การพูด

Just an initial demo map, so that you don't start with an empty map list ...

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การพูด by Mind Map: การพูด

1. ความหมายของการพูด

1.1. การพูดเป็นพฤติกรรมการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาที่ควบคู่ไปกับการฟัง กล่าวคือ เมื่อมีผู้พูดก็ต้องมีผู้ฟัง จึงจะเกิดความสมบูรณ์ จะขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ จากความหมายดังกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่า การพูดเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของตนเองให้ผู้อื่นได้รับรู้ เข้าใจ โดยอาศัย การฝึกฝน มิใช่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ธรรมชาติเป็นเพียงผู้ให้อวัยวะที่ใช้สำหรับออกเสียงมาเท่านั้น คนเราถ้าอวัยวะที่ใช้สำหรับออกเสียงไม่บกพร่อง ก็สามารถเปล่งเสียงออกมาได้ ซึ่งเป็นเรื่องของธรรมชาติ แต่ที่จะเปล่งเสียงออกมาให้เป็นภาษาที่สื่อสารกันเข้าใจในหมู่ชนด้วยกันนั้น ต้องอาศัยการเรียนรู้ คือเรียนรู้ถึงภาษาที่ใช้พูดจากันในหมู่เหล่าและอาศัยการฝึกฝน เพื่อให้พูดได้ดี บรรลุจุดมุ่งหมายของการพูดและใช้การพูดเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้ สรุปแล้ว การพูดก็คือพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ โดยอาศัยภาษา ถ้อยคำ น้ำเสียง ตลอดจนกิริยาท่าทาง และอื่น ๆ เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของตนแก่ผู้อื่น ให้เกิดผลตอบสนองตามที่ต้องการ

2. องค์ประกอบของการพูด

2.1. 1. ผู้พูดหรือผู้ส่งสาร ( Sender or Speaker)

2.1.1. ผู้พูดทำหน้าที่ส่งสารผ่านสื่อไปให้ผู้ฟัง ดังนั้นผู้พูดจะต้องมีความสามารถใช้ทั้งศาสตร์และศิลปะของตนเอง ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดไปสู่ผู้ฟังให้ได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน ผู้พูดมีความสามารถในการใช้ภาษา เสียง และกิริยาท่าทางเพียงไร ผู้พูดมีเจตคติต่อเรื่องที่จะพูด และต่อผู้ฟังแค่ไหน ผู้พูดมีระดับความรู้ในเรื่องที่พูดมากน้อย และลึกซึ้งเพียงใดผู้พูดมีฐานะทางสังคม พื้นฐานทางจริยธรรม และวัฒนธรรมอยู่ในระดับใด ผู้พูดต้องแสดงบุคลิกภาพและแต่งกายให้เหมาะสมเพื่อให้ผู้ฟังประทับใจ

2.2. 2. ผู้ฟัง หรือผู้รับสาร (Receiver or Listener) 

2.2.1. ผู้ฟังอยู่ในฐานะที่จะต้องรับสารของผู้พูดโดยอาศัยเครื่องสื่อสารเป็นเครื่องนำพา เพื่อให้ผู้ฟังสามารถรับสารได้ตรงกับเจตนาของผู้พูด ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น ๆ เช่น ทักษะ ความพร้อม ความสนใจ พื้นความรู้ วัฒนธรรม และเจตคติของผู้ฟัง

2.3. 3. เนื้อหาสาระหรือ เรื่องที่จะพูด (Message)

2.3.1. เนื้อหาที่ผู้พูดส่งไปนั้นจะต้องมีคุณค่า และคุ้มค่าแก่การเสียเวลาของผู้ฟัง มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ดังนั้น สารที่ผู้พูดส่งไปนั้นจะต้องเตรียมมาแล้วอย่างดี เช่น การ คัดเลือก จัดลำดับขั้นตอน และการฝึกฝนตนเองของผู้พูด จะทำให้การพูดมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2.4.   4. เครื่องสื่อสาร หรือ คำพูด (Channel)

2.4.1. หมายถึง การที่ผู้พูดต้องการให้ผู้ฟังรับทราบ และเข้าใจตามความมุ่งหมายของผู้พูด โดยการถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด และสิ่งที่นำสารไปสู่ผู้ฟัง ได้แก่ เวลา สถานที่ อากาศ และเครื่องรับรู้ต่าง ๆ เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อื่น ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เป็นต้น

3. การพูดที่ดี

3.1. การพูดที่ดี คือ การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียงรวมทั้งกิริยาอาการอย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามจรรยามารยาทและประเพณีนิยมของสังคม เพื่อถ่ายทอดความคิดความรู้ ความรู้สึก และความต้องการที่เป็นประโยชน์ให้ผู้ฟังได้รับรู้และเกิดการตอบสนอง สัมฤทธิ์ผลตามจุดมุ่งหมายของผู้พูด

