ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ by Mind Map: ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

1. จอสัมผัส (หรือ Touch Screen) สามารถเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูลเข้า และส่งออกข้อมูลออกในเวลาเดียวกัน จอภาพสามารถรับข้อมูลไปประมวลผลโดยการสัมผัสบนบริเวณจอภาพ บริเวณจอภาพประกอบไปด้วยตาข่ายของลำแสงอินฟาเรด เมื่อมีวัตถุมาสัมผัสบนจอภาพ จะมีการส่งสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งบนจอภาพให้กับโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ได้

2. – เครื่องกราดตรวจ (หรือ Scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการใช้เทคโนโลยีของการผ่านแสงเพื่อทำการอ่านรหัสสัญลักษณ์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์นำไปประมวลผลต่อไป

3. – เมาส์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล โดยผู้ใช้สามารถเลื่อนตัวชี้เมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพแล้วคลิกปุ่มเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์

4. – แป้นพิมพ์ (หรือ Keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากการกดปุ่มบนแป้นพิมพ์ แล้วส่งรหัสให้กับคอมพิวเตอร์

5. เครื่องพิมพ์ (หรือ Printer) เป็นอุปกรณ์ที่ส่งออกข้อมูลในรูปของการพิมพ์หมึกลงบนกระดาษหรือวัตถุต่างๆ ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ออกมาหลายลักษณะตามความต้องการของผู้ใช้งาน

6. – หน่วยความจำแบบแฟรช (หรือ Flash Memory) เป็นหน่วยความจำประเภทรอม ซึ่งเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีของ รอม และแรม มารวมกัน ทำให้หน่วยความจำชนิดนี้สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือสามารถเก็บและลบข้อมูลได้ตามต้องการ และถ่ายโอนข้อมูลได้รวดเร็ว ปัจจุบันมีผู้หันมาใช้หน่วยความจำแบบแฟรชกันมากขึ้น เพราะมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก สามารถเก็บข้อมูลได้มาก เช่น 4 กิกะไบต์ , 8 กิกะไบต์

7. แผ่นซีดี และแผ่นดีวีดี ในปัจจุบันแผ่นซีดี และแผ่นดีวีดี มีผู้ใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีราคาถูก สามารถเก็บข้อมูลได้มาก ซีดี 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ 750 เมกะไบต์ และแผ่นดีวีดี 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 4.7 กิกะไบต์

8. – ฮาร์ดดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ประกอบด้วยแผ่นบันทึกแบบแข็งที่เคลือบสารแม่แหล็กหลายแผ่นเรียงซ้อนกัน หัวอ่านของเครื่องขับจะมีหลายหัว ในขณะที่แผ่นบันทึกแต่ละแผ่นบันทึกหมุน หัวอ่านจะเคลื่อนที่เข้าออกเพื่ออ่านข้อมูลที่เก็บบนพื้นผิวแผ่น การเก็บข้อมูลในแต่ละแผ่นจะเป็นวง เรียกแต่ละวงของทุกแผ่นว่า ไซลินเดอร์ แต่ละไซลินเดอร์จะแบ่งเป็นเซกเตอร์ แต่ละเซกเตอร์แบ่งข้อมูลเป็นชุดๆ ฮาร์ดิสก์เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีความจุสูงมาก มีความจุเป็นกิกะไบต์ เช่น 320 กิกะไบต์ การอ่านและเขียนข้อมูลจะกระทำได้เร็วมาก

9. รอม เป็นหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่ง หน่วยความจำประเภทนี้มีไว้เพื่อบรรจุโปรแกรมสำคัญบางอย่าง เพื่อว่าเมื่อทำการเปิดเครื่อง ซีพียูจะเริ่มทำงานได้ทันที ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บไว้ในรอมจะถูกบันทึกมาก่อนแล้ว ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลใดๆ ลงไปได้ ซึ่งข้อมูลหรือโปรแกรมที่อยู่ในรอมนี้ จะอยู่อย่างถาวร แม้จะปิดเครื่อง ข้อมูลหรือโปรแกรมก็จะไม่ถูกลบแต่อย่างใด

10. – แผ่นบันทึก (หรือ Floppy Disk) แผ่นบันทึกข้อมูลในปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้ว ตัวแผ่นบันทึกเป็นแผ่นบาง ฉาบผิวด้วยสารแม่เหล็กอยู่ในกรอบพลาสติกแข็ง เพื่อป้องกันการขีดข่วน สามารถบรรจุข้อมูลได้ 1.44 เมกะไบต์ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้แล้ว เนื่องจากบรรจุข้อมูลได้น้อย และชำรุดง่าย

