การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา (D3)

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา (D3) by Mind Map: การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา (D3)

1. ตัวชี้วัดที่ 2.4 การกำกับ ติดตาม ประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา (วรรณพร)

1.1. ชื่อโครงการ: ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา

1.1.1. หลักการและเหตุผล

1.1.1.1. การปฏิรูปการศึกษามีความมุ่งหมายที่จะจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีความสามารถและอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุข การดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีพลังและมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องมีการกระจายอำนาจและให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๔๓ ที่กำหนดให้บุคคลย่อมมีเสรีภาพเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และในมาตรา ๒๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ กำหนดให้มีคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อทำหน้าที่ในการกำกับ ดูแลการบริหารและการจัดการศึกษาด้านวิชาการเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการดำเนินการ โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและสถานศึกษา ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเตรียมการรับการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลจากหน่วยงานภายนอก ดังนั้น เพื่อให้การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่ การศึกษาเพื่อติดตามผลการดำเนินงานบริหารการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 โดยคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาเป็นไป อย่างต่อเนื่อง จึงต้องจัดประชุมเพื่อทราบความก้าวหน้าการจัดการศึกษา ตลอดจนพิจารณาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา อย่างน้อยปีละ ๔ ครั้ง

2. ด้านที่ 3

2.1. ตัวชี้วัดที่ 3.1 การมีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม

2.1.1. ชื่อโครงการ : ส่งเสริมพัฒนาความสามารถ พิเศษทางด้านกีฬา (นางสาววัลยา จิ๋วแก้ว)

2.1.1.1. หลักการและเหตุผล

2.1.1.1.1. นักเรียนเป็นเยาวชนของชาติที่มีการพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อย่างรวดเร็ว การพัฒนาในด้านต่างๆ ของเยาวชนควรมีการพัฒนาอย่าง ต่อเนื่องทุกด้าน หลักความแตกต่างระหว่างบุคคลทางจิตวิทยา ในการ พัฒนาการจะมีอยู่คู่กับมนุษย์ทุกยุกต์ทุกสมัย ที่ทำให้ความสามารถของบุคคล ไม่เท่าเทียมกันทุกๆ ด้าน บางบุคคลมีความสามารถเป็นเลิศทางวิชาการ บางบุคคลมีความสามารถเป็นเลิศทางการช่าง บางบุคคลมีความสามารถ เป็นเลิศทางด้านกีฬา ความสามารถของเยาวชนแต่ละคนมีอยู่ในตัวแล้ว ถ้าได้ รับการกระตุ้นหรือเสริมแรงจะทำให้เห็น เด่นชัดในความสามารถ และสามารถ นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง แก่สังคม และแก่ประเทศชาติ ปัจจุบันนักจิตวิทยาและนักวิชาการได้มีการยอมรับว่าทักษะทางด้าน กีฬาเป็นทักษะทางปัญญาอีกด้านหนึ่ง นักเรียนที่เป็นเยาวชนในโรงเรียน เจริญศิลป์ศึกษาก็สมควรได้รับการพัฒนาทางด้านต่างๆ ให้เหมาะสมกับวัย และความถนัด ทางกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาเห็นว่า นักเรียนที่มีทักษะและความสามารถดีเด่นทางด้านกีฬา ควรจะมีโอกาสแสดง ความสามารถเพิ่มพูนประสบการณ์อย่างกว้างขวางออกไป โดยการคัดเลือก ตัวแทนของโรงเรียนส่งเข้าร่วมการแข่งขันตามที่หน่วยงานต่างๆ จัดขึ้น

2.1.1.2. วัตถุประสงค์

2.1.1.2.1. 1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนออกกำลังกายมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง 2. เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสแสดงความสามารถทางกีฬากรีฑาในวงกว้างออกไป 3. เพื่อให้นักเรียนมีประสบการณ์ทางด้านสังคมกว้างออกไปจากโรงเรียน ของตนเอง 4. เพื่อสนับสนุนนโยบายการสร้างนักกีฬากรีฑาที่มีความสามารถดีเด่น ให้กับโรงเรียน

2.1.1.3. วิธีดำเนินการ

2.1.1.3.1. 1.ขั้นเตรียมงาน - เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากผู้บริหาร แต่งตั้งคณะกรรมการ - ประชุมคณะกรรมการ 2. ขั้นดำเนินงาน - ประกาศรับสมัครนักกีฬากรีฑาทุกประเภท - คัดเลือกนักกีฬากรีฑาทุกประเภท - ฝึกซ้อมนักกีฬากรีฑาทุกประเภท - ส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน 3. ขั้นประเมินผล - สรุปผลการดำเนินโครงการ เพื่อเสนอต่อผู้บริหาร

2.1.1.4. ระยะเวลา

2.1.1.4.1. ระยะเวลา12เดือนตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2559 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2560

2.1.1.5. งบประมาณ

2.1.1.5.1. 40,000 บาท

2.1.2. ชื่อโครงการ: ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ (นางสาวธมนวรรณ ชัยแสง)

2.1.2.1. หลักการและเหตุผล

2.1.2.1.1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็น มนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นใน การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่ จำเป็นต่อการศึกษา ต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ดังนั้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ผู้เรียนต้องเรียนรู้จาก ประสบการณ์จริง คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ด้วยหลักการและเหตุผลข้างต้น โรงเรียนจำเป็นต้องจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เหมาะสมกับสติปัญญาและ ความสามารถของนักเรียน เพื่อพัฒนาด้านทักษะพิสัย พุทธิพิสัย จิตพิสัย นำไปสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ให้สูงขึ้นตามเป้าหมายของโรงเรียน และจัดกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนมีความเป็นเลิศด้านวิชาการ วิชาชีพ และมีสุนทรียภาพด้านดนตรี กีฬา ศิลปะการแสดง รวมถึงการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ในการเตรียมพร้อมให้ ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความพร้อมด้วยคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตลอดจนสนับสนุนส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ ในการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเต็มความสามารถ โดยส่งผู้เรียนเข้าประกวดในโครงการ แข่งขันคนเก่งในโรงเรียนท้องถิ่น ทั้งในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระดับประเทศ และส่งนักเรียนเข้าประกวด ในงานมหกรรมทางวิชาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับภาคและระดับประเทศต่อไป

