บทเรียนสำเร็จรูป

Kom i gang. Det er Gratis
eller tilmeld med din email adresse
บทเรียนสำเร็จรูป af Mind Map: บทเรียนสำเร็จรูป

1. กระบวนการผลิตและพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป

1.1. 1. ขั้นวางแผน (Planning)

1.1.1. ศึกษาหลักสูตร เพื่อให้ทราบถึงเนื้อหาสาระที่จะนำมาจัดทำเป็นบทเรียนสำเร็จรูป

1.1.2. กำหนดเนื้อหาสาระที่จะนำมาจัดทำบทเรียน

1.1.3. กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น

1.1.4. จุดประสงค์นำทาง จุดประสงค์ปลายทาง

1.1.5. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังว่า เมื่อผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้จบแล้ว ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง

1.1.6. วิเคราะห์ความยาก-ง่ายของเนื้อหา

1.1.7. เตรียมสร้างแบบทดสอบทั้งก่อนและหลังเรียนในแต่ละกรอบสาระการเรียนรู้ให้ครอบคลุม

1.1.8. ความรู้ (Knowledge)

1.1.9. ทักษะ/กระบวนการ (Skills Practice/Process)

1.1.10. เจตคติ (Attitude)

1.2. 2. ขั้นการผลิต (Production)

1.2.1. 1) เขียนบทเรียนสำเร็จรูปประกอบด้วย

1.2.1.1. จุดประสงค์ของบทเรียนสำเร็จรูป

1.2.1.2. ข้อทดสอบก่อนและหลังเรียน

1.2.1.3. กิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกรอบสาระการเรียนรู้หลักและกรอบสาระการเรียนรู้สาขา

1.2.1.4. นำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามที่วางแผนไว้

1.2.1.5. การวัดผลประเมินผล

1.2.2. 2) สร้างแผนการเรียนรู้

1.2.2.1. ศึกษาวิธีการสร้างแผนการเรียนรู้

1.2.2.2. ศึกษาบทเรียนสำเร็จรูป

1.2.2.3. เขียนแผนการเรียนรู้ตามเนื้อหา โดยพิจารณาความสอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหาและเวลาที่ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้

1.2.2.4. นำแผนการเรียนรู้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพ

1.2.2.5. ปรับปรุงแก้ไข ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ

1.3. 3. ขั้นการทดลองต้นฉบับ (Prototype testing)

1.3.1. นำบทเรียนสำเร็จรูปต้นฉบับไปทดลองกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.3.1.1. ขั้นหนึ่งต่อหนึ่ง นำบทเรียนสำเร็จรูปไปทดลองกับกลุ่มทดลองที่ยังไม่เคยศึกษาเรื่องนั้นมาก่อน เพื่อดูความถูกต้องของเนื้อหา ขั้นตอนต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ จากนั้นจึงนำผลและข้อบทพร่องที่พบ มาปรับปรุงแก้ไข เพื่อใช้ในการทดลองขั้นกลุ่มเล็กต่อไป

1.3.1.2. ขั้นกลุ่มเล็ก นำบทเรียนสำเร็จรูปที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขในขั้นหนึ่งต่อหนึ่งไปทดลองกับกลุ่มทดลองที่กำลังเรียนเนื้อหาวิชานั้น เพื่อตรวจสอบความบกพร่องของบทเรียน และเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่ เมื่อทดลองแล้วพบว่าประสิทธิภาพยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ จะต้องปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาของบทเรียนสำเร็จรูป และปรับปรุงกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งแบบทดสอบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

1.3.1.3. ขั้นกลุ่มใหญ่ นำบทเรียนสำเร็จรูปไปทดลองกับกลุ่มทดลองที่กำลังเรียนเนื้อหาวิชานั้น และเป็นกลุ่มทดลองที่มีลักษณะและคุณสมบัติใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจริง ๆ ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่ เมื่อทดลองแล้วพบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ก็ดำเนินการจัดทำต้นฉบับเพื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างต่อไป

1.4. 4. ขั้นทดลองใช้จริง

1.4.1. การทดลองใช้จริง เพื่อหาประสิทธิภาพบทเรียนสำเร็จรูป มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้

1.4.1.1. 1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป

1.4.1.1.1. 1.1 ให้ผู้เรียน ศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนในการเรียนอย่างละเอียด โดยอ่านจากคำชี้แจง/คำแนะนำในการศึกษาด้วยบทเรียนสำเร็จรูป

