1. เทคโนโลยี (Technology)
1.1. หมายถึง การนำแนวคิด หลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ ตลอดจนผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบงานนั้นๆ ให้ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจน เพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน
1.1.1. ประโยชน์ของเทคโนโลยี
1.1.1.1. 1.ด้านประสิทธภาพ(Efficiency)เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานนั้นถูกต้องและรวดเร็วมีปริมาณผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นนภายใต้ทรัพยากรที่ถูกใช้อย่างจำกัด
1.1.1.2. 2.ด้านประสิทธิผล(Effectiveness)เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีคุณภาพ
1.1.1.3. 3.ประหยัด(Economy)เทคโนโลยีจะช่วยประหยัดเวลาทรัพยากรและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทำให้ราคาของผลิตผลนั้นถูกลง
1.1.1.4. 4.ประหยัด(Safaty)เป็นระบบการทำงานที่ส่งผลให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มขึ้น
1.2. ประเภทของเทคโนโลยี
1.2.1. เทคโนโลยีทางการทหาร (Military Technology)
1.2.2. เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology)
1.2.3. เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology)
1.2.4. เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology)
1.2.5. เทคโนโลยีการสอน (Instructional Technology)
2. นวัตกรรมการศึกษา
2.1. ลักษณะเด่นที่จัดว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา
2.1.1. 1.จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนอาจใช้ของเก่าที่ใช้ในอดีตแล้วนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
2.1.2. 2.มีการศึกษาทดลองโดยอาศัยหลักการทฤษฏีมาใช้อย่างเป็นระบบ
2.1.3. 3.มีการพิสูจน์ด้วยการทดลองหรือวิจัย
2.1.4. 4.ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงาน
2.2. แนวโน้มของนวัตกรรมเทคโนโลยีและ การสื่อสารทางการศึกษาในศตวรรษที่21
2.2.1. การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือแนวคิดที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพของคนเพื่อให้สามารถตอบสนองกับสภาพความท้าทายและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันที่มีผลสะท้อนมาจากปัญหาสังคม เศรษฐกิจโดยเฉพาะช่วงที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาได้เผชิญวิกฤตการทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ยิ่งใหญ่เป็นผลให้ต้องมาคิดหารูปแบบการพัฒนาคนที่เหมาะสม
2.2.2. ความแตกต่างที่ชัดเจนของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการแก้ปัญหาทางการศึกษาที่มีความซับซ้อน(Complexity)และหลากหลาย (Diverse)ให้สามารถตอบสนองต่อการจัดการเรียนรู้ของครูที่มีประสิทธิภาพ
2.2.3. แนวโน้มที่ส าคัญของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือการก้าวข้ามการจัดการเรียนรู้ที่เน้นสาระวิชาเป็นฐาน(ContentBase)ไปสู่การเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาทักษะเป็นฐานซึ่งครูจะเป็นผู้ออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่จัดเตรียมโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและการพัฒนาทักษะที่จำเป็นแห่งศตวรรษ เช่น การคิดสร้างสรรค์การคิดอย่างมีวิจารณญาณการรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการเรียนรู้ที่บูรณาการชีวิตจริงกับสาระวิชาการใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้