1. มุมมองจิตวิทยาการเรียนรู้ กลุ่มพฤติกรรมนิยม
1.1. การเรียนรู้ตามแนวพฤติกรรมนิยม
1.1.1. มุ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response)
1.1.2. รากฐานของหลักทฤษฎีนั้นมาจากการศึกษาวิจัยพฤติกรรม การเรียนรู้ของสัตว์ในห้องทดลองที่ถูกกำหนดขึ้นภายใต้เงื่ อนไขและการควบคุม สิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น การทดลองของพาฟลอฟ(Povlov) วัตสัน(Watson) และสกินเนอร์ (Skinner)
1.1.3. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จะมุ่งเน้นเพียง เฉพาะพฤติกรรมที่สามารถวัดและสังเกตได้เท่านั้น โดยไม่ศึกษา ถึงกระบวนการภายในของมนุษย์
1.1.4. บทบาทของผู้เรียน
1.1.4.1. เป็นผู้ที่รอรับ (Passively) ความรู้ ตลอดจนสิ่งเร้าต่างๆ ที่จัดให้ในขณะที่เรียนรู้ เช่น รางวัล การลงโทษ หรือแม้แต่แรงเสริม เป็นต้น
1.1.5. บทบาทของผู้สอน
1.1.5.1. เป็นผู้บริหารจัดการสิ่งเร้าที่จะให้ผู้เรียน เช่น การทำแบบฝึกหัดซ ้าๆ (Drill and practice) การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นต้น
1.2. เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาตามแนวพฤติกรรมนิยม
1.2.1. มุ่งเน้นการออกแบบเพื่ อให้ผู้เรียนสามารถจดจ าความรู้ให้ได้ในปริมาณมากที่สุด
1.2.2. บทบาทของผู้เรียนเป็นผู้รับข้อมูลสารสนเทศ
1.2.3. ครูจะสร้างสิ่งแวดล้อมที่ผู้เรียนจะต้องดูดซับข้อมูลสารสนเทศจำนวนมาก เช่น บทเรียนโปรแกรม ชุดการสอน และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.3. ลักษณะที่สำคัญของการออกแบบสื่อตามแนวพฤติกรรมนิยม
1.3.1. 1. ระบุวัตถุประสงค์การสอนที่ชัดเจน โดยกำหนดพฤติกรรมเฉพาะที่ต้องการให้เกิดขึ้นหลังจากการเรียนรู้นั้นประสบความสำเร็จ ซึ่งวัตถุประสงค์จะเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
1.3.2. 2. การสอนในแต่ละขั้นตอน นำไปสู่การเรียนแบบรอบรู้ (Mastery learning) ในหน่วยการสอนรวม
1.3.3. 3.ให้ผู้เรียนได้เรียนไปตามอัตราการเรียนรู้ของตนเอง
1.3.4. 4.ดำเนินการสอนไปตามโปรแกรมหรือลำดับขั้นที่กำหนดไว้ จากง่ายไปยาก โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถจดจำได้ง่าย
1.3.5. 5.การออกแบบการเรียนเป็นลักษณะเชิงเส้นที่เป็นลำดับขั้นตอน
1.3.6. 6. การให้ผลตอบกลับทันทีทันใด เมื่อผู้เรียนกระทำพฤติกรรมนั้นเสร็จจะได้รับ ผลกลับพร้อมทั้งแรงเสริมทันทีทันใดในขณะที่เรียนรู้
2. มุมมองจิตวิทยาการเรียนรู้ กลุ่มพุทธิปัญญานิยม
2.1. การเรียนรู้ตามแนวพุทธิปัญยานิยม
2.1.1. การเรียนรู้เป็นสิ่งที่มากกว่าผลของการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าการ ตอบสนองโดยให้ความสนใจในกระบวนการภายในที่เรียกว่าความรู้ความเข้าใจ หรือการรู้คิดของมนุษย์
2.1.2. จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนสามารถวาง สารสนเทศใหม่ในความจำระยะยาว (Long-term memory)
2.1.3. กลุ่มพุทธิปัญญานิยมให้ความสำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าภายนอก (ส่งผ่านโดยสื่ อต่างๆ) กับสิ่งเร้าภายใน คือความรู้ความเข้าใจหรือกระบวนการรู้คิด(Cognitive Process)
2.2. เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาตามแนวพุทธิปัญญานิยม
