1. Digital Security ระบบความปลอดภัยดิจิทัล
1.1. เรียนรู้วิธีป้องกันตัวออนไลน์ สังคมทั่วไปมีทั้งคนดีและไม่ดี เมื่ออยู่ที่บ้าน คุณพ่อคุณแม่ดูแลความปลอดภัยให้ลูกๆด้วยการสร้างรั้วสูง ติดล้อคกลอนประตูหน้าต่าง ติดระบบสัญญาณกันขโมย ฯลฯ ในสังคมออนไลน์
1.2. ภัยอันตรายมาถึงตัวเด็กๆได้หลายรูปแบบ ยากมากที่พ่อแม่จะคอยปกป้อง เด็กๆจึงจำเป็นต้องรู้จักวิธีป้องกันตัวเองจาก ผู้คิดร้าย เช่น ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ติดโปรแกรมป้องกันไวรัส back up ข้อมูลบ่อยๆ ฯลฯ
1.3. Cybersecurity management มีความรู้ความเข้าใจและสามารถดูแลด้านความปลอดภัยของข้อมูลบนโลกไซเบอร์ได้ เช่น การสร้างพาสเวิร์ดที่เจาะได้ยาก หรือการรับมือกับภัยคุกคามบนโลกดิจิทัล
1.4. Privacy management มีความเข้าใจในเรื่องความเป็นส่วนตัว (Privacy) ทั้งของตนเองและของผู้อื่น ซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การแชร์ข้อมูลต่างๆ ด้วยเครื่องมือดิจิทัล
2. Digital Rights สิทธิดิจิทัล
2.1. Freedom of speech เสรีภาพในการพูด
2.1.1. Freedom of Speech ในนัยยะทั้ง 3 แบบ 1.เสรีภาพในการแสดงออก การพูด เขียน เพื่อสื่อสารต่อสาธารณะ 2.เสรีภาพในการรับรู้และค้นหาข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ในพื้นที่สาธารณะ 3.หลักประกันความเสมอภาค ของสมาชิกในสังคมที่จะนำเสนอและรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ถามว่า Freedom of Speech มีดีกรีแค่ไหนในสังคม คำตอบคือมีขีดจำกัด ในขณะที่คุณใช้เสรีภาพของคุณแต่ก็ไปละเมิดสิทธิและเสรีภาพคนอื่นเช่นกัน คำถามคือแล้วแค่ไหน คำตอบคือ 2 แบบ 1.Freedom สิทธิ เสรีภาพ พื้นฐาน ที่มีอยู่ Normative ของสังคมประชาธิปไตย มากกว่านั้นไม่ใช่เสสรีภาพหากแต่คือคือการละเมิดผู้อื่นนั้นเอง 2.Freedom of Speech คือเสรีภาพทางการเมืองที่มีอยู่ในระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องได้รับการรองรับ ซึ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้หากอยู่ในการปกครองระบอบเผด็จการ
2.2. Privacy ความเป็นส่วนตัว
2.2.1. Privacy กระตุ้นการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว และหาแนวทางที่เหมาะสมให้การคุ้มครองครอบคลุมและสอดคล้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity)
2.3. Intellectual property rights การคุ้มครองสิทธิของทรัพย์สินทางปัญญา
2.3.1. การคุ้มครองผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก ทรัพย์สินทางปัญญาอาจแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่างๆ หรือในรูปของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจ กรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เป็นต้น
2.4. คือเทคโนโลยีที่ใช้โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อควบคุมการเข้าถึงและการใช้งานข้อมูลดิจิทัล (เช่น ซอฟต์แวร์ เพลง ภาพยนตร์) และฮาร์ดแวร์ซึ่งใช้จำกัดการใช้งานข้อมูลดิจิทัลเฉพาะงานใดงานหนึ่ง การจัดการสิทธิดิจิทัลมักสับสนกับ การป้องกันการคัดลอก ซึ่งหมายถึงเทคโนโลยีในการจำกัดการใช้งานและการเข้าถึงข้อมูลบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการสิทธิดิจิทัล
3. Digital Identity อัตลักษณ์ดิจิทัล
3.1. แอพลิเคชั่นนี้จะทำหน้าที่ติดตามข้อมูลดิจิตอลและพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมของเจ้าของสมาร์ทโฟน เพื่อนำมาใช้ยืนยันตัวตนของบุคคลดังกล่าว โดยผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนจะร่วมกันสร้างเครือข่ายชื่อเสียง หรือ “Reputation Network” ที่เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถขอให้เพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวช่วยยืนยันตัวตนผู้ใช้งานคนอื่นๆ ว่าเป็นไปตามที่เจ้าตัวกล่าวไว้จริงหรือไม่ ยิ่งใช้งานแอพพลิเคชั่นนี้มากขึ้นเท่าไร ข้อมูลที่ระบุถึงตัวตนของผู้ใช้งานก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