1.4.1.1.2. 1.2 ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) ครูตรวจแบบทดสอบก่อนเรียนและให้คะแนน

1.4.1.1.3. 1.3 ผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียนที่ระบุไว้ในบทเรียนสำเร็จรูปครบถ้วนแล้ว ให้ทำแบบฝึกหัดและตรวจตำตอบจากคำเฉลยที่ให้ไว้ ทำเช่นนี้ทุกหน่วยการเรียนรู้จนครบ

1.4.1.1.4. 1.4 ครูตรวจสอบการตอบคำถามในแต่ละกรอบและการทำแบบฝึกหัดของผู้เรียนทุกหน่วยการเรียนรู้

1.4.1.1.5. 1.5 หลังจากผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ ในบทเรียนสำเร็จรูปจบแล้วให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post-test)

2. จุดมุ่งหมายของบทเรียนสำเร็จรูป

2.1. 1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเต็มความสามารถ โดยครูคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือเมื่อผู้เรียนมีปัญหา

2.2. 2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตามลำดับขั้น จากง่ายไปหายาก

2.3. 3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประเมินตนเอง และทราบถึงพัฒนาการในการเรียนรู้ของตนเอง

2.4. 4. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจ เมื่อประสบความสำเร็จในการเรียนรู้

3. หลักการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูปจุดมุ่งหมายของบทเรียนสำเร็จรูป

3.1. 1. ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม หรือมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม

3.2. 2. ผู้เรียนได้ประเมินตนเอง และรู้คำตอบได้ทันที

3.3. 3. มีการเสริมแรงให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจเมื่อสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง และมีความพยายามที่จะแก้ไขส่วนที่บกพร่อง

3.4. 4. ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปที่ละลำดับ จากง่ายไปยากตามศักยภาพและความสามารถของ แต่ละคน

4. ข้อดั/ข้อเสีย ของบทเรียนสำเร็จรูป

4.1. ข้อดี

4.1.1. 1. นักเรียนมีโอกาสเรียนด้วยตนเอง, ฝึกให้รู้จักเป็นคนมีความรับผิดชอบ และดำเนินไปตามความสามารถของตน คล้ายกับนักเรียนได้มีโอกาสเรียนกับครูแบบตัวต่อตัว

4.1.2. 2. ช่วยให้ครูทำงานน้อยลงในด้านการสอนข้อเท็จจริงต่างๆ, ครูจะมีโอกาสใช้เวลาเหล่านั้นไปในการเตรียมบทเรียนอื่น ๆ ให้ก้าวหน้า หรือใช้เวลาในการดูแลการเรียนของนักเรียนแต่ละคนได้มากขึ้น.

4.1.3. 3. ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนอยากเรียนเพราะมีการเร้าให้ตอบและมีกำลังใจเมื่อตอบถูก โดยที่แม้ตอบผิดก็ไม่มีผู้อื่นเยาะเย้ยเพราะไม่มีผู้อื่นทราบ และเมื่อตอบผิดแล้ว ก็สามารถจะแก้ไขความเข้าใจผิดได้ทันทีด้วยตัวเอง

4.1.4. 4. สนองความสามารถและความแตกต่างระหว่างนักเรียน นักเรียนที่เรียนช้าจะมีโอกาสได้ทบทวนศึกษา แต่นักเรียนที่เรียนได้เร็วก็จะมีโอกาสใช้เวลาไปศึกษาเรื่องอื่นๆ ไม่ต้องรอเพื่อนที่เรียนช้า

4.1.5. 5. เป็นการแก้วิธีการศึกษาในปัจจุปัน ที่นักเรียนมักขาดเรียนเมื่อครูสอนหรือมัวแต่ไปทำกิจกรรมอื่นๆในชั่วโมงเรียนปกติ ให้มีโอกาสได้เรียนรู้ทันเพื่อนๆได้

4.1.6. 6. ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครูในวิชาพิเศษ หรือครูมีภารกิจอื่นๆ ไม่สามารถเข้าสอนได้

4.1.7. 7. เป็นการทุ่นเวลาในการสอนบทเรียนหนึ่ง ๆ เพราะผลจากการวิจัยพบว่าบทเรียนสำเร็จรูป สามารถสอนเนื้อหาได้มากเท่ากับวิธีสอนอย่างอื่นโดยใช้เวลาน้อยกว่า ดังนั้นหากครูสามารถจำกัดเวลาสอนให้เหลือได้ ก็อาจป้อนเนื้อหาวิชาเพิ่มเติมให้มากขึ้นได้ ซึ่งครูส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการเขียนกระดานมาก

