วิทยาศาสตร์ทางทะเล

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
วิทยาศาสตร์ทางทะเล by Mind Map: วิทยาศาสตร์ทางทะเล

1. สึนามิ

1.1. เป็นคลื่นที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว  แต่คลื่นผิวน้ำที่เรารู้จักกันทั่วไปเกิดจากแรงลมพัด พลังงานจลน์จากอากาศถูกถ่ายทอดสู่ผิวน้ำทำให้เกิดคลื่น ขนาดของคลื่นจึงขึ้นอยู่กับความเร็วลม หากสภาพอากาศไม่ดีมีลมพายุพัด คลื่นก็จะมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย ในสภาพปกติคลื่นในมหาสมุทรจะมีความสูงประมาณ 1 - 3 เมตร แต่คลื่นสึนามิเป็นคลื่นยักษ์มีขนาดใหญ่กว่าคลื่นผิวน้ำหลายสิบเท่า พลังงานจลน์จากแผ่นดินไหวใต้มหาสมุทรถูกถ่ายทอดจากใต้เปลือกโลกถูกถ่ายทอดขึ้นสู่ผิวน้ำ แล้วขยายตัวทุกทิศทุกทางเข้าสู่ชายฝั่ง  คำว่า “สึ” เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่าท่าเรือ   "นามิ" แปลว่าคลื่น ที่เรียกเช่นนี้เป็นเพราะ ชาวประมงญี่ปุ่นออกไปหาปลา พอกลับมาก็เห็นคลื่นขนาดยักษ์พัดทำลายชายฝั่งพังพินาศ

1.2. จุดกำเนิดคลื่นสึนามิ

1.2.1. คลื่นสึนามิมีจุดกำเนิดจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหวบริเวณเขตมุดตัว (Subduction zone) ซึ่งอยู่บริเวณรอยต่อของแผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน (Convergent plate boundary) เมื่อแผ่นธรณีมหาสมุทรเคลื่อนปะทะกัน หรือชนเข้ากับแผ่นธรณีทวีป แผ่นมหาสมุทรซึ่งมีความหนาแน่นจะจมตัวลงสู่ชั้นฐานธรณีภาค ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงที่ระดับลึก

1.2.2. เมื่อเปลือกโลกใต้มหาสมุทร ยุบตัวลงเป็นร่องลึกก้นสมุทร (Oceanic trench) น้ำทะเลที่อยู่ด้านบนก็จะไหลยุบตามลงไปด้วยดังภาพที่ 2 น้ำทะเลในบริเวณข้างเคียงมีระดับสูงกว่า จะไหลเข้ามาแทนที่แล้วปะทะกัน ทำให้เกิดคลื่นสะท้อนกลับในทุกทิศทุกทาง (เหมือนกับการที่เราขว้างก้อนหินลงน้ำ)

1.3. สาเหตุของการเกิดสึนามิ

1.3.1. 1.การระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟใกล้ทะเล

1.3.2. 2.การเกิดแผ่นดินเลื่อนถล่มใต้ทะเล หรือใกล้ฝั่ง

1.3.3. 3.การเกิดจากก้อนหินตกลงในอ่าวหรือมหาสมุทร

1.3.4. 4. การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกด้วยแรงเทคโทนิคจากแผ่นดินไหว เกิดจากเปลือกโลกถูกดันขึ้นหรือยุบตัวลง ทำให้มีน้ำทะเลปริมาตรมหาศาลถูกดันขึ้น หรือทรุดตัวลง อย่างฉับพลัน พลังงานมหาศาลจะถ่ายเทไปเกิดการเคลื่อนตัวของน้ำทะเลเป็นคลื่นยักษ์ที่เหนือทะเลลึก

1.3.5. 5.การเกิดระเบิดใหญ่ใต้น้ำจากนิวเคลียร์

2. ปรากฏการณ์ เอลนิโญ่

2.1. เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจากการที่กระแสน้ำอุ่นพัดมาแทนที่กระแสน้ำเย็นใน บริเวณเส้นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก(บริเวณชายฝั่งเอกวาดอร์ เปรูและชิลีตอนเหนือ)ทำให้กระแสน้ำเย็นด้านล่างไม่สามารถหมุนวนขึ้นมาที่ บริเวณพื้นผิวทะเลได้อุณหภูมิผิวน้ำทะเลจึงสูงขึ้นทำให้อากาศเหนือบริเวณดัง กล่าวลอยตัวขึ้นและกลั่นตัวเป็นเมฆฝนบริเวณชายฝั่งเอกวาดอร์เปรูและชิลีตอน เหนือ จึงชุ่มชื้นเพราะมีพายุและฝนตกมาก

2.2. ผลกระทบจากปรากฎการณ์ เอลนิโญ่

2.2.1. ทำให้ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกเกิดสภาวะแห้งแล้ง

3. น้ำเกิด น้ำตาย

3.1. ปรากฏการณ์น้ำขึ้น มากกว่าปกติ และน้ำลงมากว่าปกติ

3.2. เกิดจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก อยู่ในแนวตรงกัน

3.3. ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก อยู่ในแนวตรงกันทำให้ วันขึ้น 15 ค่ำและวันแรม 15 ค่ำ น้ำขึ้นมากกว่าปกติ จึงเรียกว่า น้ำเกิด

3.4. วันขึน 7-8 ค่ำ และวันแรม 7-8 คํ่า ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อยู่แนวตัง ฉากกับโลก น้ำจะขึน น้อยกว่าปกติ เรียกว่า น้ำตาย

4. น้ำหนุน

4.1. เป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์ "น้ำขึ้น น้ำลง"

4.2. เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำที่มีทั้งน้ำขึ้นคือ ระดับน้ำจะสูงขึ้น ในทางตรงกันน้ำลงก็คือระดับน้ำต่ำลง น้ำทะเลหนุนสูงจึงเป็นขาน้ำขึ้นที่ขึ้นจนถึงระดับสูงที่สุด

4.3. สาเหตุของการเกิดน้ำทะเลหนุน

4.3.1. เกิดจากพื้นที่ ที่เป็นที่ราบลุ่มตามบริเวณสองฝั่งแม่น้ำที่อยู่ห่างจากปากอ่าวหรือทะเลไม่ไกลนัก ระดับน้ำในแม่น้ำบริเวณนั้นมักจะอยู่ในอิทธิพลน้ำขึ้น-น้ำลงอันเนื่องมาจากระดับน้ำทะเลหนุนตลอดเวลา

4.3.2. เมื่อน้ำที่ไหลหลากลงมาตามแม่น้ำคราวใดมีปริมาณมากและตรงกับฤดูกาลหรือช่วงเวลาที่ระดับน้ำทะเลหนุนสูงเกินกว่าปกติ ก็จะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมและอุทกภัยแก่พื้นที่ทำการเกษตร และในเขตที่อยู่อาศัยอย่างรุนแรงเสมอมา