การช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ CPR ให้ผู้ป่วย
by กิติยา แซ่ก๋ง
1. หมายถึง การช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้มีการหายใจและการไหลเวียนกลับคืนสู่สภาพเดิม ป้องกันเนื้อเยื่อได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวร ซึ่งสามารถทำได้โดยการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic life support) ได้แก่ การผายปอด และการนวดหัวใจภายนอก
2. ขั้นตอนการCPR
2.1. 1. A : Airway หมายถึง การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ซึ่งเป็นการปฏิบัติการขั้นแรก ที่ต้องทำอย่างรวดเร็ว เพราะเนื่องจากโคนลิ้นและกล่องเสียงมีการตกลงไปอุดทางเดินหายใจส่วนบนในผู้ป่วยที่หมดสติ ดังนั้นจึงต้องมีการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง โดยการดัดคางขึ้นร่วมกับการกดหน้าผากให้หน้าแหงนเรียกว่า "head tilt chin lift"
2.2. 2. B : Breathing คือ การช่วยหายใจ เนื่องจากการหายใจหยุด ร่างกายจะมีออกซิเจนคงอยู่ในปอดและกระแสเลือด แต่ไม่มีสำรองไว้ใช้ดังนั้น เมื่อหยุดหายใจ จึงต้องช่วยหายใจ เป็นวิธีที่จะช่วยให้ออกซิเจนเข้าสู่ปอดผู้ป่วยได้ ซึ่งออกซิเจนที่เป่าออกไปนั้นมีออกซิเจนประมาณ 16-17 % ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ในร่างกาย สามารถทำได้หลายวิธี คือ ด้วยการเป่าปาก (mouth to mouth) เป่าจมูก (mouth to nose) และวิธีการกดหลังยกแขนของโฮลเกอร์ - นิลสัน (back pressure arm lift or Holger - Nielson method
2.3. 3. C : Circulation คือการนวดหัวใจภายนอก ทำในรายที่ประเมินภาวะหัวใจหยุดเต้น โดยการจับชีพที่ carotid artery แล้วไม่พบว่ามีการเต้นของชีพจร ก็จะช่วยให้มีการไหลเวียนของเลือดโดยการกดนวดหัวใจภายนอก (cardiac massage) โดยมีหลักการคือ กดให้กระดูกหน้าอก (sternum) ลงไปชิดกับกระดูกสันหลัง ซึ่งจะทำให้หัวใจที่อยู่ระหว่างกระดูกทั้งสองอัน ถูกกดไปด้วย ทำให้มีการบีบเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกาย เสมือนการบีบตัวของหัวใจ
3. วัตถุประสงค์ของการช่วยฟื้นคืนชีพ
3.1. 1. เพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกายและเนื้อเยื่อ เพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกายและเนื้อเยื่อ
3.2. 2. ป้องกันสมองตายโดยการทำให้โลหิตไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ ป้องกันสมองตายโดยการทำให้โลหิตไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ
3.3. 3. คงไว้ซึ่งการไหลเวียนของโลหิตในขณะหัวใจหยุดเต้น เพื่อนำออกซิเจนไปสู่สมอง หัวใจและเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย คงไว้ซึ่งการไหลเวียนของโลหิตในขณะหัวใจหยุดเต้น เพื่อนำออกซิเจนไปสู่สมอง หัวใจและเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
3.4. 4. ดูแลผู้ป่วยให้กลับสู่สภาวะปกติ หลังจากที่หัวใจกลับเต้นใหม่แล้ว ดูแลผู้ป่วยให้กลับสู่สภาวะปกติ หลังจากที่หัวใจกลับเต้นใหม่แล้ว
4. อันตรายของการทำ CPR ไม่ถูกวิธี
4.1. 1วางมือผิดตำแหน่ง ทำให้ซี่โครงหัก , xiphoid หัก , กระดูกที่หักทิ่มโดนอวัยวะสำคัญ เช่น ตับ ม้าม เกิดการตกเลือดถึงตายได้
4.2. 2การกดด้วยอัตราเร็วเกินไป เบาไป ถอนแรงหลังกดไม่หมด ทำให้ปริมาณเลือดไปถึงอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญได้น้อย ทำให้ขาดออกซิเจน
4.3. 3การกดแรงและเร็วมากเกินไป ทำให้กระดูกหน้าอกกระดอนขึ้น ลงอย่างรวดเร็ว หัวใจช้ำเลือดหรือกระดูกหักได้
4.4. 4การกดหน้าอกลึกเกินไป ทำให้หัวใจชอกช้ำได้
4.5. 5การเปิดทางเดินหายใจไม่เต็มที่ เป่าลมมากเกินไป ทำให้ลมเข้ากระเพาะอาหาร เกิดท้องอืด อาเจียน ลมเข้าปอดไม่สะดวก ปอดขยายตัวไม่เต็มที่ ถ้ามีอาการอาเจียนเกิดขึ้นก่อน หรือ ระหว่างการทำ CPR ต้องล้วงเอาเศษอาหารออกก่อน มิฉะนั้นจะเป็นสาเหตุของ การอุดตันของทางเดินหายใจ (airway obstruction) การช่วยหายใจไม่ได้ผล เกิดการขาดออกซิเจน ถ้ามีอาการท้องอืดขึ้น ระหว่างการทำ CPR ให้จัดท่าเปิดทางเดินหายใจใหม่ และช่วยการหายใจด้วยปริมาณลมที่ไม่มากเกินไป