4.1.8. 8. เวลาที่นักเรียนแต่ละคนใช้ในการทำบทเรียน จะเป็นเครื่องวัดแสดงถึงความแตกต่างระหว่างนักเรียนในชั้น จึงเป็นการประเมินผลการเรียนของนักเรียนได้ง่าย

4.2. ข้อบกพร่อง

4.2.1. 1. ไม่อาจใช้แทนครูได้โดยสิ้นเชิง เพราะนักเรียนยังต้องการคำชี้แจง แนะนำจากครูอยู่อีกมาก

4.2.2. 2. เนื้อหาวิชาบางวิชาที่ต้องการผลสนองตอบในแง่ความคิด เช่น เรียงความจะใช้ไม่ได้ผล

4.2.3. 3. การที่นักเรียนมีความแตกต่างระหว่างบุคคลนั้น นักเรียนเก่งอาจทำเสร็จไว้ก่อนแล้ว หรือเคยศึกษาล่วงหน้าไว้ก่อนจะไม่มีอะไรทำอีก ทำให้เบื่อหน่าย หรืออาจไม่สนใจเข้าเรียนในชัวโมงเรียนเพื่อหวังว่าจะไปเรียนจากโปรแกรมก็ได้ ดังนั้นครูผู้ควบคุมจึงต้องระวังควบคุมและคอยเพิ่มเติมงานอื่นพิเศษให้เขาได้ศึกษาเพิ่มเติมด้วย ( ไม่ควรให้นักเรียนได้เรียนก่อนที่ครูจะอนุญาตให้เข้าดูเป็นเรื่องๆไป )

4.2.4. 4. บทเรียนสำเร็จรูป เป็นสิ่งที่ครูสร้างขึ้น ย่อมไม่วิเศษไปกว่าครู บทเรียนบางบทก็ไม่สนองให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ ทำให้เสียเวลาและสร้างความสับสน หากไม่มีการวิเคราะห์จัดหาให้ถูกต้อง (ครูจะต้องติดตามสอดส่องดูแลและประเมินผลอย่างใกล้ชิด )

5. บทเรียนสำเร็จรูป หมายถึง บทเรียนที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ในแต่ละสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแต่ละบทเรียนบทเรียน ผู้เรียนสามารถศึกษา ค้นคว้า และประเมินผลการเรียนด้วยตนเองตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ผู้เรียนสามารถศึกษา ค้นคว้า และประเมินผลการเรียนด้วยตนเองตามขั้นตอนที่กำหนดไว้

5.1. ชนิดของบทเรียนสำเร็จรูป

5.1.1. 1. บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง (Linear Programme)

5.1.2. 2. บทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา (Branchine Programme)

5.1.3. 3. บทเรียนสำเร็จรูปแบบไม่แยกกรอบ

6. ส่วนประกอบของบทเรียนสำเร็จรูป

6.1. 1. คำชี้แจง/คำแนะนำในการศึกษาด้วยบทเรียนฉบับนั้น

6.2. 2. แนวคิด

6.3. 3. วัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เกิดจากการศึกษาบทเรียนสำเร็จรูป

6.4. 4. เนื้อหาเรียงลำดับจากง่ายไปยาก

6.5. 5. แบบฝึกหัด/คำถาม เพื่อทบทวนความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้ศึกษา พร้อมเฉลย

6.6. 6. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

6.7. 7. เฉลยแบบทดสอบ

7. ลักษณะสำคัญของบทเรียนสำเร็จรูป

7.1. การออกแบบการบรรจุเนื้อหาและสาระการเรียนรู้ออกเป็น กรอบ (Frame) ซึ่งเนื้อหาและสาระการเรียนรู้ดังกล่าวนั้นจะนำมาจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้ย่อย ๆ แล้วบรรจุเนื้อหาสาระการเรียนรู้หน่วยย่อย ๆ ดังกล่าวลงไปในกรอบแต่ละกรอบให้มีความสัมพันธ์และเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยาก กรอบสาระการเรียนรู้ (Frame) ในแต่ละกรอบของบทเรียนสำเร็จรูปประกอบด้วย ดังนี้

7.1.1. 1. การอธิบายเนื้อหา

7.1.2. 2. แบบประเมินผลก่อนเรียน

7.1.3. 3. เนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้

7.1.4. 4. คำถาม

7.1.5. 5. เฉลยคำตอบ

7.1.6. 6. แบบประเมินผลหลังเรียน