เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษา

241208-2559 Sec 4 INNOVATION AND INFORMATION TECHNOLOGY FOR LEARNING นายยุทธพิชัย ข่าทิพย์พาที 583050108-4 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษา by Mind Map: เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษา

1. ความหมาย

1.1. “เทคโนโลยี” หมายถึง การนำแนวคิด หลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ ตลอดจนผลิตผลทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบงานนั้นๆ ให้ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนเพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน เช่น การเกษตร การแพทย์ อุตสาหกรรม ธุรกิจ และความมั่นคงของประเทศ ต่างก็นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาขาวิชาชีพของตนอย่างเต็มที่

1.1.1. ลักษณะของเทคโนโลยี

1.1.1.1. 1. เทคโนโลยีในลักษณะกระบวนการ (process) เป็นการใช้วิทยาศาสตร์และความรู้ต่างๆที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่ผลในการปฏิบัติ

1.1.1.2. 2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุหรืออุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้การะบวนการทางเทคโนโลยี

1.1.1.3. 3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น เทคโนโลยีช่วยให้ระบบการรับส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เป็นผลมาจากความก้าวหน้าของอุปกรณ์เพื่อการรับส่งข้อมูล

1.2. เทคโนโลยีการศึกษา หมาย ถึง การประยุกต์ใช้สหวิทยาอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้แนวคิด เครื่องมือ เทคนิคและวิธีกาต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามจุดมุ่งหมาย

1.2.1. ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา

1.2.1.1. 1. สามารถทำให้มีการเรียนการสอน การศึกษามีความหมายมากขึ้น ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น เรียนได้เร็วขึ้น เข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ครูมีเวลาให้แก่นักเรียนมากขึ้น

1.2.1.2. 2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบ

1.2.1.3. 3. สามารถทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีทางวิทยาศาสตร์ ค้นพบวิธีใหม่ๆ และสมเหตุสมผลตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม

1.3. นวัตกรรมการศึกษา หมาย ถึง ความคิดหรือวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่ได้ผ่านการพิสูจน์ ทดลอง จนเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ นำมาใช้ส่งเสริม ปรับปรุงระบบทางการศึกษาให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

1.3.1. ข้อสังเกตเกี่ยวกับนวัตกรรม

1.3.1.1. 1. เป็นความคิดหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจะนำมาปรับปรุงงานเดิมให้ดีขึ้น

1.3.1.2. 2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยทดลอง นำมาใช้แล้วสามารถแก้ปัญหาได้

1.3.1.3. 3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจน

2. ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา

2.1. การออกแบบ (Design) เป็นขอบข่ายที่แสดงให้เห็นถึงกรอบหรือโครงร่างที่แสดง         ความเชื่อมโยงระหว่างหลักการและทฤษฎีพื้นฐานต่างๆ ที่จะนาไปสร้างและพัฒนางาน ทางด้านเทคโนโลยีและสื่อการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม ในการออกแบบ                     งานทางเทคโนโลยีการศึกษามี 4 ด้าน คือ การออกแบบระบบการสอน การออกแบบสารกลยุทธ์การสอน และคุณลักษณะของผู้เรียน

2.1.1. การออกแบบระบบการสอน เป็นการกำหนดระบบการสอนทั้งหมด รวมทั้งการจัดระเบียบของกระบวนการ ขั้นตอน ที่หลอมรวมทั้งขั้นการวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้และการประเมินการเรียนการสอน

2.1.2. การออกแบบสาร เป็นการวางแผนสาหรับจัดกระทากับสารในทางกายภาพ ที่จะให้ผู้เรียนรับรู้ ใส่ใจ และเรียกสารกลับมาใช้ได้เมื่อต้องการ

2.1.3. กลยุทธ์การสอน เป็นการระบุการเลือก และลาดับเหตุการณ์ ตลอดจนกิจกรรมการเรียนรู้สาหรับบทเรียน

2.1.4. คุณลักษณะของผู้เรียน เป็นสิ่งสาคัญในการออกแบบที่ต้องคานึงถึงพื้นฐานประสบการณ์เดิมของผู้เรียน ความแตกต่างของผู้เรียน เช่น เพศ อายุ รูปแบบการเรียน ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการออกแบบ

2.2. การพัฒนา (Development) เป็นขอบข่ายของการสร้างผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของสื่อต่างๆ           โดยนำพื้นฐานที่ได้ออกมาพัฒนาเป็นสื่อที่อาศัยคุณลักษณะของสื่อต่างๆ คือ                       เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ เทคโนโลยีด้านโสตทัศน์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีบูรณาการ

2.2.1. เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ เป็นแนวทางในการผลิตหรือขนส่งเนื้อหาไปยังผู้เรียน เช่น หนังสือ และภาพนิ่งต่างๆ