2.1.2.2. วัตถุประสงค์

2.1.2.2.1. 1. เพื่อส่งนักเรียนที่มีทักษะทางวิชาการเข้าประกวดในหน่วยงาน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่น 2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่มีความสามารถได้มีโอกาสแสดงความสามารถ และสร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียนและวงศ์ตระกูล 3. เพื่อส่งเสริมให้ครูและนักเรียนมีการค้นคว้าหาความรู้ด้านวิชาการอยู่เสมอ

2.1.2.3. การดำเนินงาน

2.1.2.3.1. 1. ประชุมวางแผนการดำเนินโครงการ 2. จัดทำและเสนอขออนุมัติโครงการ 3. แต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบ 4. ดำเนินงาน - ส่งนักเรียนแข่งขันในงานมหกรรมทาง วิชาการในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือระดับประเทศ - ส่งนักเรียนแข่งขันคนเก่งในโรงเรียน ท้องถิ่นระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - ส่งนักเรียนแข่งขันคนเก่งในโรงเรียน ท้องถิ่นระดับประเทศ - ส่งนักเรียนแข่งขันในสังกัดอื่นๆ 5. ประเมินผล/สรุปรายงานผล

2.1.2.4. ระยะเวลา

2.1.2.4.1. ระยะเวลา 12 เดือน คือ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 ถึงเดือนมีนาคม 2561

2.1.2.5. งบประมาณ

2.1.2.5.1. ใช้งบประมาณ 30,000 บาท

2.2. ตัวชี้วัด 3.2

2.2.1. การจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น

2.2.1.1. ชื่อโครงการ : การใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมและพัฒนา การศึกษาค้นคว้าของนักเรียน (นางสาวมณีกาญจน์)

2.2.1.1.1. หลักการและเหตุผล

2.2.1.1.2. วัตถุประสงค์

2.2.1.1.3. การดำเนินงาน

2.2.1.1.4. ระยะดำเนินงาน

2.2.1.1.5. งบปะมาณ

2.2.1.2. ชื่อโครงการ : (นางสาวกฤตญา โดโม)

3. ด้านที่ 4

3.1. ตัวชี้วัดที่ 4.1 การใช้ระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น

3.1.1. ชื่อโครงการ : ประกันคุณภาพภายในโรงเรียน ( กัญญาพัชร )

3.1.1.1. วัตุประสงค์ : ๑. เพื่อดำเนินการระบบการประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง ๒. เพื่อรายงานและเผยแพร่ผล การดำเนินงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ๓. เพื่อนำผลการประเมินทั้งภายใน และภายนอกไปปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

3.1.1.2. วิธีการดำเนินงาน : - จัดประชุมอบรม พัฒนาความรู้เรื่อง การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา - จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปี - จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ และให้บริการ - ประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐาน การศึกษาและจัดทำรายงานผลการประเมิน(SAR)

3.1.1.3. ระยะเวลา : พฤษภาคม ๒๕๕๗ – มีนาคม ๒๕๕๘

3.1.1.4. งบประมาณ : ๒๕,๐๐๐

3.1.1.5. หลักการและเหตุผล : พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ได้กำหนดความมุ่งหมาย และหลักการในด้านคุณภาพการศึกษา ตามหมวด ๖ มาตรฐานและ การประกันคุณภาพการศึกษาอีกทั้งกฎกระทรวงว่าด้วย ระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ หมวด ๒ ข้อ ๑๔ กำหนดให้สถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน และถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวน การบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ด้วยการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและจัดทำแผน พัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐาน การศึกษาและให้จัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR) เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ เปิดเผยต่อสาธารณชน ดังนั้นเพื่อสนองต่อ พ.ร.บ. และเพื่อให้การบริการจัดการของโรงเรียนเป็นไปตามกฎกระทรวง อย่างมีประสิทธิภาพโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

4. New Topic

4.1. New Topic

4.2. New Topic

4.3. New Topic

4.3.1. New Topic

5. ตัวชี้วัดที่ 2.4

5.1. การกำกับ ติดตาม ประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา (วรรณพร)

5.1.1. ชื่อโครงการ: การดำเนินการประชุมคณะกรรมการติดตาม  ตรวจสอบ  ประเมินผลและ นิเทศการศึกษา

5.1.1.1. หลักการและเหตุผล

5.1.1.1.1. New Topic

6. ด้านที่๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

6.1. ตัวชี้วัดที่๑.๑.๓ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยี(สุกัญญา)

6.1.1. ชื่อโครงการ พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการบริหาร (สุกัญญา แจ่มดาว)

6.1.1.1. หลักการและเหตุผล พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และมาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย โรงเรียนมหรรณพาราม ตระหนักถึงความสำคัญเทคโนโลยีในการพัฒนาบุคลากร ผู้เรียน และสถานศึกษา เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ และ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก และเพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการบริหาร

6.1.1.2. วัตถุประสงค์ โรงเรียนจัดหาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนและการบริการ

