วิเคราะห์ปัญหา
by Chatsurang Waikanha
1. ผู้ใช้สอบถามปัญหาเดิม ๆ กับบรรณารักษ์
1.1. ปัญหาหลักอยู่ที่ผู้ใช้ไม่ลองศึกษาวิธีการใช้งานเครื่องมือของห้องสมุดด้วยตนเองก่อน ซึ่งคำแนะนำการใช้มีทั้งในแผ่นพับที่วางไว้แจก และในคู่มือบนเว็บไซต์ของห้องสมุด โอกาสในการแก้ไขปัญหามีอยู่มาก เนื่องจากจะเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระให้กับบรรณารักษ์ได้
1.2. รับทราบปัญหาจากการสอบถามบรรณารักษ์ที่ให้บริการตอบคำถาม
1.3. ผู้ใช้ต้องการตัวช่วยในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ในขณะที่กำลังสืบค้นข้อมูลและทรัพยากรสารสนเทศ
1.4. มี 3 ไอเดียที่คิดได้ คือ 1. จัดทำแผ่นพับวิธีการใช้งานห้องสมุด โดยนำเสนออย่างน่าสนใจ มุ่งให้อ่านแล้วเข้าใจง่ายกว่าแผ่นพับที่มีอยู่เดิม ซึ่งจะใช้ข้อความอธิบายสั้น ๆ อย่างกระชับ เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความสนใจ และเข้าถึงข้อมูลด้วยตนเองมากขึ้น อีกทั้ง หากผู้ใช้ไม่เข้าใจวิธีการใช้จากแผ่นพับข้างต้น ทางห้องสมุดก็ยังมีคู่มือการใช้ ที่อธิบายขั้นตอนต่าง ๆ โดยละเอียดมากขึ้น 2. จัดทำแผ่นพับรวบรวมคำถามที่พบบ่อยในการใช้บริการห้องสมุด โดยภายในแผ่นพับจะมีคำตอบที่ผู้ใช้ส่วนมากต้องการทราบ ซึ่งจะวางไว้ในตำแหน่งที่ผู้ใช้สามารถมองเห็นได้ง่าย เช่น ข้าง ๆ คอมพิวเตอร์ที่ใช้สืบค้น และเคาน์เตอร์บริการตอบคำถาม เป็นต้น 3. จัดทำวิดีโอแนะนำการใช้งานห้องสมุด และคำถามที่พบบ่อย โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงผ่านการสแกน QR CODE ซึ่งจะติดไว้ที่มุมของจอคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้ใช้สืบค้น
2. ห้องศึกษาค้นคว้าไม่เก็บเสียง
2.1. ปัญหาหลักอยู่ที่ห้องศึกษาค้นคว้าเป็นกระจกและมีผนังบาง อีกทั้งยังมีช่องว่างระหว่างผนังห้อง ทำให้เสียงสามารถเล็ดลอดเข้าห้องมาได้ คิดว่าโอกาสในการแก้ปัญหามีอยู่มาก เนื่องจากทางบุคลากรห้องสมุดก็อยากจะแก้ไขปัญหาส่วนนี้ด้วยเช่นกัน
2.2. รับทราบปัญหาจากการใช้บริการห้องศึกษาค้นคว้าเอง และได้สอบถาม พูดคุยกับบุคลากรของห้องสมุดเกี่ยวกับปัญหานี้ ทำให้ได้ไอเดียส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหา
2.3. ผู้ใช้ต้องการห้องที่มีความเป็นส่วนตัว และสามารถทำงานได้อย่างไม่มีเสียงรบกวนจากบุคคลนอกห้อง
2.4. มี 2 ไอเดียที่คิดได้ คือ 1. นำแผงไข่มาติดรอบผนังห้องศึกษาค้นคว้า เพื่อเก็บเสียง 2. ปิดช่องว่างระหว่างผนังห้อง
3. ปัญหาการจองห้องศึกษาค้นคว้า
3.1. ปัญหาหลัก คือ ผู้ใช้ไม่ทราบสถานะของห้องศึกษาค้นคว้า ทำให้อาจเกิดการจองซ้ำซ้อน และการใช้ห้องมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ไม่จำเป็น ทำให้ผู้ใช้เสียเวลา เช่น ผู้ใช้ต้องเสียเวลาลงมาที่ชั้น 4 เพื่อให้บัตรนิสิตและรับกุญแจกับบรรณารักษ์ เป็นต้น
3.2. รับทราบปัญหาจากการสัมภาษณ์ผู้ใช้ และสอบถามบรรณารักษ์ที่ให้บริการตอบคำถาม
3.3. ผู้ใช้ต้องการทราบสถานะของห้องศึกษาค้นคว้าที่ชัดเจน และผู้ใช้สามารถใช้ห้องศึกษาค้นคว้าได้เองในทุกขั้นตอนโดยไม่ต้องผ่านบรรณารักษ์
3.4. มี 2 ไอเดียที่คิดได้ คือ 1. จัดทำระบบจองห้องศึกษาค้นคว้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของสำนักหอสมุด 2. จัดทำป้ายบอกสถานะของห้องบริเวณหน้าเคาน์เตอร์บริการชั้น 4