1. Total
2. 6.buttom plate ไว้ประกบ กับ topplate
3. 5.Ejectorhouseห้องระบบกระทุ้งชิ้นชิ้นงานเป็นที่เก็บของเข็มกระทุ้ง (ejector pin)โดยมีความสูงที่จะใช้ในการเคลื่อนที่ของเข็มกระทุ้ง ในขณะกระทุ้งชิ้นงานและเก็บเข็มกระทุ้งในขณะที่ฉีดชิ้นงาน แผ่นที่ฐานของห้องระบบกระทุ้งชิ้นงานจะใช้ในการยึดแม่พิมพ์ส่วนที่เคลื่อนที่ได้กับส่วนที่เคลื่อนที่ของเครื่องฉีด
3.1. Ejectorhouse2
3.2. Beside
3.3. spring
3.4. Ejectorhouse1
4. 4.support plateแผ่นพยุงหลัง แผ่นแควิตี้ B จะวางติดอยู่บนส่วนบนของแผ่นพยุงหลัง โดยแผ่นพยุงหลังจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับแควิตี้เพื่อหลีกเลี่ยงการแอ่นตัวของแควิตี้ระหว่างการฉีด
5. 3.แผ่นแควิตี้ B (B Cavity Plate ) แผ่นแควิตี้ B ประกอบด้วยส่วนที่เหลือของแควิตี้หรือคอร์ และจะมีส่วนที่เป็นปลอกเพลานำ (leader pin bushing) อยู่ด้วย ระนาบที่แผ่นแควิตี้ A และแผ่นแควิตี้ B ประกบกันอยู่คือ เส้นแบ่งแยกแม่พิมพ์ ซึ่งแม่พิมพ์จะแยกออกจากกกันที่ระนาบนี้ โดยแผ่นแควิตี้ B จะเป็นแผ่นหน้าของแม่พิมพ์ด้านที่เคลื่อนที่ ซึ่งมักจะมีสลักดึงรูฉีด และเข็มกระทุ้ง (ejector pin) รวมทั้งอาจมีอินเสิร์ตของคอร์
5.1. Guidpin
5.2. Gear กำหนดรูปร่าง
6. 2.แผ่นแควิตี้ A จะประกอบด้วยส่วนของแควิตี้ หรือ อินเสิร์ตของคอร์ ปลอกรูฉีด และรูวิ่งของชิ้นงานฉีดขึ้นรูป คำว่า “แควิตี้” (cavity) มีความหมายถึงช่องว่างในแม่พิมพ์ที่ซึ่งช่องพอลิเมอร์หลอมจะไหลเข้าไปและแข็งตัวเป็นรูปร่าง เปรียบได้กับแม่พิมพ์ตัวเมีย ส่วนคำว่าคอร์ (core) หมายความถึงชิ้นส่วนโลหะหรือแกนที่ยื่นนูนออกมาจากระนาบของแม่พิมพ์ เปรียบได้กับแม่พิมพ์ตัวผู้ ช่องว่างในแม่พิมพ์ซึ่งเกิดขึ้นจากการประกบกันระหว่างแควิตี้กับคอร์ จะเป็นที่ที่พอลิเมอร์หลอมถูกฉีดเข้าไปและเย็นตัวลง เรียกว่า อิมเพรชชั่น (impression) ซึ่งรูปร่างของชิ้นงานที่ได้ก็จะเป็นรูปร่างเดียวกับอิมเพรชชั่นนั่นเอง บ่อยครั้งที่แม่พิมพ์มีเฉพาะส่วนแควิตี้ ไม่มีส่วนคอร์ ดังนั้นรูปร่างของชิ้นงานก็มาจากส่วนของแควิตี้นั่นเอง จำนวนของแควิตี้จะเป็นตัวกำหนดจำนวนของชิ้นงานที่ฉีดได้ในครั้งหนึ่งๆ แม่พิมพ์ที่มีแควิตี้เดียว นิยมใช้ผลิตชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ ในขณะที่แม่พิมพ์ที่มีหลายแควิตี้ (multi-cavity mold) จะใช้ในการผลิตชิ้นงานที่มีขนาดเล็กลงมาและได้ชิ้นงานแบบเดียวกันหลายชิ้นในการฉีดหนึ่งครั้ง สำหรับแม่พิมพ์อีกประเภทหนึ่งเรียกว่าแม่พิมพ์แบบแฟมิลี่ (family) จะเป็นม่พิมพ์ที่มีหลายแควิตี้และมีรูปร่างชิ้นงานในแต่ละแควิตี้ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในการฉีดครั้งหนึ่งๆ จะได้ชิ้นงานที่มีรูปร่างแตกต่างกันมากกว่า 1 แบบ
6.1. 1.topplate หน้าที่แผ่นยึดด้านหน้าหรือแผ่นยึดดด้านบน มีหน้าที่ในการพยุงหรือประคองแผ่นแควิตี้ A แหวนกำหนดตำแหน่ง (locating ring) และปลอกรูฉีด (spure bushing) ในการออกแบบเม่พิมพ์ในบางลักษณะ แผ่นทั้งสองอาจจะรวมเป็นแผ่นเดียวกัน ที่หนาขึ้นและทำหน้าที่ทั้งสองอย่าง โดยจะยึดแม่พิมพ์ด้านที่อยู่กับที่กับส่วนที่ไม่เคลื่อนที่ของเครื่องฉีด
6.1.1. Locating Ringแหวนกำหนดตำแหน่ง จะมีลักษณะเป็นแหวนซึ่งเป็นชิ้นส่วนของแม่พิมพ์ที่สวมเข้ากับแผ่นที่ไม่เคลื่อนที่ของฐานแม่พิมพ์ วัตถุประสงค์การใช้งานของแหวนนี้เพื่อตั้งศูนย์ของแม่พิมพ์ให้ตรงกับตำแหน่งหัวฉีด (nozzle) เครื่องฉีดที่เป็นมาตรฐานส่วนใหญ่จะใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่แตกต่างกันออกไปสำหรับการออกแบบต่างๆ เพื่อให้เอื้อต่อช่องทางการไหลเข้าแม่พิมพ์ของพอลิเมอร์หลอมจากหัวฉีด ขนาดที่ถูกต้องของแหวนกำหนดตำแหน่งในแต่ละแม่พิมพ์จะขึ้นกับเครื่องฉีดที่ใช้
6.1.2. spruebrushingปลอกรูฉีดจะช่วยปิดหรือซีล (seal) พอลิเมอร์หลอมจากหัวฉีดให้ไหลเข้าไปในรูฉีด (spure) ที่มีลักษณะเป็นช่องทรงกรวย (conical shape) เพื่อบังคับให้พอลิเมอร์หลอมไหลต่อไปยังสลักดึงรูฉีด (spure puller) รูวิ่ง ประตูฉีดและแควิตี้ ขนาดปลอกของรูฉีดจะมีหลากหลายตามความจำเป็น แต่ให้เหมาะสมควรให้มีขนาดสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อไม่ให้ความดันในการฉีดลดลงไปมาก ทั้งแหวนกำหนดตำแหน่งและปลอกรูฉีดมักจะอยู่ในแผ่นยึดด้านหน้าที่ใช้ในการรองรับแม่พิมพ์ด้านที่อยู่กับที่