6.1.1.3. วิธีดำเนินการ ขั้นเตรียมการ 1.ประชุมจัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.ประสานแผน/นำไปหลอมรวมเป็นแผนปฏิบัติการ 3.จัดทำแผนงาน/ปฏิทินของโรงเรียน ขั้นดำเนินการ 1.ประชุมคณะกรรมการเพื่อมอบมายงาน 2.ดำเนินงานตามโครงการ 2.1.กิจกรรมงานคอมพิวเตอร์ 2.1.1.เช่าคอมพิวเตอร์ C 2.1.2.ซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ 2.1.3.ซื้ออุปกรณ์และซ่อมระบบเครื่องเสียง 2.1.4.ให้บริการผลิตสื่อและสืบค้น 2.1.5.จัดการเรียนรู้และผลิตสื่อเทคโนโลยี 2.1.6.เช่าอินเตอร์เน็ต 2.1.7เช่าพื้นที่เว็บ ต่อโดเมน 2.1.8.จัดทำเว็บไซต์โรงเรียน 2.1.9.อบรมผลิตสื่อเทคโนโลยี 2.1.10.พัฒนาและส่งเสริมผู้เรียนให้มีศักยภาพตามมาตรฐานสากล 3. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน ขั้นประเมินผล/ติดตามผล 1. ประเมินผลการดำเนินงานตามกิจกรรม 2.จัดทำสรุป รวบรวมเอกสารตามกิจกรรม และจัดทำแฟ้มโครงการรายงานผลการทำเนินงาน 3. รายงานผลการดำเนินงาน/รายงานประจำปี

6.1.1.4. งบประมาณ 100,570 บาท

6.1.1.5. ระยะเวลาดำเนินการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ( เดือนตุลาคม 2555 – มีนาคม 2556 ) ปีงบประมาณ 2556 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ( เดือนเมษายน 2556 – กันยายน 2556 ) ปีงบประมาณ 2556

7. New node

7.1. W

8. ตัวชี้วัดที่ 1.1.6 ความพร้อมในการศึกษาต่อ การฝึกงน หรือการทำงาน (ศราวุฒิ)

8.1. โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงาน ประจำปีการศึกษา 2558

8.1.1. หลักการและเหตุผล ปัจจุบันมีผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ จำนวนมากถึง 300,000 -400,000 คนต่อปี ทำให้เกิดการแข่งขันสูงในตลาดแรงงาน โดยในปีการศึกษา 2558 นี้ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีนักศึกษาที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาจำนวนกว่า 3,100 คนแนะแนวและจัดหางานงานสวัสดิการนักศึกษาสำนักงานพัฒนานักศึกษาเล็งเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาเพื่อก้าวเข้าสู่ชีวิตการทำงาน ในอนาคต จึงได้จัดให้มีโครงการเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานให้กับนักศึกษาที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษา ได้ทราบถึงลักษณะการทำงานในสายงานของตนเอง ได้ทราบถึง คุณสมบัติของบัณฑิตที่องค์กรอยากได้ ได้เรียนรู้วิธีการเขียนจดหมายสมัคร (Resume) และการจัดทำแฟ้มสะสม งาน (Portfolio) และเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพในการสัมภาษณ์งานของนักศึกษาให้พร้อมสำหรับการสมัครงาน

8.1.2. การดำเนินงาน ขั้นการวางแผน (Planning) 1. วางแผนการดาเนินงาน 2. เสนอแผนโครงการประจำปี งบประมาณ 2559 ขั้นการดำเนินงาน (Doing) 1. เขียนโครงการ 2. ขออนุมัติโครงการ 3.เตรียมงานและประสานวิทยากร 4. ดำเนินงานโครงการ ขั้นการประเมินผล(Checking) 1. ประเมินความพึงพอใจการดำเนินงานโครงการฯ 2. จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการฯ ขั้นการปรับปรุง(Acting) 1. นำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไป

8.1.3. ระยะเวลา กันยายน 2558 - พฤษภาคม 2559

8.1.4. งบประมาณ โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงาน ประจำปีการศึกษา 2558 ได้งบประมาณจากเงินรายได้ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประจาปีงบประมาณ 2559 จำนวนทั้งสิ้น 247,200 บาท

9. ตัวชี้วัดที่ 1.1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

9.1. แมน

9.2. ตัวชี้วัดที่ 1.1.2 ความสามารถในการวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา (อรวรรณ ไขพจน์)

9.2.1. ชื่อโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยทักษะการคิดวิเคราะห์

9.2.1.1. หลักการและเหตุผล จากการจัดการเรียนการสอนพบว่าการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดยังเป็นปัญหาทั้งในด้านการจัดการเรียนการสอนของครู และในด้านการรับรู้ของนักเรียน ทั้งนี้น่าจะมาจากโรงเรียนไม่มีสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิด ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะกระบวนการคิดโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นโดยให้ครูได้พัฒนาสื่อการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด

9.2.1.2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ครูทุกคนได้พัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะกระบวนการคิด 2. เพื่อให้นักเรียนทุกชั้นเรียนมีกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้ทักษะกระบวนการคิด

9.2.1.3. การดำเนินงาน ขั้นการวางแผน(Planning) -นำเสนอโครงการต่อผู้บริหาร -จัดประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงขอบข่ายการทำงานและจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน -มอบหมายผู้รับผิดชอบ ขั้นการดำเนินงาน(Doing) -ครูประจำชั้นพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทักษะกระบวนการคิด -จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดในทุกระดับชั้น ขั้นตรวจสอบติดตาม/ประเมินผล(Check) -รายงานผลนวัตกรรมที่พัฒนาทักษะการคิดของแต่ละระดับชั้น ขั้นปรับปรุงพัฒนา(Action) -ประชุมเพื่อสรุปผลงานและนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงแก้ไข

9.2.1.4. ระยะเวลาดำเนินงาน พฤษภาคม 2560 – มีนาคม 2560

9.2.1.5. งบประมาณ 3,500 บาท

9.3. ตัวชี้วัดที่ 1.1.3

9.3.1. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ยูดาริน)

9.3.1.1. ชื่อโครงการ:โครงการพัฒนาทักษะการใช้ ICT.เพื่อการเรียนเรียนรู้ของนักเรียน นักเรียน

