พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว by Mind Map: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

1. การเสียดินแดน   ครั้งที่ ๘ เสียสิบสองจุไทย (เมืองไล เมืองเชียงค้อ) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ  ๒๒ ธันวาคม ๒๔๓๑ พื้นที่ ๘๗,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย รัชกาลที่ ๕ พวกฮ่อ ก่อกบฏ ทางฝ่ายไทยจัด กำลังไปปราบ ๒ กองทัพ แต่ปฏิบัติเป็นอิสระแก่กัน อีกทั้งแม่ทัพทั้งสองไม่ถูกกัน จึงเป็นโอกาสให้ฝรั่งเศสส่งทหารเข้าเมืองไล โดยอ้างว่า มาช่วยไทยปราบฮ่อ แต่หลัง จากปราบได้แล้ว ก็ไม่ยอมยกทัพกลับ อีกทั้งไทยก็ไม่ได้จัดกำลังไว้ยึดครองอีกด้วย จนในที่สุด ไทยกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันที่เมืองแถง (เบียนฟู) ยอมให้ฝรั่งเศสรักษา เมืองไลและเมืองเชียงค้อ ครั้งที่ ๙ เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน (5 เมืองเงี้ยว และ 13 เมืองกะเหรี่ยง) ให้กับประเทศอังกฤษในสมัย รัชกาลที่ ๕ เมื่อ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2435 เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ทางด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจและทรัพยากร อันอุดม ด้วยดินแดนผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ยิ่ง ครั้งที่ ๑๐ เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อาณาจักรล้านช้าง หรือประเทศลาว) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ ๓ ตุลาคม ๒๔๓๖ พื้นที่ ๑๔๓,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นของไทยมาตั้งแต่ สมัยสมเด็จพระนเรศวร ต้องเสียให้กับฝรั่งเศสตามสัญญา ไทยกับฝรั่งเศส เท่านั้นยังไม่พอ ฝรั่งเศสเรียกเงินจากไทย ๑ ล้านบาท เป็นค่าเสียหายที่ต้องรบกับไทย เสียค่าประกันว่าไทยต้องปฏิบัติตามสัญญาอีก ๓ ล้านบาท และยังไม่พอ ฝรั่งเศสได้ ส่งทหารมายึดเมืองจันทบุรีและตราด ไว้ถึง ๑๕ ปี นับว่าเป็นความเจ็บปวดที่สุด ของไทยถึงขนาดที่เจ้านายฝ่ายในต้องขาย เครื่องแต่งกายเพื่อนำเงินมาถวาย ร.๕  เป็นค่าปรับ ร.๕ ต้องนำถุงแดง (เงินพระคลังข้างที่) ออกมาใช้ ครั้งที่ ๑๑ เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง (ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ดินแดนในทิศตะวันออกของน่านคือ จำปาสัก และไซยะบูลี)  ให้กับฝรั่งเศสเมื่อ ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๔๖ พื้นที่ ๒๕,๕๐๐ ตร.กม. ในสมัย.ร.๕ ไทยทำสัญญากับฝรั่งเศส เพื่อขอให้ฝรั่งเศสคืน จันทบุรีให้ไทย แต่ฝรั่งเศสถอนไปแต่จันทบุรีแล้วไปยึด เมืองตราดแทนอีก ๕ ปี แล้วเมื่อฝรั่งเศสได้ หลวงพระบางแล้วยังลุกล้ำย้านนาดี, ด่านซ้าน จ.เลย และยังได้เอาศิลาจารึกที่ พระเจดีย์ศรีสองรักษ์ไปด้วย ครั้งที่ ๑๒ เสียมลฑลบูรพา (พระตะบอง,เสียมราฐ,ศรีโสภณ) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ ๒๓ มีค. ๒๔๔๙ พื้นที่ ๕๑,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย ร.๕   ไทยได้ทำสัญญากับฝรังเศส เพื่อแลกกับ ตราด,เกาะกง,ด่านซ้าย ตลอดจนอำนาจศาลไทยที่จะบังคับต่อคนในบังคับ ของฝรั่งเศส ในประเทศไทย เพราะขณะนั้นมีคนจีนญวนไปพึ่งธงฝรั่งเศสกันมาก เพื่อสิทธิการค้าขาย ฝรั่งเศสก็เพียงแต่ถอนทหารออกจากตราดเมื่อ ๖ กรกฎาคม ๒๔๕๐ กับด่านซ้าย คงเหลือแต่เกาะกงไม่คืนให้ไทย ครั้งที่ ๑๓ เสียรัฐกลันตัน,ตรังกานู,ไทรบุรี, ปริส  ให้กับอังกฤษเมื่อ ๑๐ มีนาคม ๒๔๕๑ พื้นที่ ๘๐,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย ร.๕ ไทยได้ทำสัญญากับอังกฤษ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ศาลไทยที่จะบังคับคดีความผิดของคนอังกฤษในไทย

