1. การเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าทางการศึกษา
1.1. แนวคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับการเรียนและการสอน
1.1.1. ถ้าย้อนคิดถึงห้องเรียนแบบเก่าโดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นห้องที่ประกอบด้วย โต๊ะเรียนและเก้าอี้เรียงเป็นแถว การเรียนการสอนจะมีครูยืนอยู่หน้าชั้นเรียน และ ถ่ายทอดเนื้อหา ในขณะที่ผู้เรียนนั่งฟังและรอรับความรู้จากครู
1.1.2. แนวความคิดนี้ครูจะเป็นผู้ที่ดาเนินการ กำกับควบคุมวางแผน ดาเนินการและประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียน ซึ่งน่าจะเป็นการสอนที่ผู้เรียนไม่สามารถคิดเกินกว่าข้อมูลที่ครูจัดให้ ในบางครั้งอาจเป็นการเรียนโดย "เน้นทักษะการจดจา” ท่องจาอย่างเดียวเท่านั้น
1.2. แนวคิดใหม่เกี่ยวกับการเรียนและการสอน
1.2.1. ในปัจจุบันกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้เข้ามามีอิทธิพล ต่อการดาเนินชีวิตของมนุษย์เราอย่างมาก และจะทวีความสาคัญยิ่งขึ้น "การศึกษาจึงต้องเป็นพลวัตร" นั่นคือ ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันและสอดคล้องกับ กระแสการเปลี่ยนแปลงของชาติและสังคมโลกอยู่ตลอดเวลา
1.2.2. การพัฒนาความเป็นมนุษย์ในทุกๆ ด้าน ไม่ใช่เฉพาะในแง่ความรู้ และทักษะทางวิชาชีพเท่านั้น แต่เราต้องจัดการศึกษาที่ให้ทั้งความรู้พื้นฐานที่จะเป็นบันไดในการศึกษาวิชาอื่นๆ และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ นั่นก็คือ เราควรต้องคานึงถึงการเตรียมมนุษย์ให้มีคุณภาพอย่างรอบด้าน ให้คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถศึกษาด้วยตนเองได้
2. การเปลี่ยนแปลงมาสู่การเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
2.1. บทบาทเดิม
2.1.1. เป็นผู้รอรับสารสนเทศจากครูอย่างเฉื่อยชา
2.1.2. เป็นผู้คัดลอกหรือจดจาความรู้
2.1.3. เป็นกิจกรรมการเรียนรู้รายบุคคล
2.2. บทบาทที่เปลี่ยนแปลง
2.2.1. เป็นผู้ร่วมเรียนรู้อย่างตื่นตัวในกระบวนการเรียนรู้
2.2.2. เป็นผู้สร้างและแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกับเพื่อนชั้นแบบผู้เชี่ยวชาญ
2.2.3. เป็นการร่วมมือกันเรียนรู้กับผู้เรียนอื่นๆ