9.3.1.1.1. หลักการและเหตุผล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญในการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในด้านการจัดการศึกษา จะเห็นได้จากนโยบายด้านการศึกษาได้กำหนดให้จัด การศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยี ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม ซึ่งปรากฏในจุดเน้น ให้เพิ่มศักยภาพนักเรียนในด้านภาษา ด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นหนึ่ง ในสองของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ (Excellence) และตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 หมวด 9 ว่าด้วยเทคโนโลยี การศึกษา มาตรา 66 “ผู้เรียน มีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถ ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยี เพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต”

9.3.1.1.2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้โรงเรียนมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่มีระบบการอินเทอร์เน็ตที่สามารถจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนในโรงเรียนบ้านเชิงดอยสุเทพได้ 2. เพื่อนักเรียนมีความรู้และนักเรียนมีทักษะด้านการใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ 3. เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับบริการสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลบนระบบเครือข่ายได้ 4. เพื่อให้โรงเรียนมีศักยภาพในการพัฒนาบุคลากรในด้าน ICT เพื่อรองรับในการพัฒนา

9.3.1.1.3. เป้าหมาย เชิงปริมาณ 1. โรงเรียนบ้านเชิงดอยสุเทพ มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่มีระบบการอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง 2. นักเรียนโรงเรียนบ้านเชิงดอยสุเทพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 194 คน ได้เรียนวิชาคอมพิวเตอร์ในสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี 3. นักเรียนโรงเรียนบ้านเชิงดอยสุเทพทุกคน ได้พัฒนาทักษะในการสืบค้นสารสนเทศบนระบบเครือข่ายที่ถูกต้อง ปลอดภัย เชิงคุณภาพ 1. นักเรียนมีความรู้ความสามารถและมีทักษะด้านการใช้ ICT

9.3.1.1.4. ระยะเวลาการดำเนินงาน : พฤษภาคม 2554- มีนาคม 2555

9.3.1.1.5. งบประมาณที่ใช้ แผนงานการจัดการศึกษาของเทศบาลตำบลสุเทพจำนวน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

9.3.1.1.6. ลักษณะโครงการ: โครงการต่อเนื่อง

9.3.1.1.7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ นักเรียนทั้งโรงเรียนบ้านเชิงดอยสุเทพ ได้รับการพัฒนาด้าน ICT อย่างทั่วถึง

9.4. ตัวชี้วัดที่ 1.1.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาการจากผลการสอบวัดระดับชาติ (จิราภรณ์)

9.4.1. ชื่อโครงการ : ยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนในโรงเรียนวัดมเหยงค์

9.4.2. หลักการและเหตุผล : ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้จัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับต่างๆ ทั้งในระดับชาติ O-Net , NT , ระดับเขตพื้นที่ (Las) ปรากฏว่าผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนทั้งในภาพรวม ระดับชาติ ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ คือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่ำทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เทียบกับระดับจังหวัดและระดับประเทศ เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น ทางโรงเรียนวัดมเหยงคณ์ ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนานักเรียน และนอกจากนั้นในการพัฒนาด้านต่างๆ อันได้แก่ การพัฒนาทางด้านจิตใจ ร่างกาย สังคม สติปัญญา และให้ก้าวทันต่อเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการใหม่ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เป็นการพัฒนาการศึกษาของชาติตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาโดยตรงจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

9.4.3. วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ป.6 ให้สูงขึ้น ร้อยละ 4 ทุกกลุ่มสาระ 2.เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนวัดมเหยงคณ์ มีความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับจากพัฒนาคุณภาพการศึกษา มาปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 3.เพื่อนำผลการประเมินในระดับโรงเรียนวัดมเหยงคณ์ มาเทียบเคียงกับการประเมินผลในระดับชาติ

9.4.4. การดำเนินงาน : 1. เสนอโครงการ 2. ประชุมคณะกรรมการและคณะครูเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อวางแผนการยกระดับคุณภาพการศึกษา 4. ดำเนินงานตามโครงการ 4.1 คัดกรองนักเรียน 4.2 หนึ่งครู หนึ่งนวัตกรรม 4.3 จัดกิจกรรมติวเตอร์ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา 4.4 สอนเสริมเด็กเก่งเพื่อเพิ่ม ศักยภาพ และสอนซ่อมเสริม เด็กอ่อนเพื่อช่วยเหลือนักเรียน 4.5 ส่งเสริมการอ่านเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย และภาษาอังกฤษ วันละ 10 คำ หน้าเสาธง 4.6 การจัดสอบ Pre O-NET 4.7 กำกับติดตามตรวจสอบ โดยคณะครู 4.8 นิเทศ 5.สรุปผลการดำเนินงาน

9.4.5. ระยะเวลา : ตลอดปีการศึกษา

9.4.6. งบประมาณ : เป็นงบประมาณประเภทเงินอุดหนุน

9.5. ตัวชี้วัดที่ 1.1.1 ความสามารถในการอ่าน เขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้น วีรพล

9.5.1. ชื่อโครงการ แก้ปัญหาการอ่านและการเขียน

9.5.1.1. หลักการเเละเหตุผล : ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติและเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้ โรงเรียนอนุบาลลานสักตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถทางการเรียนรู้โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ จึงได้ดำเนินการประเมินทักษะการใช้ภาษาด้านการอ่านและการเขียนของผู้เรียนเป็นรายบุคคล พบปัญหาด้านการอ่านและการเขียนของผู้เรียน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ อ่านไม่คล่องเขียนไม่ได้ อ่านออกเขียนไม่ได้ จากปัญหาดังกล่าว โรงเรียนอนุบาลลานสักจึงได้จัดทำโครงการแก้ปัญหาการอ่านและการเขียน เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเสริมสร้างและพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ต่อไป

9.5.1.2. วัตถุประสงค์ : -เพื่อส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมและพัฒนาการแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียน -เพื่อแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียนของผู้เรียนรายบุคคล

