Unlock the full potential of your projects.
Try MeisterTask for free.
Don't have an account?
Sign Up for Free
Browse
Featured Maps
Categories
Project Management
Business & Goals
Human Resources
Brainstorming & Analysis
Marketing & Content
Education & Notes
Entertainment
Life
Technology
Design
Summaries
Other
Languages
English
Deutsch
Français
Español
Português
Nederlands
Dansk
Русский
日本語
Italiano
简体中文
한국어
Other
Show full map
Copy and edit map
Copy
กระบวนการสื่อสารการตลาด
Other
Mild Maneewan
Follow
Create a Competitive Analysis / SWOT to position your company in the market
Get Started.
It's Free
Sign up with Google
or
sign up
with your email address
Similar Mind Maps
Mind Map Outline
กระบวนการสื่อสารการตลาด
by
Mild Maneewan
1. กระบวนการสื่อสารการตลาด ดังได้กล่าวไว้ว่า การสื่อสารการตลาดเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างผู้ขายหรือผู้ผลิตกับผู้บริโภคเพื่อทำให้ทั้งคู่มีความเข้าใจร่วมกัน อันจะส่งผลการตอบสนองที่พึงพอใจแก่ทั้งสองฝ่าย ซึ่งปัจจัยที่ประกอบกันเป็นการสื่อสารการตลาด คือ การสื่อสารและการตลาดซึ่งจัดเป็นกระบวนการที่มีขั้นมีตอน มีลำดับที่ชัดเจน ดังนั้น การสื่อสารการตลาดจึงเป็นกระบวนการที่ผสมผสานกระบวนการสื่อสารและกระบวนการการตลาดไว้ด้วยกัน ดังนั้นในเรื่องนี้จึงได้เสนอถึงกระบวนการที่สำคัญ 2 ประเภทและเสนอกระบวนการสื่อสารการตลาดเป็นลำดับ ดังนี้ 1. กระบวนการสื่อสาร 2. กระบวนการการตลาด 3. กระบวนการสื่อสารการตลาด
2. 3. กระบวนการสื่อสารการตลาด
2.1. เป็นกระบวนการที่ผสมผสานกระบวนการสื่อสารกับกระบวนการทางการตลาดเข้าด้วยกัน สามารถแสดงถึงองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสารการตลาด
2.2. 3.1 แหล่งสารหรือผู้ส่งสาร คือ บริษัทหรือผู้ขายหรือผู้ผลิต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทำหน้าที่เข้ารหัสข่าวสารให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการสื่อสารทางการตลาด ได้แก่ การโน้มน้าวให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตลอดจนให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร
2.3. 3.2 กระบวนการการตลาด คือ กระบวนการย่อยที่แหล่งสารหรือผู้ส่งสารดำเนินกิจกรรมทางการตลาด เพื่อใช้เป็นข้อมูลข่าวสารพื้นฐานที่สำคัญในการวางแผนและดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด ซึ่งผลลัพธ์จากขั้นตอนนี้คือ โอกาสและปัญหาทางการตลาด กลุ่มเป้าหมายหรือผู้รับสารหรือผู้บริโภค
2.4. 3.3 ข่าวสารและช่องทางข่าวสาร เป็นการวางแผนและดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับส่วนประสมการตลาด ได้แก่ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ หีบห่อเลือกตราที่สื่อความหมายชัดเจนและเหมาะสมกับประเภทของผลิตภัณฑ์ 2) ด้านราคา เป็นการกำหนดระดับราคา กำหนดความแตกต่างของราคาของกิจการกับคู่แข่งขัน เพื่อให้สื่อความหมายถึงคุณภาพและความยุติธรรมที่ควรจะเป็น 3) ด้านการจัดจำหน่ายและการแจกจ่ายตัวสินค้า เป็นการเลือกคนกลางที่จะทำหน้าที่สื่อความหมายของกิจการและผลิตภัณฑ์ เลือกวิธีการขนส่ง การจัดเก็บการคลังสินค้าที่เหมาะสมฯลฯ 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด เป็นการกำหนดและดำเนินการสื่อความหมายให้ผู้
3. 1. กระบวนการสื่อสาร
3.1. การสื่อสารเป็นกิจกรรมของมนุษย์ที่ใช้เพื่อถ่ายทอดความคิด แลกเปลี่ยนข่าวสาร ความรู้ ประสบการณ์ ค่านิยม ทัศนคติ และอื่น ๆ ร่วมกัน เพื่อทำให้มีความเข้าใจและมีอิทธิพลต่อมนุษย์ด้วยกัน ดังนั้น การสื่อสารจึงจัดเป็นกระบวนการที่จะถ่ายทอดความคิดและข้อมูลต่าง ๆ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน ได้แก่ การให้ความรู้ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ การให้ความบันเทิงการบอกเล่าเหตุการณ์ ฯ เป็นต้น
3.2. 1) แหล่งสารหรือผู้ส่งสาร แหล่งสารอาจเป็นบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มบุคคลที่อาจทำงานร่วมกันเป็นองค์กรโดยทำหน้าที่สื่อสารโดยการพูด เขียน หรือแสดงกิริยาท่าทางให้บุคคลอื่นหรือองค์กรอื่นๆ
