อาณาจักรพืช

อาณาจักรพืช

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
อาณาจักรพืช by Mind Map: อาณาจักรพืช

1. พืชที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงแต่ไม่มีเมล็ด

1.1. 2.1 Phylum Lycophyta เป็นพืชที่มีลำต้นและใบที่ทแจริง มีใบขนาดเล็ก มีเส้นใบ 1 เส้นที่ไม่แตกแขนง ที่ปลายกิ่งจะมีกลุ่มของใบที่ทำหน้าที่สร้างอับสปอร์ พืชกลุ่มนี้ได้แก่ ไลโคโปเดียม เช่น สามร้อยยอด หางสิงห์ ซีแลกจิเนลลา เช่น ตีนตุ๊กแก และกระเทียมน้ำ

1.2. 2.2 Phylum Pterophyta ตัวอย่างของพืชกลุ่มนี้ได้แก่ หวายทะนอย หญ้าถอดปล้องและเฟิน - หวายทะนอย (Psilotum sp.) ไม่มีราก ไม่มีใบ (ถ้ามีจะมีขนาดเล็กมาก) มีการแตกกิ่งเป็นคู่ - หญ้าถอดปล้อง(Equisetum spp.) เป็นกลุ่มพืชที่มีลำต้น มีข้อปล้องชัดเจน มีทั้งลำต้นตั้งตรงบนดินและลำต้นใต้ดิน ลำต้นตั้งตรงบนดินมีสีเขียวเป็นสัน ใบมีขนาดเล็ก มีเส้นใบเพียง 1 เส้น เรียงเป็นวงรอบข้อ อับสปอร์เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง เรียกว่า strobilus - เฟิน(Fern) มีราก ลำต้น ใบ ที่แท้จริง โดยมีเส้นใบแตกแขนง ใบอ่อนม้วนจากปลายสู่โคนใบ ใบอาจเป็นใบเดี่ยว หรือใบประกอบ มีสปอร์อยู่ใต้ใบเมื่อใบแก่ ตัวอย่างของเฟินได้แก่ เฟินใบมะขาม เฟินก้านดำ ข้าหลวงหลังลาย ชายผ้าสีดา ย่านลิเภา แหนแดง จอกหูหนู ผักแว่น ผักกูด เป็นต้น

2. พืชที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงที่มีเมล็ด

2.1. - Gymnosperm (พืชเมล็ดเปลือย) ลักษณะที่สำคัญคือ ออวุลและละอองเรณูติดบนแผ่นกิ่งหรือแผ่นใบซึ่งจะอยู่รวมกันที่ปลายกิ่ง เรียกว่า cone แยกเป็นโคนเพศผู้และโคนเพศเมีย เป็นพืชที่ไม่มีอก แต่มีเมล็ด เมล็ดไม่มีผนังรังไข่ห่อหุ้ม จึงเรียกว่า เมล็ดเปลือย แบ่งออกเป็น 4 Phylum คือ

2.1.1. 3.1 Phylum Cycadophyta เป็นพืชที่มีการกระจายพันธุ์ในบริเวณที่แห้งแล้งได้ดี มีลำต้นค่อนข้างเตี้ย ใบมีขนาดใหญ่เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีการสร้างโคนเพศผู้และโคนเพศเมียแยกต้นกัน เช่น ปรง ปรงป่า ปรงเขา เป็นต้น

2.1.2. 3.2 Phylum Ginkophyta ปัจจุบันเหลือเพียงสปีชีส์เดียว คือ แป๊ะก๊วย มีลักษณะใกล้เคียงกับพืชที่สูญพันธุ์ไปแล้ว พบตามธรรมชาติในประเทศจีน เกาหลีและญี่ปุ่น ลำต้นมีขนาดใหญ่ ใบเดี่ยวคล้ายพัด ต้นเพศเมียสร้างออวุลที่ปลายกิ่งพิเศษ เมล็ดมีอาหารสะสมนิยมนำมารับประทาน

2.1.3. 3.3 Phylum Coniferophyta เป็นพืชที่มีความหลากหลายมากที่สุดในพืชกลุ่มเมล็ดเปลือยทั้งในด้านลักษณะของต้นและโครงสร้างของอวัยวะสืบพันธุ์ โคนเพศผู้และเพศเมียอาจเกิดบนต้นเดียวกันหรือแยกต้นกัน เช่น สนสองใบ สนสามใบ สนสามพันปี พญาไม้ เป็นต้น

2.1.4. 3.4 Phylum Gnetophyta เป็นพืชที่มีลักษณะแตกต่างจากพืชเมล็ดเปลือยกลุ่มอื่น คือพบเวสเซลในท่อลำเลียงน้ำ และมีลักษณะคล้ายพืชดอกมาก คือ มีกลีบดอก มีใบเลี้ยง 2 ใบ แต่แมล็ดยังไม่มีเปลือกหุ้ม ปัจจุบันพบประมาณ 3 สกุล แต่ที่พบในประเทศไทย คือ มะเมื่อย มักพบตามป่าชื้นเขตร้อน

2.2. - angiosperm ( พืชดอก ) เป็นกลุ่มพืชที่มีความหลากหลายมากที่สุดในอาณาจักรพืช พืชกลุ่มนี้มีดอกซึ่งเป็นกิ่งที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นโครงสร้างที่ใช้ในการสืบพันธุ์ มีออวุลเจริญอยู่ในรังไข่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเกสรตัวเมีย (มีดอก มีเมล็ด เมล็ดมีผนังรังไข่ห่อหุ้ม) แบ่งเป็น พืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon) และพืชใบเลี้ยงคู่ (Dicotyledon)

3. กลุ่มพืชไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง

3.1. 1.1 Phylum Hepatophyta ต้นแกมีโทไฟต์ มีทั้งที่เป็นต้น มีส่วนคล้ายใบและที่เป็นแผ่นบางๆภายในเซลล์จะมีหยดน้ำมันอยู่ด้วย ต้นสปอโรไฟต์เมื่อแก่จะแตกออก เพื่อปล่อยสปอร์กระจายพันธุ์ ตัวอย่างพืช เช่น ลิเวอร์เวิร์ท

3.2. 1.2 Phylum Anthocerophyta ต้นแกมีโทไฟต์มีลักษณะเป็นแผ่น มีรอยหยักที่ขอบ มักมีคลอโรพลาสต์เพียง 1 คลอโรพลาสต์ต่อเซลล์ และต้นสปอร์โรไฟต์จะมีลักษณะยาวเรียว มีเนื้อเยื่อเจริญอยู่ที่โคนต้น เช่น ฮอร์นเวิร์ต

3.3. 1.3 Phylum Bryophyta ต้นแกมีโทไฟต์มีลักษณะคล้ายใบที่เรียงเวียนรอบแกนกลาง ต้นสปอร์โรไฟต์มีอับสปอร์ ซึ่งมีโครงสร้างพิเศษช่วยในการกระจายสปอร์หรือมีช่องเปิดเพื่อกระจายสปอร์ เช่น มอส