ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ by Mind Map: ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์

1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)

1.1. เมาส์ หน้าที่ เลือกคำสั่ง,เลือกเคอร์เซอร์

1.2. คีย์บอร์ด หน้าที่ รับคำสั่งและข้อมูล เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านทางปุ่มต่างๆที่อยู่บนแป้นพิมพ์

1.3. สแกนเนอร์ หน้าที่ เปลี่ยนแปลงภาพต้นฉบับ (รูปถ่าย ตัวอักษรบนหน้ากระดาษ ภาพวาด) ให้เป็นข้อมูล

1.4. อุปกรณ์สแกนลายนิ้วมือ (finger scan) หน้าที่ เปลี่ยนถ่ายข้อมูลลายนิ้วมือมาเป็นข้อมูลดิจิตอล

1.5. ไมโครโฟน หน้าที่ รับเสียง แล้วส่งสัญญาณไปขยาย ให้เราได้บันทึกไว้ หรือ ได้ยินออกลำโพง

1.6. กล้องเว็บแคม (webcam) หน้าที่ จับภาพเคลื่อนไหวของเราไปปรากฏบนหน้าจอมอนิเตอร์ และสามารถส่งภาพเคลื่อนไหวนี้ผ่านระบบเครือข่ายเพื่อให้คนอีกฟากหนึ่งสามารถเห็นตัวเราเคลื่อนไหว ได้เหมือนอยู่ต่อหน้า

2. หน่วยประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)

2.1. ซีพียู (CPU) หน้าที่ เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์

2.1.1. เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์

3. หน่วยความจำ (Memory Unit)

3.1. หน่วยความจำชั่วคราวหรือหน่วยเก็บข้อมูล (Storage) บางครั้งเรียกว่า หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory)

3.1.1. แผ่นบันทึก (floppy disk หรือ diskette) หน้าที่ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านและเขียน

3.1.1.1. เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านและ เขียน

3.1.2. ฮาร์ดดิสก์ (harddisk) หน้าที่ เป็นที่บรรจุข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ เก็บโปรแกรมและข้อมูลต่าง ๆ หรือต้องการจะเก็บรักษาเอาไว้ใช้งานในคราวต่อไป จะแตกต่างกับหน่วยความจำแรมตรงที่ฮาร์ดดิสก์จะเก็บข้อมูลต่างๆเอาไว้ได้ตลอดเวลา

3.1.3. เทปแม่เหล็ก (magnetic tape) หน้าที่ ใช้สำหรับเก็บข้อมูลจำนวนมาก มีการจัดเก็บและเรียกค้นข้อมูลแบบเป็นลำดับ เพราะฉะนั้นการเข้าถึงก็จะเป็นแบบการเข้าถึงโดยลำดับ (sequential access)

3.1.4. แผ่นซีดี (Compact Disk : CD ) หน้าที่ เป็นสื่อบันทึกข้อมูลชนิดหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage

3.1.5. .แฟลชไดรฟ์ (Flash Drive) หน้าที่ เก็บข้อมูลโดยใช้หน่วยความจำแบบแฟลช ทำงานร่วมกับยูเอสบี 1.1 หรือ 2.0 มีลักษณะเล็ก น้ำหนักเบาเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเคลื่อน (Drive) สามารถพกพาไปไหนก็ได้ โดยต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย Port USB

3.1.6. ดีวีดี (DVD; Digital Versatile Disc) หน้าที่ เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc)ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน ( เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร ) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า

3.2. หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)

3.2.1. แรม (Random Access Memory : RAM) หน้าที่ ใช้สำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่ง มีหน้าที่จดจำคำสั่งที่เป็นโปรแกรมและข้อมูลที่จะทำการประมวลผล ในขณะที่มีการเปิดเครื่องและมีไฟฟ้าอยู่เท่านั้น จึงต้องมีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวแรมตลอดเวลา

3.2.2. รอม (Read Only Memory : ROM) หน้าที่ิ เป็นหน่วยความจำที่บริษัทผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ได้บรรจุชิปหน่วยความจำแบบติดตั้งถาวรหรือไบออส (Basic Input Output System : BIOS) ไว้บนแผงวงจรหลักเรียบร้อยแล้ว โดยข้อมูลที่บรรจุในหน่วยความจำแบบนี้จะยังคงอยู่แม้ปิดเครื่องไปแล้ว

3.2.3. วิดีโอแรมหรือวีแรม (Video RAM : VRAM) หน้าที่ เป็นหน่วยความจำแรมที่มีพื้นฐานมาจากดีแรม ใช้สำหรับเก็บภาพและแสดงผลบนจอภาพโดยติดตั้งมากับการ์ดแสดงผลหรือการ์ดจอที่มีราคาแพงคุณภาพดี และมีความเร็วในการทำงานสูง