3.3. 2) ข่าวสารหรือสาร หมายถึง สิ่งเร้าที่แหล่งสารหรือผู้ส่งสารส่งออกไปยังผู้อื่นๆ หรือองค์กรอื่นๆ มีลักษณะเป็นสัญญาณที่ผู้รับสามารถถอดรหัสและแปลหรือเข้าใจได้ จัดเป็นผลิตผลของแหล่งสารหรือผู้ส่งสารที่ใช้ส่งออกไปตามช่องทางข่าวสารไปยังผู้รับสาร ข่าวสารจะต้องมีเนื้อหาสาระตามวัตถุประสงค์ มีโครงสร้าง ดังนั้นในการสื่อสารผู้ส่งสารหรือแหล่งสารจะต้องเลือกเนื้อหาของสารให้เป็นข่าวสารที่เหมาะสม มีระบบ ระเบียบเพื่อให้ผู้รับเข้าใจได้ง่าย และเข้าใจถูกต้อง
3.4. 3) ช่องทางข่าวสาร เป็นเส้นทางหรือพาหะในการลำเลียงข่าวสาร ซึ่งอาจอยู่ในรูปของคลื่นแสง คลื่นเสียงหรือสื่อในการสื่อสาร เช่น วิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง หนังสือพิมพ์ เป็นต้น
3.5. 4) ผู้รับสารผู้รับสารอาจเป็นบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มบุคคล หรืออาจเป็นองค์กร ผู้รับสารจะทำหน้าที่รับข่าวสารได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยในตัวผู้รับสารอันได้แก่ ทักษะในการสื่อสารซึ่งเป็นความสามารถในการอ่าน ฟัง และแปลความข่าวสารตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร ทัศนคติ ความรู้ และระดับของสังคมและวัฒนธรรมของผู้รับสารเอง
3.6. 5) ผลการสื่อสาร ผลการสื่อสารอาจเป็นไปได้ในทางลบและทางบวกอาจเรียกได้ว่า เป็นความรู้สึก ความคิดเห็นต่อแหล่งสาร ข่าวสาร ช่องทางข่าวสารของผู้รับสาร เช่น การลดราคาผลิตภัณฑ์ในช่วงเทศกาล ทำให้ผู้รับสารหรือผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์นั้นได้เร็วขึ้นกว่าเดิม
3.7. 6) การป้อนกลับหรือการสนองตอบ เป็นการแสดงโต้ตอบต่อสารที่ส่งมา และการโต้ตอบซึ่งกันและกัน ผู้รับสารอาจแสดงออกถึงการโต้แย้งหรืออาจสนับสนุนต่อแหล่งสาร ข่าวสาร ตามผลการสื่อสารที่เกิดขึ้น เพื่อทำให้แหล่งสารหรือผู้รับสารรับรู้ถึงทัศนะของผู้รับสาร การป้อนกลับถือได้ว่าเป็นตัวประเมินผลสำเร็จของกระบวนการสื่อสารในครั้งนั้น ๆ ได้ กล่าวคือ ถ้ากระบวนการสื่อสารครั้งนั้นประสบผลสำเร็จ
4. 2. กระบวนการการตลาด
4.1. กระบวนการการตลาด หมายถึง กระบวนการทางการจัดการในการบ่งชี้ วิเคราะห์ คัดเลือก และเสาะแสวงหาโอกาสทางการตลาด เพื่อที่จะสามารถทำให้ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของผู้ขายหรือผู้ผลิต ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนต่อไปนี้ คือ การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด การแบ่งส่วนตลาดและเลือกตลาดเป้าหมาย การพัฒนากลยุทธ์การตลาด การพัฒนาระบบข้อมูลและบุคลากรเพื่อการควบคุมและสนับสนุนทางการตลาด
4.2. 2.1 การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาดเป็นการที่ผู้บริหารจะต้องศึกษาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่อสาธารณชนที่เรียกว่า ตลาด ซึ่งการวิเคราะห์ในส่วนนี้อาจพิจารณาได้เป็น 4 ลักษณะ คือ โอกาสในการเจาะตลาด โอกาสในการพัฒนาตลาด โอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โอกาสในการขยายด้านอื่นๆ
4.3. 2.2 การแบ่งส่วนตลาดและเลือกตลาดเป้าหมาย จากการวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด เป็นเพียงการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่จะนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดแล้วมีโอกาสประสบผลสำเร็จซึ่งกิจการจะต้องวิเคราะห์ให้ลึกลงไปว่าภายใต้ทรัพยากรและนโยบาย ตลอดจนแผนของกิจการจะสามารถสนองความต้องการลูกค้าใดได้บ้าง จำนวนมากน้อยเพียงไร ย่อมเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของกิจการให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4.4. 2.3 การพัฒนากลยุทธ์การตลาด กลยุทธ์การตลาดถูกกำหนดและพัฒนาเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการตลาดให้ตอบสนองนโยบายของกิจการ และสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งกลยุทธ์การตลาดประกอบด้วย กลยุทธ์ส่วนประสมการตลาด 4 ด้าน คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาด
4.5. 2.4 พัฒนาระบบข้อมูลและบุคลากรเพื่อการควบคุมและสนับสนุนทางการตลาด การจัดการตลาดที่ดีต้องมีระบบงานในการติดตาม สนับสนุนและควบคุมได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้อาจพัฒนาระบบข้อมูลของตนขึ้นเองเพื่อใช้การวางแผนการตลาดและใช้เพื่อการตัดสินใจในกลยุทธ์การตลาดให้เหมาะสม การพัฒนาระบบข้อมูลอาจทำควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรเพื่อสนับสนุนการเสนอขายผลิตภัณฑ์
Get Started. It's free!
Connect with Google
or
Sign Up