Digital intelligence quotient

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
Digital intelligence quotient by Mind Map: Digital intelligence quotient

1. Digital Emotional Inellingence ความฉลาดทางอารามณ์ดิจิทัล

1.1. 1) ทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง (Digital Citizen Identity): ความสามารถในการสร้างและบริหารจัดการอัตลักษณ์ที่ดีของตนเองไว้ได้อย่างดีทั้งในโลกออนไลน์และโลกความจริง

1.2. 2) ทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ (Screen Time Management): ความสามารถในการบริหารเวลาที่ใช้อุปกรณ์ยุคดิจิตอล และสามารถการทำงานที่หลากหลายในเวลาเดียวกันได้

1.3. 3) ทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ (Cyberbullying Management): ความสามารถในการรับรู้ และรับมือการคุกคามข่มขู่บนโลกออนไลน์ได้อย่างชาญฉลาด

1.4. 4) ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์ (Cybersecurity Management): ความสามารถในการป้องกันข้อมูลด้วยการสร้างระบบความปลอดภัยที่เข้มแข็ง และป้องกันการโจรกรรมข้อมูลหรือการโจมตีออนไลน์ได้

1.5. 5) ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว (Privacy Management): มีดุลพินิจในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลออนไลน์เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวทั้งของตนเองและผู้อื่น

1.6. 6) ทักษะการคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี (Critical Thinking): ความสามารถในการวิเคราะห์แยกแยะระหว่างข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิด ข้อมูลที่มีเนื้อหาดีและข้อมูลที่เข้าข่ายอันตราย ข้อมูลติดต่อออนไลน์ที่น่าตั้งข้อสงสัยและน่าเชื่อถือได้

1.7. 7) ทักษะในการบริหารจัดการข้อมูลที่ผู้ใช้งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ (Digital Footprints): ความสามารถในการเข้าใจธรรมชาติของการใช้ชีวิตในโลกดิจิตอลว่าจะหลงเหลือร่อยรอยข้อมูลทิ้งไว้เสมอ รวมไปถึงเข้าใจผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อการดูแลสิ่งเหล่านี้อย่างมีความรับผิดชอบ

1.8. 8) ทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม (Digital Empathy): ความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นบนโลกออนไลน์

2. Digital Right สิทธิดิจิทัล

2.1. เสรีในการพูด Freedom of speech

2.2. การคุ้มครองสิทธิของทรัพท์สินทางปัญญา Intellectual property rights

2.3. ความเป็นส่วนตัว Privacy

3. Digital Identity อัตลักษณ์ดิจิทัล

3.1. คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในยุคดิจิตอลจะต้องมีทักษะในการสร้าง บริหารอัตลักษณ์และชื่อเสียงในโลกออนไลน์ของตัวเองให้เป็น ซึ่งนั่นรวมไปถึงการจัดการกับตัวตนในโลกออนไลน์ทั้งในระยะสั้น และระยะยาวด้

4. Digital Communication การสื่อสารดิจิทัล

4.1. ความสามารถในการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ และร่วมมือกับผู้อื่นโดยใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิตอล

5. Digital Use การเข้าถึงและความสามารถในการใช้ดิจิทัล

5.1. ความสามารถสำหรับการรู้ดิจิทัลสามารถแบ่งเป็น 3 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ ใช้ (Use) เข้าใจ (Understand) และสร้าง (Create)

5.1.1. ใช้ (Use) หมายถึง ความคล่องแคล่วทางเทคนิคที่จำเป็นในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทักษะและความสามารถที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “ใช้” ครอบคลุมตั้งแต่เทคนิคขั้นพื้นฐาน คือ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (Word processor) เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) อีเมล และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ สู่เทคนิคขั้นสูงขึ้นสำหรับการเข้าถึงและการใช้ความรู้ เช่น โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล หรือ เสิร์ชเอนจิน (Search engine) และฐานข้อมูลออนไลน์ รวมถึงเทคโนโลยีอุบัติใหม่ เช่น Cloud computing

5.1.2. เข้าใจ (Understand) คือชุดของทักษะที่จะช่วยผู้เรียนเข้าใจบริบทและประเมินสื่อดิจิทัล เพื่อให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับอะไรที่ทำและพบบนโลกออนไลน์ จัดว่าเป็นทักษะที่สำคัญและที่จำเป็นที่จะต้องเริ่มสอนเด็กให้เร็วที่สุดเท่าที่พวกเค้าเข้าสู่โลกออนไลน์ เข้าใจยังรวมถึงการตระหนักว่าเทคโนโลยีเครือข่ายมีผลกระทบต่อพฤติกรรมและมุมมองของผู้เรียนอย่างไร มีผลกระทบต่อความเชื่อและความรู้สึกเกี่ยวกับโลกรอบตัวผู้เรียนอย่างไร เข้าใจยังช่วยเตรียมผู้เรียนสำหรับเศรษฐกิจฐานความรู้ที่ผู้เรียนพัฒนาทักษะการจัดการสารสนเทศเพื่อค้นหา ประเมิน และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อติดต่อสื่อสาร ประสานงานร่วมมือ และแก้ไขปัญหา

