จิตวิทยาพัฒนาการวัยผู้สูงอายุ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
จิตวิทยาพัฒนาการวัยผู้สูงอายุ by Mind Map: จิตวิทยาพัฒนาการวัยผู้สูงอายุ

1. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ

1.1. ทฤษฎีโมเลกุล

1.1.1. อายุขัยของสิ่งมีชีวิตเกิดจากปฎิสัมพันธ์ระหว่างยีนส์กับสิ่งแวดล้อม สารพันธุกรรมในยีนส์ถ่ายทอดทาง RNA กำหนดการสร้างโปรตีน

1.1.1.1. ทฤษฎีว่าด้วยพันธุกรรม ( Genetic Theory )

1.1.1.1.1. การเจริญเติบโตของเซลล์มีขีดจำกัด เมื่อมีการเจริญเติบโตก็จะมีการฝ่อและการตาย

1.1.1.2. ทฤษฎีการกลายพันธุ์ ( Somatic mutation theory )

1.1.1.2.1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ DNA จำนวนการกลายพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นมีผลร้ายต่อยีนส์และโครโมโซม

1.1.1.3. ทฤษฎีความผิดพลาด ( Error catatrophe)

1.1.1.3.1. การส่งข่าวสารการถ่ายทอด การแปลข่าวสาร อาจใช้กรดอะมิโนไม่ถูกต้องในการสังเคราะห์โปรตีน เกิดความผิดพลาดในการแปลรหัส ( Codon ) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

1.2. ทฤษฎีเซลล์

1.2.1. กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างและการทำหน้าที่ของเซลล์เมื่อเวลาผ่านไป มีผลต่อการสร้างสารต่าง ๆ

1.3. ทฤษฎีอนุมูลอิสระ

1.3.1. เน้นกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในเซลล์การเผาพลาญของเซลล์ตามปกติจะเกิดสารที่เป็นอนุมูลอิสระ คือมีอิเลคตรอนเดี่ยว มีคุณสมบัติที่มารถจับกับสารประกอบในบริเวณใกล้เคียง เช่นไขมัน โปรตีน DNA เกิดปฏิกิริยาที่สำคัญคือ lipid peroxidation ทำให้ร่างกายมีการทำลายเยื่อหุ้มต่าง ๆ สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ

1.4. ทฤษฎีบุคคล

1.4.1. เป็นการเสื่อมสภาพการทำหน้าที่ของระบบที่เป็นตัวสั่งการสำคัญในร่างกาย เช่น ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบภูมิคุ้มกัน

2. ปัญหาในวัยสูงอายุ

2.1. ปัญหาสุขภาพจิต

2.1.1. ความรู้สึกการเป็นภาระของบุตรหลาน และปัญหาการสูญเสียบุคคลใกล้ชิดอาจส่งผลให้ผู้สูงอายุบางรายเกิดอาการซึมเศร้า บางรายอาจมีความผิดปกติทางจิตเกิดขึ้นได้

2.2. ปัญหาสมาชิกในครอบครัวต่อผู้สูงอายุ

2.2.1. ไม่มีเวลาให้การดูแลผู้สูงอายุ จะทำให้ผู้สูงอายุมีปัญหาด้านจิตใจ ซึ่งก่อนอื่นตัวผู้สูงอายุเองต้องมีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และพยายามปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคม มีการพักผ่อนหย่อนใจและทำงานอดิเรกเล็กๆน้อยๆเพื่อความเพลิดเพลินใจ เช่นปลูกต้นไม้ ไปวัดทำบุญศึกษาและปฏิบัติธรรม

2.3. ปัญหาด้านสุขภาพกาย

2.3.1. วัยสูงอายุเป็นที่มีความเสื่อมถอยของร่างกายทุกระบบ ปัญหาสุขภาพจึงเป็นปัญหาสำคัญของบุคคลในวัยสูงอายุ มักเกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย รุนแรงขึ้น มีภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย และกระบวนการหายหรือการฟื้นคืนสภาพค่อนข้างช้า

3. แนวทางการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

3.1. ด้านนโยบายของรัฐ

3.1.1. การให้การรักษาฟรีแก่คนชรา

3.1.2. รัฐได้ให้ความช่วยเหลือเป็นรายเดือนแก่ผู้สูงอายุ

3.1.3. การให้ความช่วยเหลือแนะนำความรู้ด้านต่าง ๆ แก่คนสูงอายุ

3.1.4. การจัดบริการต่าง ๆ แก่คนชรา

3.1.5. มีการให้ความรู้ ชี้แจง อบรม ส่งเสริมเรื่องสุขภาพจิต

3.2. ด้านการดูแลตัวเองของผู้สูงอายุ

3.2.1. หางานอดิเรกทำ หรือทำงานที่สร้างความสุขและมีประโยชน์ต่อผู้อื่น

3.2.2. ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

3.2.3. ยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิด

3.2.4. . เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตนเองในทุก ๆ ด้าน

3.3. ด้านการดูแลจากลูกหลาน

3.3.1. ให้ความเคารพ นับถือ ยกย่อง

3.3.2. ดูแลความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต

3.3.3. ให้ความรัก ความเอาใจใส่

3.3.4. สนับสนุนเรื่องเงินและการใช้จ่าย

4. การเตรียมรับกับความตาย

4.1. การระลึกถึงความตายบ่อย ๆ โดยการบริกรรมมรณานุสสติทุกวัน

4.2. ให้พิจารณาไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

5. การพัฒนาการด้านร่างกาย

5.1. การเปลี่ยนแปลงภายนอก

5.1.1. ผมหงอก

5.1.2. มีรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า

5.1.3. หลังโกง หรือค่อม

5.1.4. กล้ามเนื้อหย่อนสมรรถภาพ

5.1.5. การได้ยินเสื่อมลง หูตึง

5.1.6. การปัญหาในมองเห็น สายตาฝ่าฟาง

5.1.7. ร่างกายเคลื่อนไหวได้ช้าลง การทรงตัวไม่ดี

5.2. การเปลี่ยนแปลงภายใน

5.2.1. อวัยวะเริ่มทำงานเสื่อมถอยในทุกระบบ

5.2.2. ความยืดหยุ่นตัวของเส้นเลือดลดลง

5.2.3. มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ต่างๆ

5.2.4. มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย

6. การพัฒนาการด้านอารมณ์

6.1. ยังคงมีอารมณ์รัก ในบุคคลอันเป็นที่รักโดยเฉพาะบุคคลในครอบครัว

6.2. มีอารมณ์เหงา ว้าเหว่

6.3. รู้สึกว่าตนเองเป็นภาระของคนอื่น

6.4. มักแสดงอาการหงุดหงิด น้อยใจ ต่อบุตรหลาน

6.5. มีความเศร้าโศก มีผลกระทบต่อจิตใจ สุขภาพกาย และพฤติกรรม

7. การพัฒนาการด้านสังคม

7.1. สังคมในครอบครัวหรือเพื่อนร่วมวัย

7.2. กิจกรรมของผู้สูงอายุจึงมักเป็นกิจกรรมการเลี้ยงดูหลาน ดูแลบ้านให้กับบุตรหลาน

7.3. กิจกรรมที่วัด ทำบุญ ฟังธรรม

7.4. กิจกรรมในชุมชน เช่น เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น

8. การพัฒนาการด้านสติปัญญา

8.1. สมองเสื่อมหรือสมองจะฝ่อและมีน้ำหนักลดลง

8.2. สมองถูกทำลายไป โดยเฉพาะส่วนที่เรียกว่า Gray Matter

8.3. เลือดมาเลี้ยงสมองได้น้อย มีภาวะความดันโลหิตสูง

8.4. เซลล์ประสาทตายเพิ่มขึ้นและจำนวนเซลล์ลดลงตามอายุ

8.5. เริ่มมีอาการความจำเสื่อม โดยเฉพาะความจำในเหตุการณ์ปัจจุบัน