3.2. Digital entrepreneur ผู้ประกอบการดิจิทัล
3.3. Digital co-creator ผู้ร่วมสร้างดิจิทัล
3.4. Digital citizen พลเมืองดิจิทัล
3.4.1. การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ นั่นคือการสอนเด็กให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการมีตัวตนบนโลกดิจิทัล และสามารถบริหารจัดการตัวตนทั้งบนโลกออนไลน์และโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. Digital Emotional Intelligence ความฉลาดทางอารมภ์ดิจิทัล
4.1. ทักษะสำคัญของ Emotional Intelligence 5 ข้อ
4.1.1. “รู้ตนเอง” : พื้นฐานที่สำคัญที่สุดของ Emotional Intelligence คือเราต้อง “รับรู้” ในภาวะอารมณ์ของตนเอง เหตุของมันคืออะไร แล้วเราจะแสดงหรือโต้ตอบสิ่งที่เป็นสาเหตุนั้นได้อย่างไร ผู้นำที่เก่งหลายคน (ลองสังเกตุหัวหน้างานที่เป็นแบบอย่างดีๆในบริษัทตัวเองหรือบริษัทชื่อดัง) มักจะมีความสามารถในการ “รับรู้” ที่สูงมาก ทำให้สามารถจัดการกับสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา และหาทางจัดการหรือตอบโต้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2. “รู้ผู้อื่น” : ยิ่ง “ผู้นำ” รู้ตนเองมากเท่าไร เขายิ่งพัฒนาทักษะที่จะ “รับรู้ในภาวะอารมณ์ขอผู้อื่น” มากขึ้นเท่านั้น
4.1.3. “ฟังเป็น” : คนจำนวนมากสอบตกเรื่องการตอบโต้สิ่งเร้าที่เข้ามาในชีวิต ด้วยเหตุผลที่ว่าตัวเรามักคิดว่าตนมีความคิดและความรู้ที่ถูกจึง “พูด” หรือ Action เสียมากกว่าการ “ฟังผู้อื่นอย่างเข้าใจ” ดังนั้น ผู้นำที่มี Emotional Intelligene สูงมักระวังตัวเสมอให้ตัวเองไม่ได้แค่ฟังเรื่องราวที่คนอื่นพูดในมุมของ Content หรือ Context เท่านั้น
4.1.4. “รู้ถึงอารมณ์ของสภาพแวดล้อม” : ผู้นำที่ดีจะไม่รับรู้เรื่องราวเพียงแค่คนแบบที่จะต้องมาสนทนากันต่อหน้าเท่านั้น แต่ต้องสามารถเลือก และรับรู้อารมณ์ และความรู้สึกของบรรยากาศในสถานที่ทำงานของตนในชีวิตประจำวันได้ มักมีหลายปัจจัยที่มีอิทธิผลต่ออารมณ์ที่เกิดและเปลี่ยนแปลงในที่ทำงานของทีมงานเรา บ้างก็เป็นความรู้สึกในแง่งาน บ้างก็เรื่องครอบครัวของทีมงาน บ้างก็เป็นข่าวลือต่างๆ ที่กระทบต่อความรู้สึกปลอดภัยของทีมงานจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งจริงๆ สิ่งเหล่านี้คือเรื่องธรรมดาสามัญที่ต้องเกิดเมื่อองค์กรหมุนไปเรื่อยๆ
4.1.5. “ความสามารถคาดการณ์ว่าผู้อื่นจะแสดงอารมณ์หรือกระทำสิ่งใดออกมา พร้อมโต้ตอบได้อย่างเหมาะสม” : ผู้นำที่มี Emotional Intelligence ที่สูงจะสามารถคาดในสิ่งที่ผู้อื่นจะแสดงออกในแต่ละสภานการณ์ได้ โดยเฉพาะกรณีที่การโต้ตอบจากผู้อื่นจะสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้น
4.2. หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ มีจิตใจที่มั่นคง การมองโลกในแง่ดี รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีความมุ่งมั่นแน่วแน่ มีเหตุผล มีสติ สามารถควบคุมตนเอง มีความสามารถในการรับรู้ถึงความต้องการของคนอื่น และรู้จักมารยาททางสังคม เป็นต้น
5. Digital Safety การจัดการความปลอดภัยดิจิทัล
5.1. Content risks ความเสี่ยงจากเนื้อหา
5.1.1. Behavioral risks ความเสี่ยงจากพฤติกรรม
5.1.2. Contact risks ความเสี่ยงจากการติดต่อพบปะ