2. 1) การปกครองส่วนกลาง   การปรับปรุงการบริหารราชการในส่วนกลางของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คือ ทรงยกเลิกตำแหน่งอัครเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหกลาโหม และสมุหนายก รวมทั้งจตุสดมภ์ โดยแบ่งการบริหารราชการออกเป็นกระทรวงตามแบบอารยประเทศ และให้มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าการแต่ละกระทรวง กระทรวงที่ตั้งขึ้นทั้งหมด เมื่อ พ.ศ.2435 มี 12 กระทรวง คือ (1) มหาดไทย รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาว (2) กลาโหม รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายใต้ หัวเมืองฝ่ายตะวันออก ตะวันตก และเมืองมลายู (3) ต่างประเทศ รับผิดชอบเกี่ยวกับการต่างประเทศ (4) วัง รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการในพระราชวัง (5) เมืองหรือนครบาล รับผิดชอบเกี่ยวกับการตำรวจและราชทัณฑ์ (6) เกษตราธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการเพาะปลูก เหมืองแร่ ป่าไม้ (7) คลัง รับผิดชอบเกี่ยวกับภาษีอากรและงบประมาณแผ่นดิน (8) ยุติธรรม รับผิดชอบเกี่ยวกับการชำระคดีและการศาล (9) ยุทธนาธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการทหาร (10) ธรรมการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา การสาธารณสุขและสงฆ์ (11) โยธาธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการก่อสร้าง ถนน คลอง การช่าง ไปรษณีย์โทรเลข และรถไฟ (12) มุรธาธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาตราแผ่นดิน และงานระเบียบสารบรรณ       ภายหลังได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการไปรวมกับกระทรวงกลาโหม และยุบกระทรวงมุรธาธิการไปรวมกับกระทรวงวัง คงเหลือเพียง 10 กระทรวง เสนาบดีทุกกระทรวงมีฐานะเท่าเทียมกัน และประชุมร่วมกันเป็นเสนาบดีสภา ทำหน้าที่ปรึกษาและช่วยบริหารราชการแผ่นดินตามที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบหมาย เพราะอำนาจสูงสุดเด็ดขาดเป็นของพระมหากษัตริย์ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

3. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕)

4. 2) การปกครองส่วนภูมิภาค         พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้ยกเลิกการปกครองหัวเมือง และให้เปลี่ยนแปลงเป็นการปกครองส่วนภูมิภาคโดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 ขึ้น เพื่อจัดการปกครองเป็นมณฑล เมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ดังนี้ (1) มณฑลเทศาภิบาล ประกอบด้วยเมืองตั้งแต่ 2 เมืองขึ้นไป มีสมุหเทศาภิบาล ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งไปปกครองดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ (2) เมือง ประกอบด้วยอำเภอหลายอำเภอ มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้รับผิดชอบ ขึ้นตรงต่อข้าหลวงเทศาภิบาล (3) อำเภอ ประกอบด้วยท้องที่หลาย ๆ ตำบล มีนายอำเภอเป็นผู้รับผิดชอบ (4) ตำบล ประกอบด้วยท้องที่ 10 - 20 หมู่บ้าน มีกำนันซึ่งเลือกตั้งมาจากผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบ (5) หมู่บ้าน ประกอบด้วยบ้านเรือนประมาณ 10 บ้านขึ้นไป มีราษฎรอาศัยประมาณ 100 คน เป็นหน่วยปกครองที่เล็กที่สุด มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบ     ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ยกเลิก มณฑลเทศาภิบาล และเปลี่ยน เมือง เป็น จังหวัด

5. 3) การปกครองส่วนท้องถิ่น         พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปสุขาภิบาล ซึ่งมีหน้าที่คล้ายเทศบาลในปัจจุบัน เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2440 โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 (พ.ศ.2440) ขึ้นบังคับใช้ในกรุงเทพฯ ต่อมาใน ร.ศ.124 (พ.ศ. 2448) ได้ขยายไปที่ท่าฉลอม ปรากฏว่าดำเนินการได้ผลดีเป็นอย่างมาก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล ร.ศ.127 (พ.ศ.2451) ขึ้น โดยแบ่งสุขาภิบาลออกเป็น 2 ประเภท คือ สุขาภิบาลเมืองและสุขาภิบาลตำบล ท้องถิ่นใดเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลประเภทใด ก็ให้ประกาศตั้งสุขาภิบาลในท้องถิ่นนั้น                   แม้ว่าการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์จะเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่พระราชกรณียกิจบางประการของพระมหากษัตริย์ก็ถือได้ว่าเป็นการปูพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงดำเนินการดังต่อไปนี้

6. พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นามเต็มคือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พงศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์มีพระขนิษฐาและพระอนุชารวม 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

7. พระราชประวัติ

8. พระราชกรณียกิจที่สำคัญ พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการ เลิกทาส การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และจักรวรรดิอังกฤษ นอกจากนี้ังนำระบบความเจริญก้าวหน้าของชาติตะวันตกมาใช้พัฒนาในประเทศไทย เช่น ระบบการใช้ธนบัตรและ เหรียญบาท สร้างระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น จังหวัด อำเภอ และได้มีการสร้างรถไฟ สายแรก คือ กรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) เป็นต้น

9. การเลิกทาสและระบบไพร่

10. วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112

11. การปฏิรูปการปกครอง

12. รัชกาลที่5 เสด็จประพาสยุโรป 2440

13. พระราชนิพนธ์ ทรงมีพระราชนิพนธ์ ทั้งหมด 10 เรื่อง 1 ไกลบ้าน 2 เงาะป่า 3 นิทราชาคริต 4 อาบูหะซัน 5 พระราชพิธีสิบสองเดือน 6 กาพย์เห่เรือ 7 คำเจรจาละครเรื่องอิเหนา 8 ตำรากับข้าวฝรั่ง 9 พระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี 10 โคลงบรรยายภาพรามเกียรติ์

14. การเสด็จประพาสต้น เป็นสิ่งที่ทำให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรทุกสิ่งทุกอย่างชัดเจน การประพาสต้นเพื่อสอดส่องทุกข์สุขของราษฎรนี้มิได้มีหมายกำหนดการ บางคราวทรงปลอมแปลงพระองค์เป็นสามัญชนเข้าไปปะปนกับราษฎร เพื่อที่จะได้ประจักษ์ในความเป็นอยู่ของราษฎรของพระองค์อย่างใกล้ชิดทำให้พระองค์ได้พบความจริงต่างๆ และทรงนำไปแก้ไขในทุกๆ เรื่อง เพื่อประโยชน์สุขแห่งราษฎรสยาม                          การเสด็จประพาสต้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ เสด็จสมุทรสาคร ดำเนินสะดวก ราชบุรี, สมุทรสงคราม ฯลฯ  การเสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒          เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๙ ระหว่างวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ถึง ๒๙ สิงหาคม ๒๔๔๙ ...โดยเสด็จออกจากสวนดุสิต ลงเรือที่ตำหนักแพวังหน้าโดยเสด็จผ่านเมืองนครสวรรค์ขาขึ้นในวันที่ ๑๑-๑๘ สิงหาคม ๒๔๔๙ ซึ่งการเสด็จฯ เมืองนครสวรรค์ครั้งนี้มีความสำคัญยิ่งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของจังหวัดนครสวรรค์มาก และสามารถค้นคว้าหาภาพถ่ายมาประกอบเรื่องได้ ด้วยขณะนั้นพระองค์ทรงโปรดการถ่ายรูปเจ้าพระยายมราช การเสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๓          ร.ศ. ๑๒๘ ( พ.ศ.๒๔๕๑ ) ...เสด็จโดยทางรถไฟจนถึงเมืองนครสวรรค์ แล้วทรงเรือพระที่นั่งล่องน้ำลงมาเข้าปากน้ำมะขามเฒ่าประพาสทางลำน้ำเมืองสุพรรณบุรี รัชกาลที่ ๕ ทรงเสด็จทั่วประเทศถึง ๔๔ จังหวัด รวมทั้งสิ้น ๑๐ เส้นทาง ได้แก่ การเสด็จประพาสต้น ร.ศ.๑๒๓, ประพาสต้น ร.ศ.๑๒๕ พระบรมราชโองการสำรวจลำน้ำมะขามเฒ่า, ร.ศ.๑๒๗ ประพาสมณฑลอยุธยา, ร.ศ.๙๗ ประพาสชายฝั่งทะเลตะวันออก, ร.ศ.๙๕, ร.ศ.๑๐๑, ร.ศ.๑๐๒, ร.ศ.๑๐๓ ประพาสไทรโยค, ร.ศ.๙๖, ร.ศ.๑๐๗ ประพาสแหลมมาลายู, ร.ศ.๑๐๘, ร.ศ.๑๐๙, ร.ศ.๑๒๐ ประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ, ร.ศ.๑๒๐ ประพาสมณฑลปราจีน, ร.ศ.๑๒๘ และมีวัดที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมากถึง ๑๗๑ แห่ง

15. นางสาว กานต์สินี   พรมโวหาร เลขที่ 5  นางสาว เจียระไน   เครือโชติ  เลขที่ 15