4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)

4.1. จอภาพ (Monitor) หน้าที่ แสดงผลลัพธ์หรือเอ้าท์พุท จากการทำงานของคอมพิวเตอร์ออกมาทางจอภาพให้เราได้เห็นกันโดย Monitor จะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์โดยตรง

4.1.1. จอภาพแบบ CRT (Cathode Ray Tube) หน้าที่ เป็นจอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีหลักการทำงานแบบเดียวกับจอโทรทัศน์ ทำงานโดยใช้กระแสไฟฟ้าแรงสูง (high voltage) คอยกระตุ้นให้อิเล็กตรอนภายในหลอดภาพแตกตัวอิเล็กตรอนดังกล่าวจะทำให้เกิดลำแสงอิเล็กตรอนไปกระตุ้นผลึกฟอสฟอรัสที่ฉาบอยู่บนหลอดภาพ เมื่อฟอสฟอรัสถูกกระตุ้นจากอิเล็กตรอนจะเกิดการเรืองแสงและปรากฏเป็นจุดสีต่างๆ (RGB Color)

4.1.2. จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display Monitor) เป็นจอภาพแบบแบน และใช้เทคโนโลยีการเรืองแสงของผลึกเหลว หรือ liquid crystal จึงทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าและแสงที่ส่องมายังตาผู้ใช้น้อย จึงทำให้ถนอมสายตาได้มากกว่าจอซีอาร์ที จอแอลซีดีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

4.1.2.1. 1.จอทีเอฟที (TFT : Thin film Transistor) หรือแอคทีปเมทริกซ์ เป็นหน้าจอที่มีการตอบสนองต่อการแสดงผลที่ค่อนข้างไว ประมวลผลการทำงานได้รวดเร็ว ทำให้การแสดงผลมีความละเอียด สว่างและมีความคมชัดมาก มักจะนำไปใช้ในโน้ตบุ๊ก เครื่องพีดีเอ กล้องดิจิตอล

4.1.2.2. จอพาสซีพเมทริกซ์ (passive matrix) เป็นจอภาพที่ให้ความสว่างและความคมชัดน้อยกว่าจอทีเอฟที มักจะนำไปใช้เป็นจอโทรศัพท์มือถือทั่วไป หรือจอของเครื่องพาล์มท็อบคอมพิวเตอร์ สีขาวดำ

4.1.3. จอพลาสมา (plasma monitor) เป็นจอภาพที่มีเทคโนโลยีที่ให้มุมมองจอภาพที่กว้างถึง 160 องศา มีความสว่างและคมชัดมากกว่าจอแอลซีดี สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวเร็ว ๆ ได้ดี จึงเหมาะกับการใช้รับชมภาพยนตร์และกีฬาเป็นอย่างมาก

4.2. ลำโพง (Speaker) หน้าที่ เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ที่อยู่ในรูปของเสียง สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านแผงวงจรเกี่ยวกับเสียง (Sound card) ซึ่งมีหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลไปเป็นเสียง

4.3. เครื่องพิมพ์ (Printer) หน้าที่ เป็นอุปกรณ์ที่จะแปลการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ออกมาในรูปแบบกระดาษ ทั้งรูปภาพและอักษร

4.3.1. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Inkjet printers) หน้าที่ เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ เครื่องพิมพ์จะทำการพ่นหมึกออกตามแต่ละจุดในตำแหน่งที่เครื่องประมวลผลไว้ อย่างแม่นยำ ตามความต้องการของเรา ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ โดยรูปที่มีความซับซ้อนมากๆเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ชัดเจนและคมชัดกว่าแบบดอตแมทริกซ์

4.3.1.1. เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ เครื่องพิมพ์จะทำการพ่นหมึกออกตามแต่ละจุดในตำแหน่งที่เครื่องประมวลผลไว้ อย่างแม่นยำ ตามความต้องการของเรา ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ โดยรูปที่มีความซับซ้อนมากๆเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ชัดเจนและคมชัดกว่าแบบดอตแมทริกซ์

4.3.2. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer) หน้าที่ เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบนกระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษร ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีคุณภาพสูงมาก และราคาเครื่องพิมพ์ก็มีราคาสูงมากด้วยเช่นกัน ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะทำงานได้เร็วกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก และคุณภาพของผลลัพธ์ทั้งด้านความคมชัดและรายละเอียดทำออกมาได้ดีกว่าแบบพ่น หมึกมาก

