การจัดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การจัดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ by Mind Map: การจัดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1. ชุมชนเพื่อการติดต่อสื่อสาร

1.1. หมายถึง   แหล่งหรือสถานที่นัดพบสำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติ ข้อคิดเห็น และข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งเครื่องมือที่สนับสนุนบริการเหล่านี้ เช่น อีเมล์ (E-mail) กระดานข่าว (Webboard) และห้องสนทนา (Chat Room) ชุมชนเพื่อการติดต่อสื่อสารจึงเป็นอีกหนึ่งบริการที่ควรจัดเตรียมไว้ให้กับลูกค้าด้วย

1.2. ตัวอย่างการออกแบบารติดต่อสื่อสาร          -จัดวางตำแหน่งของเครื่องมือให้สังเกตเห็นได้ชัดเจน เช่น วางไว้ในแถบเชื่อมโยงส่วนบนของเว็บเพจ เป็นต้น        -จัดกลุ่มหัวข้อสนทนาเพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ง่ายขึ้น          -จัดวางตำแหน่งของเครื่องมือให้สังเกตเห็นได้ชัดเจน เช่น วางไว้ในแถบเชื่อมโยงส่วนบนของเว็บเพจ เป็นต้น

2. รูปลักษณ์

2.1. หมายถึง โครงร่างของการจัดวางองค์ประกอบบนหน้าเว็บที่ช่วยสื่อความหมายให้ง่ายต่อการรับรู้และการใช้งานเครื่องมือบนหน้าเว็บเพื่อท่องไปในเว็บไซต์  ซึ่งโดยทั่วไปการออกแบบรูปลักษณ์ไม่มีเทคนิคที่ตายตัว  ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และเครื่องมือที่นักพัฒนาเว็บเลือกใช้ด้วย

2.2. ตัวอย่างการออกแบบรูปลักษณ์   - ส่วนหัวของเว็บเพจ  (Page Header)  ควรประกอบด้วยชื่อของเว็บไซต์  เมนูรายการเชื่อมโยง  (Navigation Bar)  และแบนเนอร์โฆษณา  (Banner)  โดยต้องระบุชื่อหรือสัญลักษณ์ขององค์กรทุกครั้งที่เปิดหน้าเว็บขึ้นมาใหม่  เพื่อให้ผู้ชมเว็บไซต์ทราบอยู่เสมอว่ากำลังชมเว็บใดอยู่

3. เนื้อหา

3.1. หมายถึง    ข้อมูลที่จะนำเสนอบนเว็บ โดยอาจอยู่รูปของข้อความ (Text) รูปภาพ (Picture) หรือมัลติมีเดีย (Multimedia) ที่เป็นสื่อผสมทั้งภาพและเสียงก็ได้  เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ อันจะทำให้ผู้ชมไม่รู้สึกเบื่อหน่ายในการรับชมข้อมูล

3.2. ตัวอย่างการออกแบบเนื้อหา        -ควรมีการจัดวางข้อมูลที่ดี อ่านง่าย ชัดเจน และสะดวกต่อการเลือกชม       -มีรายละเอียดของสินค้าและบริการครบถ้วน นอกจากนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องถูกปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอด้วย       -เลือกใช้สื่อในการนำเสนอให้เหมาะกับลักษณะของข้อมูล เช่น ใช้คลิปวิดีโอ (Clip Video) สำหรับนำเสนอตัวอย่างภาพยนตร์ หรือใช้รูปภาพสำหรับนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยว

4. การปรับแต่ง

4.1. หมายถึง เทคนิคที่ช่วยผู้ใช้ให้สามารถปรับแต่งการใช้งานเว็บไซต์ได้ตามที่ต้องการ ซึ่งการปรับแต่งอาจทำได้หลายลักษณะ ได้แก่ การปรับแต่งรูปแบบการนำเสนอ (เช่น ขนาดตัวอักษร สีพื้นหลัง สีตัวอักษร และภาษา) การปรับแต่งข้อมูลบริการและการปรับแต่งคุณลักษณะของสินค้า

4.2. ตัวอย่างการออกแบบเครื่องมือปรับแต่ง    -สร้างเครื่องมือเพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้าสามารถรับชมสินค้าขององค์กร หรือเลือกออกแบบสินค้าเองก็ได้   -ออกแบบเครื่องมือให้ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก พัฒนาเครื่องมือและบริการใหม่ ๆ ที่น่าสนใจมานำเสนอต่อลูกค้าเสมอ ตรวจสอบการแสดงผลของเครื่องมือปรับแต่ง เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถใช้งานได้จริง และให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

5. การติดต่อสื่อสาร

5.1. หมายถึง การสร้างช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการในเว็บไซต์กับผู้ประกอบการหรือองค์กรของเรา ซึ่งช่องทางในการติดต่อสื่อสารของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อาจทำผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ PDA หรือ Pocket PC เป็นต้น