2.2.1. การออกแบบเทคโนโลยีและสื่อตามแนวคิดนี้ จะอยู่บนนิยามเกี่ยวกับการเรียนรู้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้ของผู้เรียน ทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
2.2.2. การเรียนรู้เป็นผลมาจากการจัดระเบียบหรือจัดหมวดหมู่ของความจำลงสู่โครงสร้างทางปัญญา เรียกว่า Mental Models
2.3. ลักษณะที่สำคัญของการออกแบบสื่อตามแนวพุทธิปัญญา
2.3.1. 1.การสร้างโครงร่างของเนื้อหาการจัดความคิดรวบยอดที่แสดงความสัมพันธ์ ระหว่างเนื้อหาที่จะเรียนรู้ (Concept map)
2.3.2. 2.การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสารสนเทศใหม่กับความรู้เดิม วิธีการนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีความหมายและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
2.3.3. 3.ใช้เทคนิคเพื่อแนะนำและสนับสนุนให้ผู้เรียนใส่ใจ เข้ารหัสและเรียนสารสนเทศกลับมาใช้ใหม่ได้
2.3.3.1. การมุ่งเน้นคำถาม (Focusing question) ซึ่งนำมาใช้ในขั้นนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนใส่ใจในสิ่งที่จะเรียนรู้
2.3.3.2. การเน้นคำหรือข้อความ (Highlighting) เป็นเทคนิคที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนใส่ใจสารสนเทศได้โดยตรง
2.3.3.3. การใช้ Mnemonic เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถบันทึกสารสนเทศและเรียกกลับมาใช้ได้ง่าย
2.3.3.4. การสร้างภาพ (Imagery) เป็นการสร้างภาพที่เป็นตัวแทน สารสนเทศใหม่ที่ได้รับ
3. มุมมองจิตวิทยาการเรียนรู้ กลุ่มคอนสตรัคติวิสต์
3.1. การเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
3.1.1. เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนสร้างความรู้อย่าง ตื่นตัวด้วยตนเองโดยพยายามสร้างความเข้าใจ (Understanding)
3.1.2. ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา(Cognitive Constructivism) มีรากฐานมาจากแนวคิดของเพียเจต
3.1.2.1. โดยมีหลักสำคัญว่ามนุษย์เราต้อง “สร้าง” (Construct) ความรู้ด้วยตนเองโดยผ่าน ทางประสบการณ์
3.1.2.1.1. จะกระตุ้นให้ผู้เรียนสร้าง สกีมา(Schemas) รูปแบบการทำความเข้าใจ (Mental Model) ในสมอง
3.1.3. โครงสร้างทางปัญญาเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้(Change) ขยาย(Enlarge)และซับซ้อนขึ้นได้โดยผ่านทางกระบวนการดูดซึม(Assimilation)และการปรับเปลี่ยน(Accommodation)
3.2. เทคโนโลยีและสื่อการศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสต
3.2.1. ทำการศึกษาการเรียนรู้ของมนุษย์ในสภาพจริง (Realistic) วิธีการเรียนรู้ภายใต้แนวคิดการสร้างความรู้
3.3. ลักษณะที่สำคัญของการออกแบบสื่อตามแนวพุทธิปัญญา
3.3.1. 1.นำเสนอและส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นมุมมองและตัวแทนความคิดรวบยอดของเนื้อหาที่หลากหลาย
3.3.2. 2.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการเรียนได้มาจากผู้เรียนหรือการเจรจาร่วมกับผู้สอน
3.3.3. 3. ผู้สอนให้บริการในบทบาทของผู้แนะนำ ผู้กำกับ โค้ช และผู้อำนวยความสะดวกในการเรียน
3.3.4. 4. ผู้เรียนต้องมีบทบาทสำคัญในการใช้สื่อ และควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3.3.5. 5.การสร้างความรู้จะเกิดขึ้นในบริบทของแต่ละบุคคลที่ผ่านการต่อรองทางสังคมการร่วมมือการเรียนรู้และการมีประสบการณ์ร่วมกัน