4.3.3. พล็อตเตอร์ (Plotter) หน้าที่ เป็นเครื่องพิมพ์แบบที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลลงบนกระดาษ ซึ่งเครื่องพิมพ์ประเภทนี้เหมาะกับงานเขียนแบบของวิศวกรและสถาปนิก และเครื่องพิมพ์ประเภทนี้มีราคาแพงที่สุดในเครื่องพิมพ์ประเภทต่างๆ

5. หน่วยอื่นๆ

5.1. เคส (case) คือ กล่องหรือโครงสร้างสำหรับเก็บประกอบอุปกรณ์ต่างๆ คอมพิวเตอร์ไว้ภายในนั้น ซึ่งขนาดของเคสก็จะแตกต่างกันออกไป แล้วแต่การใช้งานหรือความเหมาะสมในการใช้งานของแต่ละคน

5.2. พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์

5.3. เมนบอร์ด (Main board) เป็นแผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆ ไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด

5.4. การ์ดแสดงผล (Display Card) ใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย

5.5. Microphone (ไมโครโฟน) คือ อุปกรณ์รับเสียงแล้วทำการแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อประมวลผลในเครื่องขยายเสียงหรืออุปกรณ์ผสมเสียงอื่นๆ ประกอบด้วยขดลวดและแม่เหล็กเป็นหลัก เมื่อเสียงกระทบตัวรับในไมโครโฟนจะทำให้ขดลวดสั่นสะเทือนตัดกับสนามแม่เหล็ก จึงทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้า เป็นหลักการทำงานตรงข้ามกับลำโพง โดยทั่วไปไมโครโฟนใช้รับเสียงพูดหรือเสียงร้องเพลง

5.6. Sound Card หรือ การ์ดเสียง ใช้สำหรับประมวลผลข้อมูลที่จะแสดงออกมาในรูปแบบของเสียงผ่านทางลำโพง

5.7. Modem โมเด็ม (Modem) มีหน้าที่ในการรับสัญญาณจากสายโทรศัพท์ที่เป็นสัญญาณอนาล็อค มาแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ และเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องการจะส่งข้อมูลออกไปจะส่งเป็นสัญญาณดิจิตอลไปยังโมเด็ม โมเด็มก็จะแปลงสัญญาณดิจิตอลที่ได้รับเป็นสัญญาณอนาล็อคเพื่อทำการส่งไปยังสายโทรศัพท์

5.8. เราเตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่กระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ได้จากช่อง RJ-45 ของโมเด็ม โดยลักษณะของเราเตอร์นั้นจะมีช่องเสียบ RJ-45 ทั้งหมด 5 ช่องด้วยกันช่องแลกจะเป็นช่องที่เรียกว่า Internet Port หรือ WAN Port ซึ่งช่องนี้จะเป็นช่องที่ทำหน้าที่รับสัญญาณอินเตอร์เน็ตจากโมเด็ม และอีก 4 ช่องที่เหลือจะเป็นช่อง Lan Port มาตรฐานของเราเตอร์จะมีอยู่ 4 พอร์ตด้วยกัน เพื่อให้อุปกรณ์สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านช่อง Lan port

5.9. การ์ดแลน (LAN Card)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง หรือไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบเครือข่าย ดังนั้นคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องก็จะต้องมีการ์ดแลนเป็นส่วนประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่ง และโดยเฉพาะการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ADSL ตามบ้าน

5.10. แบตเตอรี่แบ๊คอัพ (CMOS Battery) แบตเตอรี่แบ๊คอัพเบอร์ CR2032 เป็นแบตเตอรี่ที่จ่ายกระแสไฟกับ CMOS เพื่อเก็บข้อมูลในไบออส เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม วันเวลา ถ้าหาแบตเตอรี่หมดอายุจะทำให้ข้อมูลในไบออสหายไป ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถ ตรวจสอบได้ว่ามีฮาร์ดดิสก์ มีซีดีรอมต่อพ่วงอยู่หรือเปล่า ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ แบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งานประมาณสองหรือสามปี

5.11. ขั้วต่อสายไฟ ( ATX Power Connector) ขั้วต่อสายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายเข้ากับเมนบอร์ด ซึ่งเป็นขั้วต่อแบบ ATX โดยที่เพาเวอร์ซัพพลายจะมีสายไฟหนึ่งชุดเอาไว้ต่อเข้ากับเมนบอร์ด และด้านหนึ่งของขั้วต่อจะมีสลักล็อกสายไฟ ป้องกันไม่ให้สายไฟหลุดจากเมนบอร์ดได้ง่าย

5.12. สายแลน (Lan Cable)เป็นสายนำสัญญาณที่ใช้ต่อกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายอย่าง Switch หรือ Hub และสายแลนก็ใช้ต่อกับ โมเด็มเราเตอร์เพื่อเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย