คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
by wanachaporn maneesrirat
1. องค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.1. ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ การตัดสินคำตอบ
1.2. เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
1.3. ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัล หรือ คะแนน
1.4. ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าในลำดับต่อไป
2. ความหมายของและลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2.1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหมายถึง การประยุกต์คอมพิวเตอร์ มาช่วยในการเรียนการสอน โดยมีการพัฒนาโปรแกรมขึ้นเพื่อเสนอเนื้อหาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเสนอแบบติวเตอร์ (tutorial) แบบจำลองสถานการณ์ (simulation) หรือ แบบการแก้ไขปัญหา (problem solving) เป็นต้น การเสนอเนื้อหาดังกล่าวเป็นการเสนอโดยตรงไปยังผู้เรียนผ่านทาง จอภาพหรือแป้นพิมพ์โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม วัสดุทางการสอนคือ โปรแกรมหรือ courseware ซึ่งปกติจะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือหน่วยความจำของเครื่อง พร้อมที่จะเรียกใช้ได้ ตลอดเวลา การเรียนในลักษณะนี้ในบางครั้งผู้เรียนจะต้องโต้ตอบหรือตอบคำถามเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยการพิมพ์การตอบคำถามจะถูกประเมิน โดยคอมพิวเตอร์และจะเสนอแนะขั้นตอนหรือระดับ ในการเรียน ขั้นต่อ ๆ ไป กระบวนการเหล่านี้เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ ดังนั้นสรุปความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-assisted Instruction) เป็น กระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ มีลักษณะเป็นการ เรียนโดยตรงและเป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ (interactive) คือ สามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียน กับคอมพิวเตอร์ได้เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งออกแบบไว้เพื่อ นำเสนอบทเรียนแทนผู้สอน และผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองตามลำดับขั้นตอนการเรียนอย่าง เป็นระบบ เมื่อผู้เรียนโต้ตอบกับตัวบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้ว ผู้เรียนจะได้ข้อมูลย้อนกลับทันทีเนื้อหาสาระของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะมีลักษณะการออกแบบที่กระตุ้นความสนใจ ของผู้เรียน ให้ติดตามอย่างต่อเนื่องด้วยการใช้ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง กราฟิก เสียง เป็นต้น โดยเมื่อผ่านทุกขั้นตอนของบทเรียนแล้วก็จะมีการประเมินผลการเรียนของผู้เรียนว่ามี ความเข้าใจระดับใด
3. คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่
3.1. 1. สารสนเทศ (Information) หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง
3.2. 2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization) การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด
3.3. 3. การโต้ตอบ (Interaction) คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด
3.4. 4.การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback) ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้