5.2. หมายถึงทักษะในการบริหารจัดการความเสี่ยงในโลกออนไลน์ เช่น การไม่ไปรังแกและสามารถจัดการกับการถูกรังแกบนโลกไซเบอร์ (Cyberbullying) ได้อย่างตลอดรอดฝั่ง รวมไปถึงการเกี้ยวพาราสี การเหยียดผิว-เหยียดชนชั้น รวมไปถึงเนื้อหาต่างๆ ที่สุ่มเสี่ยงเช่น เนื้อหาที่มีความรุนแรง โป๊เปลือย ลามกหยาบคายด้วย
6. Digital Literacy การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล
6.1. อ่านออก เขียนได้ ใช้เป็น เทคโนโลยีดิจิตอลเป็นศาสตร์ที่กว้างมาก คุณครูจำเป็นต้องเลือกสรรเนื้อหาที่นักเรียนควรรู้ แล้วนำมาถ่ายทอดและฝึกฝนให้นักเรียนใช้เป็นและใช้คล่อง
6.2. เทคโนโลยีบางอย่างเช่น video conference and online sharing space such as wikis ถูกนำไปใช้ เป็นเครื่องมือสื่อสารปกติในภาคธุรกิจ แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมในการเรียนการสอน (Skype, live chat)
6.3. นักเรียนจะได้ฝึกค้นหาข้อมูล ฝึกการใช้ search engine ฝึกวิเคราะห์ แยกแยะ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนที่จะแชร์หรือส่งต่อให้ผู้อื่น รู้จักสร้างหรือเขียนข้อความของตนเองโดยเคารพกฎหมายลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา (ไม่ copy & paste) และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของคนอื่น
6.4. Digital Literacy เป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญ นักเรียนจำเป็นต้องมีติดตัวเหมือน computer literacy ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์วัดความสามารถอย่างหนึ่งในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย รวมถึงการสมัครงานในอนาคต
7. Digital use การเข้าถึงและความสามารถในการใช้ดิจิทัล
7.1. Screen time การใช้เวลาหน้าจอ
7.1.1. ภัยอันตรายมาถึงตัวเด็กๆได้หลายรูปแบบ ยากมากที่พ่อแม่จะคอยปกป้อง เด็กๆจึงจำเป็นต้องรู้จักวิธีป้องกันตัวเองจาก ผู้คิดร้าย เช่น ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ติดโปรแกรมป้องกันไวรัส back up ข้อมูลบ่อยๆ ฯลฯ
7.2. community participation การมีส่วนร่วมของชุมชน
7.2.1. การมีส่วนร่วมของชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนนั้น จะต้องประกอบไปด้วยองค์กรหลักๆอยู่ 3 องค์กร คือ รัฐบาล (Government) ประชาชน (People) และชุมชน (Community) ซึ่งองค์กรชุมชนนั้นเป็นองค์กรพื้นฐานที่สำคัญของการเป็นรากฐานของประเทศ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนและการพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้าไป
7.3. Digital health สุขภาพ การแพทย์ดิจิตอล
7.3.1. Example
7.3.2. ทำให้เกิดแพลทฟอร์มรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวช่วยสำคัญสำหรับการผันตัวสู่ความเป็นดิจิตอลมากขึ้น โดยอุตสาหกรรมทางการแพทย์ (Healthcare) ก็ต้องผันตัวเองให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนี้เช่นกัน โดยไอทีก็มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนโฉมนวัตกรรมทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วย ผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้บริการด้านสุขภาพ เพื่อตอบรับกันเทรนด์โลก หรือ ดิจิตอลเฮลท์แคร์
8. Digital Communication การสื่อสารดิจิทัล
8.1. Online collaboration ความร่วมมือออนไลน์
8.2. Online communication การสื่อสารออนไลน์
8.3. Digital footprints ร่องรอยเท้าดิจิทัล
8.3.1. การสอนให้เด็กๆ เข้าใจถึงสิ่งที่ตนเองทิ้งเอาไว้บนโลกดิจิทัล ซึ่งบางครั้งอาจถูกผู้อื่นสะกดรอยตามจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านั้นจนอาจมีผลกระทบต่อชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริงได้ เพื่อให้เด็กๆ รู้จักบริหารจัดการชีวิตบนโลกดิจิทัลอย่างรับผิดชอบ