4. ความสำคัญของการพูด

4.1. การพูด มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมาก ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ประกอบกิจการงานใด หรือคบหาสมาคมกับผู้ใด ก็ต้องสื่อสารด้วยการพูดเสมอ จึงมักพบว่า ผู้ที่ประสบความสำเร็จในกิจธุระการงาน การคบหาสมาคมกับผู้อื่น ตลอดจนการทำประโยชน์แก่สังคมส่วนรวมล้วนแต่เป็นคนที่มีประสิทธิภาพในการพูดทั้งสิ้น ส่วนหนึ่งของการพูดสามารถสอนและฝึกได้ อาจกล่าวได้ว่า การพูดเป็น"ศาสตร์" มีหลักการและกฎเกณฑ์เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะถึงขั้นเป็นที่พอใจ อีกส่วนหนึ่งเป็นความสารถพิเศษหรือศิลปะเฉพาะตัวของผู้พูดแต่ละบุคคล บางคนมีความสามารถที่จะตรึงผู้ฟังให้นิ่งอยู่กับที่จิตใจจดจ่ออยู่กับการฟังเรื่องที่พูด ผู้พูดบางคนสามารถพูดให้คนฟังหัวเราะได้ตลอดเวลา ศิลปะเฉพาะตัวนี้เป็นสิ่งที่ลอกเลียนกันได้ยาก แต่อาจพัฒนาขึ้นได้ในแต่ละบุคคล ซึ่งการพูดที่มีประสิทธิภาพเกิดจากการสังเกตวิธีการที่ดีและมีโอกาสฝึกฝน

5. จุดมุ่งหมายของการพูด

5.1. 1. พูดเพื่อให้ความรู้หรือข่าวสารข้อเท็จจริง

5.1.1. การพูดแบบนี้เป็นการพูดโดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ ในเรื่องที่ผู้ฟังต้องการจะทราบ การพูดต้องพูดให้ตรงประเด็นและหัวข้อที่กำหนดให้ บางครั้งผู้พูดต้องเตรียมอุปกรณ์ประกอบการบรรยายไปด้วย เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่องที่พูดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การพูด เช่นนี้ส่วนมากจะใช้วิธีการพูดด้วยการบรรยาย อธิบาย พรรณนา เล่าเรื่อง ชี้แจง สาธิตและวิธีเสนอรายงาน

5.2. 2. พูดเพื่อโน้มน้าวจิตใจหรือชักจูงใจ

5.2.1. การพูดแบบนี้ ผู้พูดจะต้องใช้ศิลปะในการพูดหลายๆ แบบเพื่อจูงใจให้ผู้ฟังเกิดความศรัทธาเลื่อมใสมีความคิดเห็นคล้อยตาม หรือกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้พูดตั้งความมุ่งหมายไว้ เช่น การพูดชักชวนให้เลื่อมใสในลัทธิทางศาสนา การพูดให้ประชาชนเลือกตนเองเป็นผู้แทนของนักการเมือง การพูดโฆษณาขายสินค้าของผู้แทนบริษัท

5.3. 3. พูดเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินหรือเพื่อจรรโลงใจ

5.3.1. การพูดแบบนี้ ผู้พูดต้องเข้าใจว่าบรรยากาศในการพูดก็ดี ความต้องการของผู้ฟังก็ดี เป็นการพูดที่ผู้พูดจะต้องเน้นให้ผู้ฟังเกิดความสนุกสนานบันเทิงควบคู่ไปกับการได้รับความรู้สึกนึกคิดที่แปลกใหม่ เล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นการพูดในลักษณะเสริมสร้างความนึกคิดของผู้ฟังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับจิตใจของผู้ฟังในทางที่ดีมีความสุขในขณะที่ฟังการพูด เช่น การกล่าวคำสดุดี กล่าวคำอวยพร กล่าวขอบคุณ หรือกล่าวคำปราศรัยในงานบันเทิงต่างๆ ที่จัดขึ้นในโอกาสต่างๆ

6. การแบ่งระดับการพูด

6.1. 1. การพูดระหว่างบุคคล

6.1.1. เป็นการพูดที่ไม่เป็นทางการ ไม่มีเนื้อหาจำกัดแน่นอน ทั้งผู้พูดและผู้ฟังไม่ได้เตรียมตัวมาล่วงหน้า แต่เป็นการพูดที่ใช้มากที่สุด ใช้ในชีวิตประจำวัน การพูดชนิดนี้พอจะแยกได้ดังนี้ 1.1)  การทักทายปราศรัย 1.2)  การแนะนำตนเอง 1.3)  การสนทนา

6.2. 2. การพูดในกลุ่ม

6.2.1. การพูดในกลุ่มนั้นเป็นกิจกรรมที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน ทั้งในชีวิตประจำวันและในการศึกษา โดยเฉพาะในการศึกษานั้นหากมีการแบ่งกลุ่มให้ทุกคนได้ช่วยกันออกความคิดเห็น ก็จะเป็นการเสริมสร้างทั้งด้านความคิด และด้านทักษะภาษา 2.1)  การเล่าเรื่องที่ได้อ่านหรือฟังมา 2.2)  การเล่าเหตุการณ์