5.2. ตัวอย่างการออกแบบเพื่อการติดต่อสื่อสาร เช่น จัดเตรียมเครื่องมือที่ใช้สำหรับให้บริการติดต่อสื่อสารบนเว็บไว้อย่างครบครัน เช่น อีเมล์ (E-Mail) ระบบแจ้งข่าวสาร (E-News) ระบบถามตอบ (FAQ’s) หรือห้องสนทนา (Chat Room) เป็นต้น จัดหาช่องทางอื่นที่สามารถติดต่อสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านบริการ WAP (Wireless Application Protocol) ไปยังอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

5.3. ตัวอย่างกลยุทธ์ที่กล่าวสามารถจำแนกเครื่องมือและวิธีการติดต่อสื่อสารออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ (1)การติดต่อจากเว็บไซต์ไปยังลูกค้า (Site-to-User) เป็นการแจ้งข้อมูลข่าวสารผ่านทางเว็บไซต์ไปยังลูกค้า โดยใช้เครื่องมือ เช่น อีเมล์ ระบบแจ้งข่าวสารอัตโนมัติ และบันทึกช่วยจำ  (2)การติดต่อจากลูกค้าไปยังเว็บไซต์ (User-to-Site) เป็นการแจ้งข้อมูลข่าวสารจากผู้ใช้ไปยังเจ้าของเว็บไซต์ (หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง)โดยใช้เครื่องมือ เช่น ระบบติดต่อ แสดงความคิดเห็น การโหวต และสมุดเยี่ยม

6. การเชื่อมต่อเว็บไซต์

6.1. หมายถึง   การติดต่อสื่อสารไปยังเว็บไซต์ปลายทางที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ประกอบการที่เป็นคู่ค้าด้วยกัน ตลอดจนเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าหรือผู้เยี่ยมชมในการเข้าถึงข้อมูลปลายทางที่สนใจได้โดยตรงอีกด้วย ดังนั้น การออกแบบเว็บพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จึงควรมีฟังก์ชันการทำงานส่วนนี้ด้วย

6.2. ตัวอย่างการออกแบบส่วนการเชื่อมโยง  -ไม่ควรใช้สีข้อความเชื่อมโยงที่หลากหลาย เพราะอาจทำให้ผู้ชมเกิดความสับสนว่าเว็บไซต์ใดได้เปิดรับชมไปแล้ว -อาจออกแบบโดยให้แสดงเป็นหน้าต่างเว็บบราวเซอร์ขึ้นมาใหม่ เพื่อไม่ให้ลูกค้าละทิ้งเว็บไซต์ของบริษัท

7. การทำธุรกรรม

7.1. หมายถึง  ขั้นตอนการทำรายการสั่งซื้อสินค้า  สำหรับเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว การทำธุรกรรมนับเป็นหัวใจสำคัญของระบบ ซึ่งต้องประกอบด้วยการอธิบายรายละเอียดของวิธีการสั่งซื้อสินค้า เงื่อนไข และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการเกิดข้อผิดพลาด อันเนื่องมาจากลูกค้าไม่เข้าใจวิธีการสั่งซื้อสินค้า และเงื่อนไขที่บริษัทกำหนดไว้

7.2. ขั้นตอนการทำธุรกรรมของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์                                                                               1. การหาข้อมูลและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ (Searching & Advertising) วัตถุประสงค์เบื้องต้นในการทำเว็บไซต์ก็คือการให้ข้อมูลข่าวสาร ที่ต้องการสื่อสารไปยังผู้รับสาร 2. การทำธุรกรรม (Transaction) จะเริ่มต้องแต่การทำคำสั่งซื้อ การชำระเงินค่าสินค้า ไปจนการจัดส่งสินค้า 3. การทำคำสั่งซื้อ (Ordering) เมื่อได้ข้อมูลเพียงพอและต้องการจะทำการซื้อสินค้าหรือจะทำธุรกรรมกันแล้ว ในฝั่งผู้ขายต้องมีระบบที่มีประสิทธิภาพรองรับอยู่ ไม่ว่าจะเป็นระบบตะกร้าสินค้า(Shopping Carts) ที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ เช่นแสดงรายละเอียดที่ดูได้ง่ายว่าได้ทำการเลือกสินค้าใด ๆไว้บ้างแล้วในตะกร้า รวมแล้วค่าสินค้าเป็นเท่าไร ภาษีค่าจัดส่งต่างๆ 4. ระบบการชำระเงิน (Payment Systems) ขั้นตอนที่สำคัญสำหรับทั้งฝั่งผู้ขายและผู้ซื้อสินค้า ในเรื่องการชำระเงินควรมีวิธีการให้ลูกค้าสามารถใช้บริการให้มากที่สุดที่สะดวกกับทั้งทางผู้ค้าและลูกค้า 5. การจัดส่งสินค้า