พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

Create a Competitive Analysis / SWOT to position your company in the market

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ by Mind Map: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

1. บทบาทสำคัญในการพัฒนาภารกิจด้านการต่างประเทศ

1.1. ทรงจัดและปรับปรุงรูปแบบกรมกองให้ทันสมัย ทรงขอพระราชทานที่ทำการ เพื่อให้เป็น “ศาลาว่าการต่างประเทศ” ซึ่งนับว่าเป็นกระทรวงแรกที่มีศาลาว่าการกระทรวงเป็นที่ทำการแทนการใช้บ้านเสนาบดีเป็นที่ทำการ ทรงเปิดสำนักงานผู้แทนทางการทูตของไทยในต่างประเทศ

1.1.1. สถานทูตไทย ณ สำนักเซนต์ เจมส์ ซึ่งตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน

1.2. ทรงส่งเสริมการพัฒนาความรู้และทักษะของข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศอย่างจริงจัง

1.2.1. ทรงจัดตั้งแผนกสอนภาษาอังกฤษให้แก่ข้าราชการ เสมียนและพนักงาน

1.2.2. ทรงวางระเบียบวิธีเขียนหนังสือราชการ

1.2.3. ทรงคัดเลือกนักเรียนส่งไปศึกษาต่อยังต่างประเทศอีกด้วย

1.3. ทรงปรับปรุงระบบราชการของกระทรวงการต่างประเทศให้เหมือนกับของบรรดาอารยประเทศ

1.3.1. แบ่งส่วนราชการเป็นกองต่าง ๆ ตามภารกิจหน้าที่

1.3.1.1. กองกลาง กองการทูต กองการกงสุล กองการคดี กองการกฎหมาย กองเก็บหนังสือ กองแปล กองการบัญชี แผนกคนต่าง ประเทศ

1.3.2. กำหนดระเบียบวิธีร่างและเขียนจดหมายราชการ การรับ-ส่ง  การเก็บหนังสือและเอกสารต่าง ๆ และสถิติการเข้า-ออกของหนังสือทุกประเภทของทุกกอง  รวมทั้งทรงกำหนดให้ข้าราชการ           ลงเวลามาและกลับในสมุดประจำ จนเป็นแบบแผนการปฏิบัติราชการแก่กระทรวงอื่น

1.3.3. ขอพระราชทานที่ทำการ เพื่อให้เป็น“ศาลาว่าการต่างประเทศ” ซึ่งนับว่าเป็นกระทรวงแรกที่มีศาลาว่าการกระทรวงเป็นที่ทำการ  แทนการใช้บ้านเสนาบดีเป็นที่ทำการ

2. ความเชี่ยวชาญในด้านอื่นๆ

2.1. มีความเชี่ยวชาญด้านภาษา อาทิ ภาษาไทย ภาษามคธ ภาษาอังกฤษ และวิชาเลข

2.2. ทรงมีความสนพระทัยในเรื่องโหราศาสตร์และสมุนไพร

2.2.1. ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินตาม สุริยคติ นับวันและเดือนแบบสากล เรียกว่า “เทวะประติทิน” ซึ่งเป็นต้นแบบของปฏิทินในปัจจุบัน

2.2.2. ทรงเป็นผู้คิดชื่อเดือน มีการแบ่งชื่อเรียกเดือนที่มี 30 วัน และ 31 วันชัดเจนด้วยการใช้คำนำหน้าจากชื่อราศี สมาสกับคำว่า “อาคม” และ “อายน” ที่แปลว่า การมาถึง

3. นางสาวอรุณนา คำนวนดี ม.6/4 เลขที่ 23

3.1. อิางอิงข้อมูล

3.1.1. เนื้อหา

3.1.1.1. www.mfa.go.th/dvifa/th/organize

3.1.1.2. historytp.blogspot.com/p/blog-page_82.html

3.1.2. วิดีโอ

3.1.2.1. https://www.youtube.com/watch?v=UueH6FgOepY

3.1.2.2. https://www.youtube.com/watch?v=CkyjpNeNwmA

3.1.3. รูปภาพ

3.1.3.1. th.wikipedia.org

4. ประวัติของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

4.1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ (องค์ต้นราชสกุล “เทวกุล”) ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2401 ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 42 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นลำดับที่ 2 ในสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา

4.1.1. พระนามเต็ม : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ขัตติยพิศาลสุรบดี บรมราชินีศรีพัชรินทรภราดร สโมสรอเนกนิติปรีชา มหาสุมันตยานุวัตรวิบูลย์ ไพรัชราชกิจจาดุลย์สุนทรปฏิภาณ นิรุกติญาณวิทยาคณนาทิศาสตร์ โหรกลานุวาทนานาปกรณ์ เกียรติกำจรจิรกาล บริบูรณคุณสารสมบัติ สุจริตสมาจารวัตรมัทวเมตตา ชวาธยาศรัย ศรีรัตนตรัยสรณธาดา กัลยาณธรรมมิกนาถบพิตร

4.2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2428 ขณะพระชันษา 27 ปี ถึง วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2466 ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศที่อายุน้อยที่สุด และอยู่ในตำแหน่งยาวนานถึง 38 ปี 16 วัน

4.2.1. คุณูปการที่สำคัญยิ่งของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการคือการการรักษาอธิปไตยของไทย ทรงจัดทำสนธิสัญญากับอังกฤษและฝรั่งเศส และทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับมหาอำนาจอื่นๆ อาทิ รัสเซีย เยอรมนี

4.3. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2466 รวมพระชนมายุได้ 64 ปี และในกาลต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2466

5. ผลงานภารกิจด้านการต่างประเทศที่โดดเด่น

5.1. ทรงเป็นผู้ทูลเสนอให้ตั้งทูตไทยไปประจำอยู่ในราชสำนักต่างประเทศเป็นครั้งแรก ไทยจึงเริ่มตั้งกงสุลขึ้นในอังกฤษเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2425 แล้วจึงตั้งในประทศฝรั่งเศส และประเทศอื่น ๆ ต่อมาทำให้นานาประเทศเริ่มยกย่องเกียรติยศของประเทศไทย และจัดตั้งราชทูตมาประจำในเมืองไทยเป็นการตอบแทน

5.2. ในปี พ.ศ.2430 ได้เสด็จไปร่วมงานฉลองในการที่สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย ครองราชย์ครบ 50 ปี แทนพระองค์ ในขณะเดียวกันทรงเป็นผู้แทนไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศ สวีเดน ฝรั่งเศส และเยอรมัน เมื่อเสด็จกลับจากยุโรป เมื่อเสด็จถึงญี่ปุ่นได้เป็นผู้เจรจาทำหนังสือแสดงทางไมตรีกับญี่ปุ่นเป็นการทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีทางการค้าขายและการเดินเรือในระหว่างกรุงสยามกับกรุงญี่ปุ่น

5.3. ในปี พ.ศ.2435 มีการตั้งเสนาบดีสภาขึ้น 12 ตำแหน่ง กรมหลวงเทวะวงศ์ ฯ ทรงเป็นหัวหน้าเสนาบดี มาทั้งสองรัชกาล ตลอดพระชนมายุ รวม 31 ปี ระหว่างเหตุการณ์ ร.ศ.112 หรือ "เหตุการณ์ที่ปากน้ำ" กรมหลวงเทวะวงศ์ ฯ ทรงใช้สติปัญญาอันเฉลียวฉลาด พระราชดำริอันสุขุมรอบครอบ ในการเจรจากับผู้แทนฝรั่งเศส แก้ไขสถานการณ์อันตึงเครียดลงได้