DQ

Plan your projects and define important tasks and actions

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
DQ by Mind Map: DQ

1. 4.ความปลอดภัยในโลกดิจิตอล (Digital security)

1.1. ซึ่งหมายความถึง การมีความสามารถในการตรวจสอบเบื้องต้นว่าตนเองมีภัยคุกคามในโลกไซเบอร์หรือไม่ เช่น การแฮกบัญชีผู้ใช้อีเมล์ เฟซบุ๊ก เครื่องมือสื่อสารติดไวรัสคอมพิวเตอร์ มัลแวร์ ถูกขโมยรหัสผ่าน แฮกบัญชีธนาคาร ฯลฯ และครอบคลุมไปถึงการป้องกัน การหลีกเลี่ยง และจัดการอย่างถูกวิธีเมื่อเจอภัยคุกคามหรือถูกละเมิดความปลอดภัยด้วย

2. 2.การใช้เครื่องมือและสื่อดิจิตอล (Digital use)

2.1. ทักษะในการใช้เครื่องมือและสื่อในยุคดิจิตอล เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยสามารถสร้างสมดุลให้กับชีวิตออนไลน์และออฟไลน์ได้อย่างดี มิใช่ดังเช่นที่เห็นปัจจุบันคือ หลายคนถูกเทคโนโลยีใช้ มิใช่ใช้เทคโนโลยี

3. 5.การแสดงอารมณ์ในโลกดิจิตอลอย่างชาญฉลาด (Digital emotional intelligence)

3.1. กล่าวอีกนัยหนึ่งคือทักษะในการเข้าสังคมในโลกออนไลน์ เช่น การแสดงความเห็นอกเห็นใจ เสียใจ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ยินดี สนุกสนาน ฯลฯ เพื่อสานสัมพันธ์กับผู้คนในโลกออนไลน์

4. 3.การอยู่ในโลกดิจิตอลอย่างปลอดภัย (Digital safety)

4.1. หมายถึงทักษะในการบริหารจัดการความเสี่ยงในโลกออนไลน์ เช่น การไม่ไปรังแกและสามารถจัดการกับการถูกรังแกบนโลกไซเบอร์ ได้อย่างตลอดรอดฝั่ง รวมไปถึงการเกี้ยวพาราสี การเหยียดผิว-เหยียดชนชั้น รวมไปถึงเนื้อหาต่างๆ ที่สุ่มเสี่ยงเช่น เนื้อหาที่มีความรุนแรง โป๊เปลือย ลามกหยาบคายด้วย

5. 1.อัตลักษณ์ในโลกดิจิตอล (Digital identity)

5.1. คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในยุคดิจิตอลจะต้องมีทักษะในการสร้าง บริหารอัตลักษณ์และชื่อเสียงในโลกออนไลน์ของตัวเองให้เป็น ซึ่งนั่นรวมไปถึงการจัดการกับตัวตนในโลกออนไลน์ทั้งในระยะสั้น และระยะยาวด้วย

6. 6.การสื่อสารในโลกดิจิตอล (Digital communication)

6.1. คือ ความสามารถในการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ และร่วมมือกับผู้อื่นโดยใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิตอล

7. 7.การบริหารจัดการลิขสิทธิ์ดิจิตอล (Digital Rights)

7.1. หมายถึงความเข้าใจในสิทธิเฉพาะตัว และสิทธิทางกฎหมาย รวมไปถึงสิทธิความเป็นส่วนตัว ทรัพย์สินทางปัญญา เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และหลีกเลี่ยงถ้อยคำแห่งความเกลียดชังของทั้งตัวเองและผู้อื่น

8. 8.การรู้ดิจตอล (Digital Literacy)

8.1. ทักษะนี้ดูเหมือนจะครอบคลุมทักษะอื่นๆ 7 ข้อ ที่กล่าวมาข้างต้น แต่ปาร์คระบุรายละเอียดว่า หมายความถึง ความสามารถในการค้นหา ประเมิน ใช้ประโยชน์ แบ่งปัน และสร้างสรรค์เนื้อหา รวมไปถึงความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ หรือ คิดเชิงประมวลผล (computational thinking)

9. สมาชิก

9.1. ด.ช.จุดตะวัน ณะวรรณ์ เลขที่ 7 ม 3.5

9.2. น.ส ชนรดา สิอุดร เลขที่ 19 ม 3.5

9.3. ด.ช.ปริวรรต วันดี เลขที่11 ม3.5

9.4. ด.ญ. สิริลักษณ์ ปะกิรนา เลขที่ 29 ม3.5

10. ที่มา

10.1. 8 ·ѡÉÐáËè§âš´ԨԵÍÅ 㹡Òà “ãªé෤â¹âÅÂՔ à¾×èÍãËéäÁè¶١ “෤â¹âÅÂÕãªé”