11. แรม เป็นหน่วยความจำหลักที่เก็บข้อมูลสำหรับใช้งานทั่วไป หน่วยความจำประเภทนี้จะเก็บข้อมูลตราบเท่าที่ยังเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ หรือยังมีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้วงจรอยู่ แต่หากเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเกิดไฟฟ้าดับเมื่อใด ข้อมูลก็จะสูญหายทันที

12. จอภาพ การส่งออกของข้อมูลจะปรากฏบนจอภาพ ซึ่งแสดงได้ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว การแสดงผลบนจอภาพจะแสดงด้วยจุดเล็กๆ ตามแนวนอนและแนวตั้ง จอภาพมีขนาดที่แตกต่างกันเช่น 17 นิ้ว 20 นิ้ว เป็นต้น

13. หน่วยประมวลผลในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียกว่า หน่วยประมวลผลกลาง หรือซีพียู มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งเป็นศูนย์ควบคุมการทำงาน การติดต่อสื่อสารระหว่างองค์ประกอบภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกได้ว่าซีพียูนี้เปรียบเหมือนสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอยควบคุมการทำงานทั้งหมดของคอมพิวเตอร์

14. หน่อยส่งออก

15. 1. หน่วยประมวลผลกลาง (หรือ Processor)

16. 2. หน่วยความจำหลัก

17. 3. หน่วยความจำสำรอง

18. 4. หน่วยรับข้อมูล

19. อุปกรณ์อื่นๆ

19.1. พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์

19.2. เคส (case) คือ กล่องหรือโครงสร้างสำหรับเก็บประกอบอุปกรณ์ต่างๆ คอมพิวเตอร์ไว้ภายในนั้น ซึ่งขนาดของเคสก็จะแตกต่างกันออกไป แล้วแต่การใช้งานหรือความเหมาะสมในการใช้งานของแต่ละคนรวมทั้งสถานที่เก็บอุปกรณ์เหล่านั้นด้วยว่ามีขนาดพื้นที่มากน้อยเพียงใด และในตัวเคสก็จะมีในส่วนของพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย

19.3. เมนบอร์ด (Main board) เป็นแผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆ ไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด

19.4. Modem อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้สามารถส่งไปตามสายโทรศัพท์ได้

19.5. Floppy Drive ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านข้อมูลในแผ่นดิสก์เก็ต (ปัจจุบันปี 2012 ไม่ใช้กันแล้ว) มีให้เลือก 2 ขนาด คือขนาด 3.5" นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน และ 5.25" ไม่นิยมใช้กันแล้ว กลายเป็นของเก่าเก็บเข้ากรุ นอกจากนี้ ก็ยังมีฟล็อปปี้ดิสก์แบบ External FDD สำหรับอ่านและบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดิสก์ ประเภทติดตั้ง ภายนอก เพื่อความสะดวกในการพกพา ส่วนมากจะใช้กับคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ค

19.6. CD-Drive หน่วยบันทึกที่ใช้อ่านจานบันทึกอัดแน่น หรือซีดี ในปัจจุบัน ไมโครคอมพิว เตอร์ส่วนมากมีหน่วยบันทึกที่สามารถอ่านข้อมูลจากสื่อชนิดนี้ได้ แต่ยังคงบันทึกข้อมูลลงไปไม่ได้ ต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ความเร็วในการอ่านค่อนข้างสูงจนดูภาพเคลื่อนไหวได้ดีเหมือนดูภาพยนตร์ ในปัจจุบัน จานซีดีกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นทุกที ทำให้ราคาถูกลงมาก คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจึงมักจะมีหน่วยบันทึกชนิดนี้ติดตั้งไว้ด้วย

19.7. ช่องเสียบอุปกรณ์เพิ่มเติม (Expansion Slot) วามสามารถของคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องจะประกอบด้วยอุปกรณ์หลายๆอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งอยู่ในเมนบอร์ดก็ตาม หรือจะเป็นการติดตั้งจากภายนอกก็ตาม ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งการต่ออุปกรณ์ภายนอกให้ใช้งานได้กับเมนบอร์ดต้องมีการต่อผ่านช่องพิเศษที่เราเรียกว่า Expansion Slot

19.8. การ์ดขยาย (Expansion Card )เป็นอุปกรณ์คล้ายบัตร หรือการ์ดขนาดใหญ่ จึงเรียกว่า การ์ดขยาย ทำหน้าที่เฉพาะด้าน เช่น การ์ดแสดงผล การ์ดเสียง เป็นต้น