Get Started. It's Free
or sign up with your email address
Digital by Mind Map: Digital

1. Digital Use

1.1. สามารถใช้อุปกรณ์ดิจิตอลและสื่อที่มีการเรียนรู้ และการควบคุมและการบรรลุความสมดุลในชีวิตทั้งออนไลน์และออฟไลน์

1.1.1. Community participation ประกอบไปด้วยองค์กรหลักๆอยู่ 3 องค์กร คือ รัฐบาล (Government) ประชาชน (People) และชุมชน (Community) ซึ่งองค์กรชุมชนนั้นเป็นองค์กรพื้นฐานที่สำคัญของการเป็นรากฐานของประเทศ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนและการพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้าไป

1.1.2. Screen time management การรู้จักควบคุมตัวเองและสามารถแบ่งเวลา ในการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเล่นเกมออนไลน์และ โซเชียลมีเดียอย่างรับผิดชอบ

1.1.3. Digital Health & Wellness เรียนรู้ท่านั่งที่ถูกต้องขณะใช้ PC รู้ถึงผลกระทบต่อสายตา กระดูกสันหลังสมอง (กรณีคลื่นโทรศัพท์) หากใช้โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือ PC ผิดวิธี การเล่นเกมเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเกมต่อสู้หรือที่มีเนื้อหารุนแรง นอกจากจะทำให้ดวงตาเสื่อมเร็วแล้ว ยังสามารถทำให้ผู้เล่นเครียด หงุดหงิด และกลายเป็นคนอารมณ์ฉุนเฉียวง่ายอีกด้วย

2. Digital Security

2.1. เรียนรู้วิธีป้องกันตัวออนไลน์

2.1.1. Cybersecurity management มีความรู้ความเข้าใจและสามารถดูแลด้านความปลอดภัยของข้อมูลบนโลกไซเบอร์ได้ เช่น การสร้างพาสเวิร์ดที่เจาะได้ยาก หรือการรับมือกับภัยคุกคามบนโลกดิจิทัล

2.1.2. Privacy management มีความเข้าใจในเรื่องความเป็นส่วนตัว (Privacy) ทั้งของตนเองและของผู้อื่น ซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การแชร์ข้อมูลต่างๆ ด้วยเครื่องมือดิจิทัล

3. Digital Communication

3.1. เลือกเครื่องมือและช่องทางสื่อสารที่เหมาะสม

3.1.1. Online Communication ทุกคนสามารถใช้สื่อออนไลน์เพื่อสื่อสารหรือแสดงตัวตนให้ผู้อื่นรู้ (Line,Instagram,Facebook,etc.) แต่คนที่รู้จริงเท่านั้นจึงจะสามารถเลือกใช้ สื่อออนไลน์ได้ถูกกาละเทศะและได้ประสิทธิภาพสูงสุด เริ่มตั้งแต่อุปกรณ์สื่อสาร เครือข่ายที่เหมาะสม รวมถึงแอพพลิเคชั่นต่างๆ

3.1.2. Digital footprints การสอนให้เด็กๆ เข้าใจถึงสิ่งที่ตนเองทิ้งเอาไว้บนโลกดิจิทัล ซึ่งบางครั้งอาจถูกผู้อื่นสะกดรอยตามจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านั้นจนอาจมีผลกระทบต่อชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริงได้ เพื่อให้เด็กๆ รู้จักบริหารจัดการชีวิตบนโลกดิจิทัลอย่างรับผิดชอบ

4. Digital Emotional Intelligence

4.1. มีความสามารถในการเอาใจใส่ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นเมื่อใช้สื่อดิจิทัล

4.1.1. Digital empathy มีความสามารถในการแสดงน้ำใจบนโลกออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม

4.1.2. social and emotional awareness ความตระหนักรู้ทางสังคมจะมุ่งเน้นการทำความเข้าใจคนในสังคม และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้ บุคคลที่มีความตระหนักรู้ทางสังคมจะมีความสามารถในการรับรู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น สามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดจากสังคม สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของสังคม และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติ

5. Digital Safety

5.1. สามารถตรวจหาความเสี่ยงออนไลน์ เช่นกลั่นแกล้งไซเบอร์ และเนื้อหาที่มีปัญหา เช่นความรุนแรงและหยาบคาย และรู้วิธีหลีกเลี่ยง และจำกัดความเสี่ยงเหล่านี้

5.1.1. Cyberbullying management การรับมือกับปัญหาการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ได้อย่างชาญฉลาด

6. Digital Rights

6.1. ทุกคนมีอิสระในการแสดงออก แต่ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เขียน พูด และกระทำลงไป

6.1.1. Digital Access ทุกคนมีสิทธิเสมอภาคที่จะใช้อินเตอร์เน็ต ในฐานะพลเมืองดีในสังคมออนไลน์ นักเรียนมีบทบาทส่งเสริมความเสมอภาค โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส ด้วยการสนับสนุนให้พวกเขามีคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนใช้ และสามารถเข้าถึงสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้ทุกโรงเรียน ทุกตำบล ตลอด 24 ชั่วโมง

6.1.2. Intellectual property rights เป็นสิทธิที่ให้บุคคลที่ผ่านการสร้างสรรค์ของจิตใจของพวกเขา พวกเขามักจะให้โปรแกรมเฉพาะที่มากกว่าการใช้ระยะเวลาการสร้างตน

7. Digital Literacy

7.1. อ่านออก เขียนได้ ใช้เป็น

7.1.1. Computational thinking การฝึกค้นหาข้อมูล ฝึกการใช้ search engine ฝึกวิเคราะห์ แยกแยะ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนที่จะแชร์หรือส่งต่อให้ผู้อื่น รู้จักสร้างหรือเขียนข้อความของตนเองโดยเคารพกฎหมายลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญา (ไม่ copy & paste) และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของคนอื่น

7.1.2. Critical thinking การฝึกให้เด็กๆ มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ แยกแยะข้อมูลบนโลกดิจิทัล ตั้งแต่ว่าเป็นข้อมูลจริงหรือปลอม มาจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือไหม เป็นประโยชน์หรือเป็นอันตราย

8. Digital Identity

8.1. สร้างและจัดการตัวตนออนไลน์ของตนและชื่อเสียง ตระหนักถึงตัวดิจิตอล และสามารถจัดการผลกระทบของสถานะออนไลน์

8.1.1. Digital citizen identity การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ นั่นคือการสอนเด็กให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการมีตัวตนบนโลกดิจิทัล และสามารถบริหารจัดการตัวตนทั้งบนโลกออนไลน์และโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

9. MEMBERS

9.1. 1. ด.ช. เกียรติชัย อนุวรชิกา เลขที่ 7

9.2. 2. ด.ญ. ชลธิชา เตชะน้อย เลขที่ 11

9.3. 3. ด.ญ. ฐิติพร ปันวิชัย เลขที่ 12

9.4. 4. ด.ญ. ธันวรักษ์ บุญก่อน เลขที่ 13

9.5. 5. ด.ญ. ชัญญานุช ยันนะศักดิ์ เลขที่ 22