สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) by Mind Map: สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

1. ประวัติ

1.1. ชีวิตส่วนตัว

1.1.1. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ มีนามเดิมว่า “ช่วง” เป็นบุตรชายคนใหญ่ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กับท่านผู้หญิงจันทร์การศึกษาเล่าเรียนที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เมื่อเติบใหญ่ได้ศึกษาราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศและการปกครองจากบิดา

1.2. การรับราชการ

1.2.1. บิดาได้นำท่านเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ชื่อว่า มหาดเล็กช่วง โดยช่วยบิดาทำงานด้านการคลังและกรมท่า รวมทั้งติดต่อกับต่างประเทศด้วย ท่านเป็นผู้สนใจศึกษาวิชาการของชาวตะวันตก เนื่องจากอังกฤษและฝรั่งเศสเริ่มแผ่อิทธิพลเข้าสู่โลกตะวันออกและประชิดเขตแดนสยามมากขึ้น

1.2.1.1. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้ง พระยาศรีสุริยวงศ์ จางวางมหาดเล็ก ขึ้นเป็น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ว่าที่สมุหพระกลาโหม และทรงสร้าง "ตราศรพระขรรค์" สำหรับพระราชทานแก่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์

1.2.1.1.1. หลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ จึงได้รับเลือกจากที่ประชุมเสนาบดีและพระบรมวงศานุวงศ์ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาดในราชการแผ่นดินทั่วราชอาณาจักร หลังจากท่านพ้นจากการเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแล้ว ก็ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีอำนาจบรมอิสริยยศบรรดาศักดิ์ 30,000 ไร่ ยิ่งกว่าจตุสดมภ์มนตรี 3 เท่า ดำรงตรามหาสุริยมณฑล ได้บังคับบัญชาสิทธิขาดราชการแผ่นดินในกรุงนอกกรุงทั่วพระราชอาณาจักร และสำเร็จสรรพอาญาสิทธิประหารชีวิตคนที่ถึงอุกฤษฏโทษมหันตโทษได้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์นับเป็นบุคคลที่ดำรงบรรดาศักดิ์ ระดับ "สมเด็จเจ้าพระยา" เป็นคนสุดท้ายของประวัติศาสตร์ไทย

1.3. บั้นปลายชีวิต

1.3.1. ภายหลังการถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรดน้ำศพพระราชทาน พร้อมทั้งพระราชทานโกศกุดั่นน้อยประกอบลองใน ตั้งบนแว่นฟ้า พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ไว้ทุกข์เป็นระยะเวลา 7 วัน นอกจากนี้ ในวันชักศพเข้าเมรุ ณ วัดบุปผารามวรวิหารนั้น พระองค์โปรดฯ ให้เจ้าหมื่นไวยวรนารถ (ยศขณะนั้น) จัดทหารจำนวน 100 คนไปแห่ศพ

2. บทบาทความรับผิดชอบในชีวิตราชการ

2.1. บทบาทก่อนเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

2.1.1. การติดต่อกับต่างประเทศ

2.1.1.1. เจรจาแก้ไขสนธิสัญญาทางการค้าที่นาย “หันแตร บารนี” หรือเฮนรี เบอร์นีเข้ามาทำไว้ในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ สนธิสัญญาเบอร์นี มีการลงนามสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 ที่เรียกว่าสนธิสัญญาเบาริง หรือเรียกกันย่อ ๆ ในสมัยนั้นว่า “สัญญาเบาริง”

2.1.2. การให้ความอุปถัมภ์ชาวต่างประเทศ

2.1.2.1. มองเห็นถึงความสำคัญของวิชาความรู้ วิทยาการ และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เช่น การแพทย์ การพิมพ์ และการรักษาพยาบาลที่ทันสมัยของหมอสอนศาสนาคริสต์

2.1.3. การทหาร

2.1.3.1. เมื่อครั้งเป็นหลวงสิทธิ์ นายเวรในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็ได้ช่วยบิดาด้านทหารเรือ  จึงเรียนวิธีต่อกำปั่นแบบใหม่และเป็นนายช่างไทยที่สามารถต่อเรือฝรั่งแบบฝรั่งสำเร็จเป็นคนแรก ท่านได้น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้รับพระราชทานชื่อว่า "เรือแกล้วกลางสมุทร" ต่อมา ในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ต่อเรือกลไฟเป็นเรือรบและเรือพาหนะของหลวงจำนวนหลายลำได้รับการยกย่องจากกองทัพเรือเป็นผู้บัญชาการทหารเรือวังหลวงท่านแรก

2.1.4. การอัญเชิญเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นครองราชย์

2.1.4.1. หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว ที่ประชุมเสนาบดีและพระบรมวงศานุวงศ์ได้อัญเชิญเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นเป็น "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5" และให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ผู้มีอำนาจเต็ม โดยมีสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนบำราบปรปักษ์ช่วยในส่วนการพระราชนิเวศน์ รวมทั้งเชิญกรมหมื่นบวรวิไชยชาญขึ้นดำรงตำแหน่งที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

2.2. บทบาทเมื่อเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

2.2.1. การจัดระเบียบราชการและพระราชานุกิจ

2.2.1.1. การจัดระเบียบราชการครั้งนี้จึงอาศัยแนวคิด 2 ประการ คือ ประการแรก การบังคับบัญชาข้าราชการบ้านเมืองนั้น ไม่ได้เอาอำนาจไว้แต่ในตัวผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเท่านั้น แต่เป็นไปด้วยการปรึกษาหารือพร้อมเพรียงกันของข้าราชการผู้ชั้นผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารซึ่งจะมีการประชุมกัน ณ หอวรสภาภิรมย์ ภายในพระบรมมหาราชวัง ประการที่สอง คือ การฝึกหัดให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสามารถว่าราชการบ้านเมืองได้เอง

