดระหว่างบุคคล การพูดระหว่างบุคคลเป็นการพูดที่ไม่เป็นทางการ ปกติทั้งผู้พูดและผู้ฟังมักไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้ามาก่อน ไม่จำกัดสถานที่และเวลา เนื้อหาไม่มีขอบเขตจำกัดแน่นอน แต่เป็นการพูดที่เราต้องใช้มากที่สุด และควรศึกษาฝึกฝนให้ใช้การได้คล่องแคล่ว

7. การทักทายปราศรัย การทักทายปราศรัย มักจะกล่าวคำ " สวัสดี " เป็นการเริ่มต้น การใช้คำพูดต้องไม่ล่วงล้ำก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น นอกจากนี้ การทักทายที่ทำให้ผู้อื่นไม่สบายใจ ก็ไม่ควรกระทำ การทักทายปราศรัยควรปฏิบัติดังนี้ ๑. ยิ้มแย้มแจ่มใสด้วยความรู้สึกยินดีที่ได้พบผู้ที่เราทักทาย ๒. กล่าวคำปฏิสันถาร หรือทักทายตามธรรมเนียมนิยมที่ยอมรับกันในสังคม เช่น "สวัสดีครับ…" "สวัสดีค่ะ…." ๓. แสดงกิริยาอาการประกอบคำปฏิสันถาร กิริยาอาการที่แสดงออกนั้นขึ้นอยู่กับฐานะบุคคลที่เราทักทาย ถ้าเป็นบุคคลที่มีฐานะเสมอกัน ก็อาจเพียงเป็นการยิ้มและผงกศีรษะเล็กน้อยซึ่งเรามักทำโดยไม่รู้ตัว

8. การแนะนำตนเอง การแนะนำตนเอง มีความสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะเราต้องมีการพบปะกับบุคคลอื่นอยู่เสมอ บุคคลแนะนำตนเองได้ในหลายโอกาสด้วยกัน คือ ๑. การแนะนำตนเองในที่สาธารณะ ก่อนที่จะแนะนำตัว มักจะมีการสนทนาพื้นๆเริ่มก่อน ในวัฒนธรรมไทยไม่ค่อยจะแนะนำตนเองตรงๆ แต่จะเริ่มต้นด้วยสีหน้าท่าทางที่แสดงความเป็นมิตร ช่วยเหลือกันก่อนแล้วจึงแนะนำตนเอง สีหน้าท่าทางแสดงความยินดีที่ได้รู้จักคู่สนทนา ๒. การแนะนำตนเองในการทำกิจธุระ ต้องนัดหมายล่วงหน้า ควรแต่งกายให้เรียบร้อย ไปให้ตรงตามนัด เมื่อพบบุคคลที่นัด ควรบอกชื่อ นามสกุลให้ชัดเจน สุภาพ เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่น หลังจากนั้นก็ควรบอกกิจธุระของตน หรืออาจบอกกิจธุระก่อนก็ได้ ๓. การแนะนำตนเองในกลุ่มย่อย ส่วนใหญ่จะไม่รู้จักกัน เมื่อเริ่มประชุมควรแนะนำตนเองก่อน เพื่อให้เกิดความเป็นกันเอง จะได้แสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมประชุมได้อย่างสะดวกใจ การแนะนำตนเองก็เพียงบอกชื่อ นามสกุล สถาบันที่ตนสังกัดให้ได้ยินทั่วกัน เมื่อแนะนำตนเองแล้ว คนอื่นก็จะแสดงกิริยาต้อนรับ