9.5.1.3. วิธีการดำเนินการ : 1. ขั้นเตรียมการ (P) -ศึกษานโยบายของโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษาและสพฐ.ในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับโครงการฯ -ศึกษาผลการดำเนินโครงการฯ ในปีที่ผ่านมา -ศึกษาบริบทและสภาพความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการฯ -จัดทำโครงการฯ นำเสนอต่อฝ่ายบริหาร 2.ขั้นดำเนินการ (D) -ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงโครงการฯ และมอบหมายภาระงาน -ดำเนินงานตามโครงการฯ -พัฒนาสื่อการเรียนการสอนทุกห้องเรียน -จัดนิทรรศการส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียน -เล่านิทาน/บทบาทสมมุติ -ผลงานนักเรียน -เขียนเรื่องเชิงสร้างสรรค์ -เขียนเรื่องจากภาพ -หนังสือทำมือ ฯลฯ 3.ขั้นนิเทศติดตามผล (C) - ผู้รับผิดชอบโครงการฯ นิเทศติดตามการดำเนินงาน และคอยอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมของผู้เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามภาระงานที่โครงการฯ กำหนด 4.ขั้นประเมินและรายงานผล (A) -สรุปประเมินโครงการฯ -จัดทำรายงานโครงการฯ นำเสนอฝ่ายบริหาร

9.5.1.4. วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อให้นักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษา ได้ทราบถึงลักษณะการทางานในสายงานของตนเอง 2. เพื่อให้นักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษา ได้ทราบถึงคุณสมบัติของบัณฑิตที่องค์กรอยากได้ 3. เพื่อให้นักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษา ได้เรียนรู้วิธีการเขียนจดหมายสมัคร (Resume) และการจัดทำแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) 4. เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพในการสัมภาษณ์งานให้แก่นักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษา

9.5.1.5. ระยะเวลา : 1 พฤษภาคม 2558 - 25 มีนาคม 2559

9.5.1.6. งบประมาณ: 90,000

10. มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน

11. ตัวชี้วัดที่1.2

11.1. ตัวชี้วัดที่ 1.2.1 การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด โดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม

11.1.1. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม สร้างความเป็นไทย(มลิตาภูเดนแดน)

11.1.1.1. 1. หลักการและเหตุผล การศึกษาเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพมีความสามารถที่จะปรับตัวได้อย่างรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามความเหมาะสมตามกาลเวลาและของสังคมไทย ดังปรากฏจากนโยบายทางการปฏิรูปการศึกษาให้ความสำคัญสูงสุดกับการปฏิรูปการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน เน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้คนสามารถพัฒนาสู่การเป็นคนที่สมบูรณ์ คือ เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขอย่างแท้จริง ดังนั้น โรงเรียนอนุบาลลานสัก จึงได้พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เพื่อให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ และหลักการในการจัดการศึกษา มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

11.1.1.2. 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร 2.2 เพื่อให้ผู้เรียนมีความเอื้ออาทรผู้อื่นและกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ 2.3 เพื่อให้ผู้เรียนยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง 2.4 เพื่อให้ผู้เรียนมีความตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

11.1.1.3. 3. วิธีดำเนินการ 3.1 ขั้นเตรียมการ (P) 3.1.1 ศึกษานโยบายของโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา และ สพฐ. ในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับโครงการ 3.1.2 ศึกษาผลการดำเนินโครงการฯ ในปีที่ผ่านมา 3.1.3 ศึกษาบริบทและสภาพความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ 3.1.4 จัดทำโครงการนำเสนอต่อฝ่ายบริหาร 3.2 ขั้นดำเนินการ (D) 3.2.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงโครงการและมอบหมายภาระงาน 3.2.2 ดำเนินงานตามโครงการ • กิจกรรมส่งเสริมสวดมนต์วันพุธ 3.3 ขั้นนิเทศติดตามผล (C) ผู้รับผิดชอบโครงการฯ นิเทศติดตามการดำเนินงาน และคอยอำนวยความสะดวก ในการดำเนินกิจกรรมของผู้เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามภาระงานที่โครงการฯกำหนด 3.4 ขั้นประเมินและรายงานผล (A) 3.4.1 สรุปประเมินโครงการฯ 3.4.2 จัดทำรายงานโครงการฯ นำเสนอฝ่ายบริหาร

11.1.1.4. 4. ระยะเวลาดำเนินการ 1 พฤษภาคม 2558 - 25 มีนาคม 2559

11.1.1.5. 5. งบประมาณ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,000 บาท

11.1.2. โครงการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรมสร้างความเป็นไทย

11.1.2.1. หลักการและเหตุผล การศึกษาเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพมีความสามารถที่จะปรับตัวได้อย่างรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามความเหมาะสมตามกาลเวลาและของสังคมไทย ดังปรากฏจากนโยบายทางการปฏิรูปการศึกษาให้ความสำคัญสูงสุดกับการปฏิรูปการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน เน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้คนสามารถพัฒนาสู่การเป็นคนที่สมบูรณ์ คือ เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขอย่างแท้จริง ดังนั้นโรงเรียนจึงได้พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์เพื่อให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ และหลักการในการจัดการศึกษา

11.1.2.2. วัตถุประสงค์ 2.1เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร 2.2เพื่อให้ผู้เรียนมีความเอื้ออาทรผู้อื่นและกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ 2.3เพื่อให้ผู้เรียนยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง 2.4เพื่อให้ผู้เรียนมีความตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

11.1.2.3. New Topic

11.1.2.4. ระยะเวลาดำเนินการ 1พฤษภาคม2558 - 25มีนาคม 2560

11.1.2.5. งบประมาณ ดำเนินงานตามโครงการ ระยะเวลา ตลอดปี งบประมาณ 4,000 บาท

11.1.2.6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผู้เรียน ได้รับการพัฒนาและเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามโรงเรียนกำหนด

11.1.2.7. หลักการและเหตุผล การศึกษาเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพมีความสามารถที่จะปรับตัวได้อย่างรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามความเหมาะสมตามกาลเวลาและของสังคมไทย ดังปรากฏจากนโยบายทางการปฏิรูปการศึกษาให้ความสำคัญสูงสุดกับการปฏิรูปการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน เน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้คนสามารถพัฒนาสู่การเป็นคนที่สมบูรณ์ คือ เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขอย่างแท้จริง ดังนั้นโรงเรียนจึงได้พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์เพื่อให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ และหลักการในการจัดการศึกษา

11.2. 1.2.2 ถิรนิชา

11.3. ตัวชี้วีดที่ 1.2.2 ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

11.3.1. ชื่อโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นบ้านนางกำ(ถิรนิชา)

11.3.1.1. หลักการและเหตุผล วัฒนธรรมเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าวิถีชีวิตที่ชุมชนและท้องถิ่นต่าง ๆ ได้พัฒนาและ สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต โดยแสดงออกในรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย ทั้ง ในรูปแบบของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญา ศิลปะ เป็นต้น เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและ กระตุ้นให้คนในชุมชนท้องถิ่นเกิดความตระหนัก มีความตื่นตัวและเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูเผยแพร่ และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ในปัจจุบันวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณีและวิถีชีวิตที่ดีงามขาดการถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นใหม่น้อย ในขณะที่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมจากสังคมภายนอกได้เข้ามาคุกคามสังคมไทยมากขึ้น ดังนี้การสืบ สานและอนุรักษ์ฟื้นฟูรวมทั้งการเสริมสร้างคุณค่าทางสังคมและจิตใจต่อมรดกทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญ ในการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาจากผู้รู้ในชุมชนเพื่อให้เยาวชนและชุมชนได้ ตระหนักถึงความสำคัญของชุมชน มีความเข้าใสรากเหง้า ความเป็นวัฒนธรรม การแบ่งปันการเกื้อกูล ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีการศึกษาเรียนรู้วิถีการด ารงชีวิตของชุมชน วิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี พิจารณาเห็นความสำคัญทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่กำลังจะสลายไป จึง จัดโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัว ของชุมชน

11.3.1.2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชน 2. เพื่อปลูกจิตส านึกให้เด็กและเยาวชน และประชาชนเกิดความตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมใน การอนุรักษ์ ฟื้นฟูและสืบสานภูมิปัญญาและคุณค่าทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน 3. เพื่อให้เด็กเยาวชนในท้องถิ่นได้เรียนรู้ความสำคัญ รู้จักวิถีชีวิต วัฒนธรรมของท้องถิ่นอันจะ สร้างความภูมิใจและส านึกรักบ้านเกิด

11.3.1.3. วิธีการดำเนินการ 1. จัดประชุมเวทีชาวบ้านสำรวจข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น 2. จัดเสวนาศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3. จัดกิจกรรมสืบสานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่าย 4. จัดทำเอกสารเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น 5. สรุปประเมินผลโครงการ

11.3.1.4. ระยะเวลา/สถานที่ ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 12 - 13 มีนาคม 2559 จัดประชุมเวทีชาวบ้านสำรวจข้อมูล ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 23 - 24 เมษายน 2559 จัดสัมมนาศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนบ้านนางกำ ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 7 – 8 พฤษภาคม 2559 จัดกิจกรรมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านนางกำ ณ ชุมชนบ้านนางกำ ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

11.3.1.5. งบประมาณ งบอุดหนุนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมด้านบริการวิชาการ จำนวน 40,000 บาท

11.3.2. ชื่อโครงการ ส่งเสริมและอนุรักษ์ เอกลักษณ์ ศิลปะ และวัฒนธรรมไทย (นวีนา ราษฎ์ทวี)

11.3.2.1. หลักการและเหตุผล มรดกทางวัฒนธรรมของไทยที่สืบเนื่องกันมาเป็นเวลายาวนานจนถึงปัจจุบัน ซึ่งศิลปะวัฒนธรรมไทยตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษเป็นสิ่งที่น่าสืบทอดไว้ให้คงอยู่

11.3.2.2. วัตถุประสงค์ ๑.เพื่อเสริมสร้างเอกภาพของความเป็นไทย ๒.เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ ๓.เพื่อส่งเสริมอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่ตลอดไป ๔.เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามให้คงอยู่คู่กับสังคมไทย

11.3.2.3. การดำเนินงาน ๑.ประชุมครูเพื่อชี้แจงความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของโครงการ ๒.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ ๓. กำหนดกิจกรรมตามโครงการ ๔.ดำเนินการตามโครงการ ๕. ประเมินผล/สรุป/รายงานโครงการ

11.3.2.4. งบประมาณ ค่าดำเนินการในการร่วมกิจกรรม ค่าพาหนะพานักเรียนไปแหล่งเรียนรู้และประกวดกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม ๓,๐๐๐ บาท

11.3.2.5. ระยะเวลา เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๖ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๗

11.4. ตัวชี้วัดที่ ๑.๒.๓. การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย (นพดล)

11.4.1. โครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม

11.4.1.1. หลักการและเหตุผล เพื่อเป็นการประกันสิทธิและโอกาสทางการศึกษา จำเป็นต้องจัดการศึกษาในรูปแบบของ “การจัดการเรียนร่วม” ให้เด็กพิการทุกคนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ โดยมีการจัดการที่เหมาะสมในโรงเรียนและห้องเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ที่ยึดหลักปรัชญาการอยู่ร่วมกัน (Inclusion) ที่เน้นให้มีการนำบริการสนับสนุนต่างๆ มาจัดกระบวนการเรียนการสอน สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยกำหนดทางเลือกให้หลาย ๆทาง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรวมกันได้โดยไม่แบ่งแยก และเลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ในการจัดการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนพิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็น ในการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนพิการเรียนร่วมให้สามารถปฏิบัติงานให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด เป็นการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาพิเศษให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดอีกทางหนึ่งด้วย

11.4.1.2. วัตถุประสงค์ ๑.เพื่อให้เด็กพิการเรียนร่วมได้สิทธิและโอกาสที่เท่าเทียมกันในการได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ใน รูปแบบที่เหมาะสมอย่างเต็มศักยภาพเป็นรายบุคคล ได้รับบริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเข้าถึงการศึกษา พัฒนาศักยภาพ ทักษะการดำรงชีวิต และพื้นฐานอาชีพเพื่อพึ่งตนเองได้ ๒.เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม/เรียนรวมในรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ที่เหมาะสมกับสภาพความพิการในแต่ละประเภทเป็นศูนย์บริการทางการศึกษาพิเศษ (Student Support Sevices : SSS) ในทุกอำเภอ เป็นศูนย์รวมสื่อการเรียนรู้นวัตกรรม Best Practice) เป็นแหล่งเรียนรู้ ( Resource Center) ทั้งด้านหลักสูตร การเรียนการสอนและการวัดผลเด็กพิการ ๓.เพื่อพัฒนาโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วมเข้าสู่มาตรฐานการเรียนร่วม และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทั้งการบริหารจัดการคุณภาพครูและคุณภาพผู้เรียน ๔.เพื่อให้ครูในโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วม/เรียนรวมมีความรู้ความสามารถและทักษะในการพัฒนาสมรรถภาพเด็กพิการเรียนร่วมในแต่ละประเภทความพิการได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

11.4.1.3. กิจกรรม / ขั้นตอน ได้กำหนดกิจกรรมการดำเนินงาน ระยะเวลาการดำเนินงานและที่ได้รับจัดสรรจากสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน ๗๕๕,๐๐๐ บาท ดังต่อไปนี้ ๑. จัดสรรงบประมาณให้โรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมจำนวน ๕ โรง โรงเรียนต้นแบบฯเดิมจำนวน ๒ โรง ๆ ละ ๔๐,๐๐๐ บาท โรงเรียนต้นแบบฯที่คัดเลือกใหม่ ปี ๒๕๕๗ จำนวน ๓ โรงๆละ ๗๕,๐๐๐ บาท เพื่อดำเนินงานตามแนวทางโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม ๒. ประชุม/นิเทศติดตามการดำเนินงานในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมและโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม ๓. จัดสรรให้โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม เพื่อผลิต จัดซื้อสื่อ/นวัตกรรมสำหรับนักเรียนเรียนร่วม (๒๘ โรงๆละ ๑๕,๐๐๐ บาท)

11.4.1.4. ระยะเวลาดำเนินการ มกราคม – กันยายน ๒๕๕๗

11.4.1.5. รายละเอียดการใช้งบประมาณ รวม ๗๕๕,๐๐๐ บาท (เจ็ดแสนห้าหมื่นห้าพันบาทถ้วน) จากแผนงานสร้างและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงและเป็นธรรมผลผลิตผู้จบการศึกษาภาคบังคับกิจกรรมสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาค สอดคล้องกับความต้องการ

11.5. ตัวชี้วัดที่1.2.4 สุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม (วิศรุตา)

11.5.1. ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ(วิศรุตา)

11.5.1.1. หลักการและเหตุผล ปัญหาความเจ็บป่วยของนักเรียนมีผลอย่างมากต่อการเรียนการสอน การเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆของนักเรียนในโรงเรียน ครูต้องดูแล ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักเรียนในการดูแลสุขภาพ สุขนิสัย การออกกำลังกาย การหลีกเลี่ยงจากสิ่งเสพติดทุกชนิด และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง มีสุขภาพจิตที่ดี โรงเรียนสะอาดและมีความปลอดภัย ดังนั้นโรงเรียนบ้านบางหยี จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนขึ้น

11.5.1.2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนได้ดูแลสุขภาพ สุขนิสัย และออกกำลังกายสม่ำเสมอ 2.2 เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง และมีสุขภาพจิตที่ดี

11.5.1.3. การดำเนินงาน 1.ประชุมชี้แจงจัดทำโครงการ -การอนุมัติโครงการ 2.กำหนดแผนปฏิบัติงาน -การมอบภาระงาน 3.แต่งตั้งคณะทำงาน/มอบหมาย -ความสามารถในการปฏิบัติงา 4.งาน -ผลสำเร็จของการดำเนินงานตามขั้นตอนที่ปฏิบัติอยู่ในแผน 5.ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ -ผลสำเร็จตามแผนงานที่กำหนด 6.ประเมินสรุป / รายงานผล -ร่องรอยและระบบการประเมินที่น่าเชื่อถือสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

11.5.1.4. ระยะเวลาการดำเนินงาน เดือน พฤษภาคม 2559 - มีนาคม 2560

11.5.1.5. งบประมาณ 12,500 บาท

11.6. ตัวชี้วัดที่ 1.2.4 สุขภาวะทางร่างกาย และลักษณะจิตสังคม (ศุภลักษณ์)