2.2.2. เทคโนโลยีด้านโสตทัศน์ เป็นแนวทางในการผลิตหรือขนส่งเนื้อหาไปยังผู้เรียนโดยใช้เครื่องมือกลไกอิเล็กทรอนิกส์ในการนาเสนอสารทั้งเสียงและภาพ เช่น วีดิทัศน์ โทรทัศน์ ภาพยนตร์

2.2.3. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เป็นแนวทางในการผลิตหรือขนส่งเนื้อหาไปยังผู้เรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นฐาน ที่มีการนาคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน

2.2.4. เทคโนโลยีบูรณาการ เป็นแนวทางในการผลิตหรือขนส่งเนื้อหาไปยังผู้เรียนโดยใช้คุณลักษณะของสื่อหลายชนิดภายใต้การควบคุมโดยคอมพิวเตอร์

2.3. การใช้ (Utilization) เป็นขอบข่ายที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการนาสื่อที่พัฒนาแล้วไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องคาถึงถึงความง่ายในการใช้งานระหว่างผู้เรียนและสื่อการเรียนการสอน หรือระบบที่เกี่ยวข้อง

2.4. การจัดการ (Management) เป็นขอบข่ายหลักสาคัญของสาขาเทคโนโลยีการศึกษา เพราะจะต้องเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแหล่งการเรียนรู้ ที่จะต้องนาไปสนับสนุนในทุกๆขอบข่าย

2.5. การประเมิน (Evaluation) ขอบข่ายด้านนี้จะเกี่ยวข้องกับการประเมินเพื่อปรับปรุง (Formative Evaluation)         ในการประเมินนั้นจะมุ่งเน้นการประเมินทั้งกระบวนการและผลิตภัณฑ์เพื่อแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพ ตลอดทั้งคุณภาพของสื่อที่ออกแบบขึ้นมา

3. ความเป็นมาและการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา

3.1. รากฐานของเทคโนโลยีการศึกษามีประวัติมายาวนานโดยเริ่มจากสมัยกรีก กลุ่มโซฟิสต์ (Sophist) เป็นกลุ่มครูผู้สอนชาวกรีก ได้ออกทาการสอนความรู้ต่างๆให้กับชนรุ่นเยาว์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีความฉลาดปราดเปรื่อง ในการอภิปราย โต้แย้ง ถกปัญหา จนได้รับการขนานนามว่า เป็นนักเทคโนโลยีการศึกษากลุ่มแรก

3.2. บุคคลที่สาคัญอีกท่านหนึ่ง คือ โจฮัน อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos Comenius ค.ศ. 1592-1670) เป็นผู้ที่ใช้วัสดุ สิ่งของที่เป็นของจริงและรูปภาพ เข้ามาช่วยในการสอนอย่างจริงจัง รวมทั้งแนวคิดในเรื่องวิธีการสอนใหม่ที่ให้ความสาคัญต่อการใช้วัสดุ ของจริงมาใช้ในการสอน ตลอดจนการรวบรวมหลักการสอนจากประสบการณ์ที่ทาการสอนมา 40 ปี นอกจากนี้ได้แต่งหนังสือที่สาคัญอีกมากมายและที่สาคัญ คือ Obis Sensualium Pictus หรือที่เรียกว่า โลกในรูปภาพ ซึ่งเป็นหนังสือที่มีภาพประกอบบทเรียนต่างๆ ผลงานของคอมินิอุส ได้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาตลอดมา จนได้รับการขนานนามว่า เป็น “บิดาแห่งโสตทัศนศึกษา

3.3. ต่อมาได้มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาซึ่งสามารถจาแนกออกเป็นด้านต่างๆ ในที่นี้จะกล่าวเกี่ยวกับพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ในส่วนประกอบหลักที่สาคัญ ได้แก่ ด้านการออกแบบการสอน ด้านสื่อการสอน และด้านคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

4. บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา

4.1. เทคโนโลยีและสื่อการศึกษาเป็นสิ่งที่บุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูจาเป็นจะต้องใช้เพื่อการสอนและสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning process) ดังนั้นครูจาเป็นต้องมีความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาในโรงเรียน ตั้งแต่การออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการและการประเมิน ภายใต้กระแสความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะก้าวไปอย่างไม่มีวันหยุด ส่งผลให้วิถีชีวิตจะต้องใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นเพื่อสร้างประโยชน์และสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง

5. จัดทำโดย

5.1. นายยุทธพิชัย ข่าทิพย์พาที 583050108-4 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

6. ภารกิจ Concept map บทที่ 1 (งานเดี่ยว)

6.1. ให้นักศึกษาสรุป concept map บทที่ 1 ในรูปแบบ ppt หรือรูปภาพ หรือโปรแกรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง งานเดี่ยว

7. 241208 : INNOVATION AND INFORMATION TECHNOLOGY FOR LEARNING