ประเภทของระบบสารสนเทศ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ประเภทของระบบสารสนเทศ by Mind Map: ประเภทของระบบสารสนเทศ

1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(MIS)

1.1. เป็นระบบสารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้งสารสนเทศภายในและภายนอกสารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์การทั้งในอดีตและปัจจุบัน

2. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(DSS)

2.1. เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร(ESS)

3.1. เป็นระบบที่สร้างขึ้น เพื่อสนับสนุน สารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ หรือ สามารถกล่าวได้ว่าระบบนี้คือส่วนหนึ่งของ DSS ที่แยกออกมา เพื่อเน้นการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อการบริการแก่ผู้บริหาร

4. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OAS)

4.1. เป็นระบบที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษส่งข่าวสารถึงกันด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แทน ซึ่งมีรูปแบบการใช้งาน 2 ลักษณะ ได้แก่

4.1.1. 1.รูปแบบของระบบงานพิมพ์และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การสื่อสารด้วยข้อความ รูปภาพ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

4.1.2. 2.รูปแบบการประชุมทางไกลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเทคนิคที่ทำให้กลุ่มคนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ คล้ายการพูดคุยกันโดยตรง เช่น การประชุมทางไกลแบบมีภาพและเสียง โทรสาร

5. ระบบประมวลผลรายการ(TPS)

5.1. เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำขององค์การ

5.1.1. ตัวอย่างเช่น การซื้อขายสินค้า เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุระกรรมในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องก็จะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นคือ ชื่อลูกค้า ประเภทลูกค้า

6. ระบบปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ(AIS&ES)

6.1. ระบบที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการณ์ ในสาขาใดสาขาหนึ่ง คล้ายกับมนุษย์ ระบบผู้เชี่ยวชาญมีส่วนคล้ายคลึงกับระบบอื่นๆ คือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการ ตัดสินใจได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดีระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่นอยู่มาก เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับการจัดการ ความรู้ (Knowledge) มากกว่าสารสนเทศ และถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่ มนุษย์ โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)