ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ by Mind Map: ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

1. หน่วยรับข้อมูล

1.1. 1.1 แป้นพิมพ์ (keyboard) เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก

1.2. กล้องถ่ายวีดิโอดิจิตอล (digital video camera) มีรูปร่างการทำงานคล้ายกล้องวีดิโอ แต่ภาพเคลื่อนไหวที่ได้จากกล้องวีดิโอดิจิตอลจะเป็นไฟล์ในหน่วยความจำของกล้องแทนฟิล์ม นอกจากนี้กล้องถ่ายวีดิโอดิจิตอล ยังสามารถจับภาพนิ่งได้ด้วย

1.3. สแกนเนอร์แบบสอดกระดาษ (sheetfed scanner) เป็นสแกนเนอร์ที่ผู้ใช้ต้องสอดภาพหรือเอกสารเข้าไปยังช่องสำหรับอ่านข้อมูล เครื่องชนิดนี้จะเหมาะสำหรับการอ่านเอกสารที่เป็นแผ่น ๆ แต่ไม่สามารถอ่านเอกสารที่เย็บเป็นเล่มได้

1.4. เมาส์ คือ อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้งานง่ายและสะดวกกว่าแป้นพิมพ์มาก เนื่องจากไม่จ้องจดจำคำสั่งสำหรับป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ มีรูปร่างโค้งๆ งอๆ เหมือนก้อนสบู่ กลไกภายในจะมีลูกกลิ้งกลมสำหรับหมุนใช้กำหนดตำแหน่ง เพื่อเลือกคำสั่งหรือวาดลายเส้นบนจอภาพ ตำแหน่งจุดตัด X และ Y จากเครื่องมือนี้จะสัมพันธ์กับจุดตัดXและYบนจอภาพทำให้สามารถกำหนดคำสั่งหรือตำแหน่งลายเส้นตามเงื่อนไขในโปรแกรมได้สะดวก

1.5. อไมโครโฟนคอมพิวเตอร์ การเลือกซื้ออุปกรณ์รับเสียง 1. ควรเลือกซื้อให้เหมาะสมกับการใช้งาน 2. ควรเลือกซื้อยี่ห้อที่มีศูนย์บริการและการรับประกัน

2. หน่วยความจำ

2.1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory – ROM) หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory – RAM)

2.1.1. แบบจานแม่เหล็ก เป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่เป็นลักษณะของจานแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูลไว้ภายใน Disk ได้รับความนิยมและใช้งานมานานพอสมควรซึ่งเป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้หลักๆ เลยในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์

2.1.2. แบบแสง เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยใช้หลักการทำงานของแสง การจัดการข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็ก ต่างกันที่การแบ่งจะเป็นรูปก้นหอย และเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอก ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี เช่น CD , DVD

2.1.3. แบบเทป เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับต่อเนื่องกันไป มีการผลิตขึ้นมาหลากหลายขนาดแตกต่างกันไป เช่น DAT และ QIC เป็นต้นปัจจุบันไม่ค่อยถือเป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

2.1.4. แบบอื่นๆ เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่พบได้ทั่วไปในปัจจุบัน มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น Flash Drive, Thumb Drive , Handy Drive เป็นต้น อีกชนิดคือ Memory Card เพื่อใช้เก็บข้อมูลในกล้องดิจิตอลแบบพกพา

3. หน่วยประมวลผล

3.1. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit – CPU) บางทีก็เรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) หรือ ชิป (Chip) เป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ในการคิดคำนวณ ประมวลผล และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่นในระบบ

3.1.1. ลักษณะของซีพียู เป็นชิ้นส่วนขนาดเล็กมาก ภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ประกอบกันเป็นวงจรหลายล้านตัว ตัวอย่างเช่น ซีพียูรุ่นเพนเทียม จะมีทรานซิสเตอร์เล็กๆจำนวนมากถึง 3.1 ล้านตัว ซีพียูมีหน่วยที่ใช้ในการบอกขนาดของการคำนวณเรียกว่า บิต (Bit) ถ้าจำนวนบิตมากจะสามารถทำงานได้เร็ว ซีพียูปัจจุบันทำงานที่ 32 บิต

3.1.2. ความเร็วของซีพียู (Speed) มีหน่วยวัดเป็น เมกะเฮริตซ์ (MHz = MegaHertz) ถ้าค่าตัวเลขยิ่งสูงแสดงว่ายิ่งมีความเร็วมาก ปัจจุบันความเร็วของซีพียู สามารถทำงานได้ถึงระดับ กิกะเฮริตซ์ (GHz = Gigahertz) โดยมีความเร็วระหว่าง 2-3 GHz ในการเลือกใช้ซีพียู ผู้จำหน่ายจะบอกไว้ว่า เครื่องรุ่นนี้มีความเร็วเท่าไหร่ เช่น Pentium IV 2.8 GHz หมายความว่าเป็น CPU รุ่นเพนเทียมโฟว์ มีความเร็วในการทำงานที่ 2.8 กิกะเฮริตซ์

3.1.3. ซีพียูรุ่นต่างๆ โดยทั่วไปมีผู้ผลิตซีพียูหลักๆ คือ บริษัท Intel, AMD, Cyrix และ Motorola โดยบริษัท Intel เป็นผู้นำในการผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก

4. หน่วยเเสดงผล

4.1. หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง ได้แก่

4.1.1. จอภาพ monitor

4.1.2. อุปกรณ์ฉายภาพ Projector

4.1.3. อุปกรณ์เสียง Audio output

4.2. หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้เช่น

4.2.1. แสดงผลทางเครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์ (printer) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ในรูปข้อมูล รายงาน รูปภาพ ลงบนกระดาษ ซึ่งสามารถสัมผัสและเก็บรักษาไว้ได้นาน เครื่องพิมพ์อาจเรียกว่า หน่วยแสดงผลถาวร ในปัจจุบันเครื่องพิมพ์มีหลายชนิด ดังนี้

4.2.1.1. ลำโพง (speaker) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์รูปแบบเสียง ซึ่งส่วนใหญ่จะให้มาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ลำโพงมี 2 ชนิด ดังนี้

4.2.1.1.1. 1. ลำโพงแบบขยายเสียงในตัว จะมีปุ่มสำหรับปรับเสียง ได้แก่ ปุ่ม volume สำหรับปรับความดังของเสียง ปุ่ม base สำหรับปรับระดับความดัง เสียงทุ้ม และปุ่ม treble สำหรับปรับระดับความดังของเสียงแหลม

4.2.1.1.2. 2. ลำโพงแบบไม่มีวงจรขยายเสียง จะมีกรวยของลำโพงที่ใช้ภายในตัวลำโพง (speaker) ขนาดเล็กประมาณ 2 นิ้ว ลำโพงชนิดนี้จะต้องใช้การ์ดเสียงที่มีวงจรขยายเสียงสำหรับขยายเสียงออกลำโพง

5. ส่วนอื่นของคอมพิวเตอร์

5.1. เครื่องปริ้นที่มาพร้อมกับแสกนเนอร์และสามารถถ่ายเอกสารได้อีกด้วย สะดวกสบายภายเพียงเครื่องเดียว

5.2. Toshiba Portable DVD SuperMulti Drive มาพร้อมกับน้ำหนักเบาไม่ถึง 12 ออนซ์ รับไฟโดยตรงจากคอมพิวเตอร์ เพิ่มความคล่องตัวให้คุณเขียนและเล่นซีดีและดีวีดีได้ง่ายทุกที่ทุกเวลา ดีไซน์ทันสมัย เล็ก น้ำหนักเบา เหมาะสำหรับ Netbooks, Mini-Notebooks และโน้ตบุ๊คที่ไม่มีออปติคัลไดรฟ์ หรือที่มีออปติคัลไดรฟ์รุ่นเก่า บันทึกได้ทุกฟอร์แมตในไดรฟ์เดียว เล่นกับไดรฟ์และเครื่องเล่นดีวีดีได้อย่างยอดเยี่ยม

5.3. Toshiba dynadock™ V Universal USB Docking Station ลดสายไฟระโยงระยางด้านหลังโต๊ะของคุณ ให้คุณประหยัดเวลาเชื่อมต่อสาย ไม่ต้องเสียบสายใหม่ทุกครั้งที่คุณจัดวางโต๊ะใหม่! เชื่อมต่อโน้ตบุ๊คกับอุปกรณ์เสริมทั้งหมด เช่น จอ เครื่องพิมพ์ คีย์บอร์ด เมาส์ ลำโพง ไมโครโฟน โมเด็ม ผ่านแท่นเชื่อมต่อ Toshiba dynadock™ V Universal USB ที่จุดเดียว! ลดภาระการปลดสายและเสียบสายใหม่ทุกครั้งที่คุณกลับมาที่โต๊ะ

5.4. สัมผัสคุณภาพเสียงยอดเยี่ยมกับหูฟัง Toshiba Ultra-Light Audio THS-10 หูฟังที่ออกแบบเป็นพิเศษให้คุณฟังอย่างสบายแม้ใส่หูฟังเป็นเวลานาน

5.5. ฮาร์ดดิสก์พกพารุ่นใหม่ล่าสุดจาก Toshiba ดีไซน์สวยทันสมัย ขนาดบางแค่ 2.5 นิ้ว น้ำหนักเบาเพียง 171 กรัม มาพร้อมเทคโนโลยี Password Protection พัฒนาระบบการเข้ารหัสเพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลถูกโจรกรรม Internal Shock Sensor and Ramp Loading ป้องกันข้อมูลถูกถ่ายเทไปสู่ผู้อื่น ระบบตรวจจับ 3 มิติที่จะทำการเคลื่อนย้ายหัวอ่าน เมื่อฮาร์ดดิสก์ตกหล่นหรือถูกกระแทก มั่นใจได้ว่าข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จะไม่เสียหาย พร้อม Auto Backup Software ระบบแบ็คอัพข้อมูลอัตโนมัติ มีให้เลือก 4 สี 2 ความจุ 320GB และ 500GB

5.6. FDD (Floppy Disk Drive)เป็นไดร์ฟที่ใช้สำหรับอ่าน / บันทึกข้อลงบนแผ่นแม่เหล็ก ปัจจุบันนี้จะใช้ Drive ที่มีขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งสามารถที่จะอ่านข้อมูลจากแผ่น Diskette ขนาด 1.44 MB

5.7. เคสหรือตัวถังเครื่องคอมพิวเตอร์ เคสหรือตัวถังเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เก็บอุปกรณ์ต่าง เข้าไว้ด้วยกัน ภายในเคสจะมี แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) ทำหน้าจ่ายให้กับอุปกรณ์ต่างที่อยู่ในตัวถัง