5.1.3. สร้าง (Create) คือความสามารถในการผลิตเนื้อหาและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครื่องมือสื่อดิจิทัลที่หลากหลาย การสร้างด้วยสื่อดิจิทัลเป็นมากกว่าแค่การรู้วิธีการใช้โปรแกรมประมวลผลคำหรือการเขียนอีเมล แต่มันยังรวมความสามารถในการดัดแปลงสิ่งที่ผู้เรียนสร้างสำหรับบริบทและผู้ชมที่แตกต่างและหลากหลาย ความสามารถในการสร้างและสื่อสารด้วยการใช้ Rich media เช่น ภาพ วิดีโอ และเสียง ตลอดจนความสามารถในการมีส่วนร่วมกับ Web 2.0 อย่างมีประสิทธิภาพและรับผิดชอบ เช่น Blog การแชร์ภาพและวิดีโอ และ Social media รูปแบบอื่นๆ

6. Digital Safety การจัดการความปลอดภัยดิจิทัล

6.1. ความเสี่ยงจากพฤติกรรม เครือข่ายสังคมออนไลน์” กลายเป็นสังคมที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น และมีความหลากหลายทั้งในแง่คุณลักษณะทางเพศและอายุ ตลอดจนวัตถุประสงค์การใช้งาน ที่นับวันภาพของ “สังคมออนไลน์” ก็จะยิ่งสะท้อนภาพของคนใน “สังคมไทย” เข้าไปทุกที

6.2. ความเสี่ยงจากเนื้อหา เมื่อทุกสิ่งกำลังจะเป็นดิจิทัล เด็กๆ ในปัจจุบันจึงใช้ชีวิตอยู่บนโลกออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่าผู้ปกครองจะไม่สามารถทราบได้ว่าเด็กๆ จะได้เจอกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบ้าง

6.3. ความเสี่ยงจากการติดต่อพบปะ “เครือข่ายสังคมที่เต็มไปด้วยกลุ่มวัยรุ่นที่ทำกิจกรรมติดต่อสื่อสาร พูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความบันเทิง หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เน้นไปที่การกระจายตัว “ความเป็นเมือง” ไปยังพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านการคมนาคมขนส่ง การค้าและบริการ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการสื่อสารที่ก้าวไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เราสามารถเข้าถึงบริการด้านข้อมูลข่าวสาร และการติดต่อสื่อสารในยุคการเชื่อมต่อไร้สายผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้มากขึ้น

7. Digital Literacy การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล

7.1. การคิดเชิงคำนวณอย่างเป็นระบบ Computational thinking

7.1.1. Computational Thinking (CT) เป็นกระบวนการคิดที่ต้องใช้ทักษะและเทคนิคเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งแก่นแท้คือการแก้ปัญหา แบบมีลำดับขั้นตอนให้กลายเป็นเรื่องที่สายอาชีพอื่นๆ สามารถนำแนวคิดลำดับขั้นตอนไปแก้ปัญหาในเชิงนามธรรม

7.1.2. อย่างการจัดการแถวขบวนของเจ้าของร้านอาหารที่จะทำยังไงให้ไม่เกิดภาวะต่อคิวยาวนาน หรือปัญหา Classics ที่ให้นักทำบัญชีหาวิธีการใช้เครื่องมืออื่นๆ มาช่วยบันทึกยอดมากกว่าจดลงกระดาษแล้วใช้เครื่องคิดเลขกระทบยอด เป็นต้น

7.1.3. รูป

7.2. การสร้างสรรค์เนื้อหา Content creation

7.2.1. การสร้างสรรค์ (อังกฤษ: creativity) หมายถึงการสร้างสิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่า โดยสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นอาจมีการอ้างถึงบุคคลผู้สร้างสรรค์ หรือสังคมหรือขอบเขตภายในที่ได้สร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่ขึ้นมา ซึ่งการวัดคุณค่าดังกล่าวอาจใช้ได้หลายวิธี

7.3. การคิดวิเคราะห์ Critical thinking

7.3.1. การคิดวิเคราะห์ เป็นทักษะในการคิดแบบมีเหตุมีผล เพื่อแยกแยะว่าสิ่งไหนจริง สิ่งไหนเท็จ อันจะนำไปสู่การตัดสินใจในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม

7.3.2. สำหรับผู้ที่ต้องการฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ วิธีที่ง่าย และทำได้เป็นประจำ คือ พิจารณาข่าวที่แชร์ต่อ ๆ กันมาทางโซเชี่ยล เน็ตเวิร์ก ว่า เรื่องไหนน่าจะจริง เรื่องไหนน่าจะเท็จ จากนั้นก็ลองตรวจสอบดูว่า ที่คิดไว้ถูกต้อง หรือผิด

8. สมาชิกกลุ่ม

8.1. ด.ช.กษิดิ์เดช ปัญญากูล เลขที่6 ม.3.2

8.2. ด.ญ.นิรินธร ตาแก้ว เลขที่14 ม.3.2

8.3. ด.ญ.อัญชลี คำแก่น เลขที่19 ม.3.2

8.4. ด.ญ.อัญมณี ขันสุธรรม เลขที่35 ม.3.2

8.5. ด.ญ.สุคำ ปัญญาคำ เลขที่37 ม.3.2

9. Digital Security ระบบความปลอดภัยดิจิทัล

9.1. การมีความสามารถในการตรวจสอบเบื้องต้นว่าตนเองมีภัยคุกคามในโลกไซเบอร์หรือไม่ เช่น การแฮกบัญชีผู้ใช้อีเมล์ เฟซบุ๊ก เครื่องมือสื่อสารติดไวรัสคอมพิวเตอร์ มัลแวร์ ถูกขโมยรหัสผ่าน แฮกบัญชีธนาคาร ฯลฯ และครอบคลุมไปถึงการป้องกัน การหลีกเลี่ยง และจัดการอย่างถูกวิธีเมื่อเจอภัยคุกคามหรือถูกละเมิดความปลอดภัยด้วย