2.2.1.1.1. ในการจัดพระราชานุกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนบำราบปรปักษ์ (พระบรมวงศานุวงศ์อาวุโสสูงสุด) และกรมพระสุดารัตนราชประยูร (ผู้ดูแลอภิบาลเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์มาแต่ทรงพระเยาว์) ร่วมกันจัดระเบียบถวายด้านการศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณี การออกว่าราชการ การเสด็จออกรับฎีกา การเสด็จประพาสในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งพระจริยาวัตรอื่น ๆ เพื่อเตรียมพระองค์ให้ทรงพร้อมที่จะปกครองแผ่นดิน ในการนี้หากมีปัญหาใด ๆ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จะเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาดในการตัดสิน

2.2.2. การก่อสร้างและการบำรุงการคมนาคม

2.2.2.1. สร้างประภาคาร ประภาคารแห่งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากในด้านการเดินเรือ เป็นแม่กองในการก่อสร้างและบูรณะสถานที่ต่าง ๆ การขุดคลองและก่อสร้างถนนต่าง ๆ เพื่อการคมนาคม

2.2.3. กฎหมายและขนบธรรมเนียมประเพณี

2.2.3.1. การออกพระราชบัญญัติต่าง ๆ ให้การพิจารณาคดีในศาลรวดเร็วขึ้นด้านขนบธรรมเนียมประเพณีได้ริเริ่มประเพณีทำบุญวันเกิดเป็นครั้งแรกเมื่ออายุครบ 50 ปี

2.2.4. การบำรุงวรรณกรรม การละครและดนตรี

2.2.4.1. สามก๊ก อิเหนา

2.2.5. การรักษาความสงบภายในประเทศ

2.2.5.1. ผู้รักษาการณ์กงสุลอังกฤษกล่าวว่า สยามไม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญาถึงขนาดลดธงชาติอังกฤษลงครึ่งเสาเป็นการแสดงว่าได้ตัดพระราชไมตรีกับไทย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ได้ความเฉียบแหลมและเด็ดขาดระงับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็วไม่ลุกลามทำให้ต่างชาติใช้เป็นเหตุอ้างเพื่อเข้าแทรกแซง

3. เกียรติยศ

3.1. บรรดาศักดิ์

3.1.1. พ.ศ. 2369 อายุได้ 18 ปี เป็นนายไชยขรรค์ มหาดเล็กหุ้มแพร พ.ศ. 2376 อายุได้ 25 ปี เป็นหลวงสิทธิ์ นายเวรมหาดเล็ก ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า หลวงนายสิทธิ์ พ.ศ. 2384 อายุได้ 33 ปี เป็นจมื่นไวยวรนาถ หัวหมื่นมหาดเล็ก พ.ศ. 2385 อายุได้ 34 ปี รัชกาลที่ 3 ทรงเพิ่มสร้อยนามพระราชทานว่า “จมื่นไวยวรนาถ ภักดีศรีสุริยวงศ์” พ.ศ. 2393 อายุได้ 42 ปี เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ วางจางมหาดเล็ก พ.ศ. 2394 อายุได้ 43 ปี เป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมันพงศพิสุทธิ มหาบุรุษรัตโนดม ว่าที่สมุหพระกลาโหม พ.ศ. 2398 อายุได้ 47 ปี เป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ อัครมหาเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหมเต็มตำแหน่ง พ.ศ. 2412 อายุได้ 61 ปี เลื่อนยศเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ และเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2416 อายุได้ 65 ปี เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

3.2. เครื่องยศ

3.2.1. เมื่อท่านได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเครื่องยศให้ท่านเทียบเท่าเจ้าต่างกรมชั้นกรมหลวง

3.3. เครื่องราชอิสริยาภรณ์

3.3.1. พ.ศ. 2415 Order of the Royal House of Chakri (Thailand) ribbon.JPG เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) ฝ่ายหน้า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆเป็นลำดับ ดังต่อไปนี้ Order of the Nine Gems.JPG -เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (พ.ศ. 2412) Order of Chula Chom Klao - 1st Class (Thailand) ribbon.png - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (พ.ศ. 2416) Order of the White Elephant - 1st Class (Thailand) ribbon.png - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 มหาวราภรณ์ (ระหว่าง พ.ศ. 2412 - พ.ศ. 2416) Order of the Crown of Thailand - 1st Class (Thailand) ribbon.png - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎสยาม ชั้นที่ 1 มหาสุราภรณ์ (พ.ศ. 2419)

3.4. ดวงตราประจำตัว

3.4.1. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ยังมีตราประจำตัว ได้แก่ ตราสุริยมณฑล ซึ่งมีลักษณะเป็นตราเทพบุตรชักรถจะใช้ตรานี้ประทับกำกับไว้ที่หนังสือราชการ สิ่งของเครื่องใช้ หรือสถานที่ต่างๆ ที่ท่านสร้างไว้

4. เกียรติคุณและอนุสรณ์

4.1. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

4.1.1. ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เรียกตัวเองว่า ลูกสุริยะ สืบเนื่องมาจากการที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ได้รับพระราชทานตราสุริยมณฑลเป็นตราประจำตัว โดยทางสถาบัน

4.2. แสตมป์

4.2.1. จัดทำดวงตราไปรษณียากรที่ระลึก 200 ปี สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ "มหาบุรุษรัตโนดมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์"