11.6.1. โครงการเปลี่ยนขยะเป็นเงิน เพื่อลดปริมาณขยะและปัญหาสิ่งแวดล้อม

11.6.1.1. หลักการและเหตุผล ด้วยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบ Roadmap การกำจัดขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๗ โดยมีนโยบาย การแก้ปัญหาขยะมูลฝอย ดังนี้ ๑) แก้ปัญหาขยะเก่า คือเร่งกำจัดขยะมูลฝอยที่ตกค้างสะสมในพื้นที่จะต้องไม่มีขยะถูกกองทิ้งแบกลางแจ้ง (No more open dump) ๒) ขยะมูลฝอยที่เกิดใหม่ ให้ดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยตามรูปแบบใหม่ คือ ต้องลดการผลิตขยะและคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่บ้านเรือน ๓) วางระเบียบมาตรการ ที่จะรองรับ การบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้กำกับดูแลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในภาพรวมของจังหวัด ๔) การสร้างวินัยของคนในชาติ คือ การให้ความรู้กับประชาชน และการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งในปัจจุบันหมู่บ้านในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาแสง มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นการบริโภคในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณขยะจากครัวเรือนเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จะเห็นได้จากขยะมูลฝอยตามหมู่บ้านทั้ง ๙ หมู่บ้าน มีอัตราเพิ่มขึ้นซึ่งขยะเหล่านั้นเป็นขยะที่ย่อยสลายได้อยาก เช่น กล่องโฟม ถุงพลาสติก ขวดพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ซึ่งขยะเหล่านี้ก่อให้เกิดมลภาวะ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่าง ๆ ตลอดจนเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชน จากเหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ทำให้ปัญหาเรื่องการจัดการขยะยากที่จะควบคุมได้เว้นแต่ประชาชนในหมู่บ้านซึ่งเป็นผู้บริโภค และผู้ขายจะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้หีบห่อบรรจุภัณฑ์จากพลาสติก เป็นหีบห่อบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ เช่น ใบตอง กระดาษ ที่สามารถย่อสลายได้ง่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลนาแสง จึงได้จัดทำโครงการเปลี่ยนขยะเป็นเงิน เพื่อลดปริมาณขยะและปัญหาสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีเงินออมจากการขายขยะ มีสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตที่ดีและมีสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน ต่อไป

11.6.1.2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการคัดแยกขยะ 2. เพื่อลดปริมาณขยะก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี 3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะโดยชุมชน 4. เพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนในชุมชน 5. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ครัวเรือนและชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ

11.6.1.3. วิธีการดำเนินการ 1. จัดทำโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติ 2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการคัดแยกขยะในครัวเรือน ชุมชนตำบลนาแสง 3. จัดประชุมคณะกรรมการชุมชนในเขต อบต นาแสง เพื่อร่างระเบียบของโครงการ (รายละเอียดตามระเบียบแนบท้ายโครงการ) 4. ดำเนินการประชาสัมพันธ์การรับสมัครสมาชิก และระเบียบของโครงการ 5. รับสมัครสมาชิก 6. ดำเนินงานตามโครงการ 7. ประเมินผลการดำเนินงาน

11.6.1.4. ระยะเวลาในการดำเนินงาน มกราคม 2558 – กันยายน 2558

11.6.1.5. งบประมาณ 50,000 บาท

12. New node

13. ด้านที่ 2

13.1. หลักการและเหตุผล นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนทุกคนให้มีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น มีคุณธรรม และสำนึกความเป็นไทยโดยเน้นการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น มีทักษะการคิดวิเคราะห์ เชื่อมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความสามารถด้านเทคโนโลยี โดยผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับความถนัดและเต็มตามศักยภาพ ยกระดับคุณภาพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เน้นการสนับสนุนให้ครูรวมกลุ่มกันวางแผนและพัฒนาเทคนิคกระบวนการเรียนการสอน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอน เป็นครูดี ครูเก่ง มีศักยภาพพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รวมทั้งลดงานอื่นที่ไม่จำเป็น และจัดให้มีบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อคืนครูให้แก่ผู้เรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีระบบการนิเทศ ติดตามช่วยเหลือ การปฏิบัติงานของครูให้ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพมากขึ้น สถานศึกษามีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล และระบบประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาได้กำหนดวิสัยทัศน์ โรงเรียนหินตลาดศรีสง่าวิทยา จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติผู้เรียนมีคุณธรรม นำความรู้ สู่สังคม ครูได้รับการพัฒนา ยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษา และ ผลการดำเนินงานส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษา

13.2. ตัวชี้วัดที่ ๒.๒.๔ การวางแผนและจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ (ณัฐญา,เวฬุรีย์)

13.2.1. ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม (ณัฐญา)

13.2.1.1. หลักการและเหตุผล สถานศึกษามีภารกิจหลัก คือ การจัดการศึกษาแก่ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนโดยมีการบริหารจัดการด้านอาคารสถานที่ให้มีความสะอาด ร่มรื่น สวยงาม ปลอดภัย มีกิจกรรมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน โดยให้ครู นักเรียน และชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและเนื่องจากอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนพร้านีลวัชระ อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก สมควรได้รับการปรับปรุง ซ่อมแซม ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น โรงเรียนจึงจัดโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

13.2.1.2. วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้อาคารสถานที่ อาคารประกอบและสิ่งแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกของโรงเรียนและบริเวณโรงเรียนสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย และเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ การปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียน ๒. เพื่อให้สภาพห้องเรียนและอาคารสถานที่ได้รับการดูแลพร้อมใช้งานได้อยู่เสมอ ๓. เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้

13.2.1.3. การดำเนินการ

13.2.1.3.1. กิจกรรม โรงเรียนสะอาดบรรยากาศร่มรื่น ๑. ประชุม แต่งตั้งคณะกรรมการ ๒. จัดทำข้อตกลงให้นักเรียนปฏิบัติ ๓. จัดกิจกรรมรณรงค์ด้านการรักษาความสะอาดสิ่งแวดล้อม ๔. การดำเนินงาน ๕. สรุปผลการดำเนินการและรายงานผล

13.2.1.3.2. กิจกรรม ดูแลซ่อมแซมอาคารเรียน โต๊ะ เก้าอี้ ๑. สำรวจครุภัณฑ์ที่ต้องดำเนินการซ่อมแซม ๒. จัดทำบัญชีครุภัณฑ์ที่ต้องดำเนินการซ่อมแซม ๓. มอบหมายผู้รับผิดชอบดำเนินการซ่อมแซม ๔. จัดครุภัณฑ์เพิ่มตามความจำเป็น ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน

13.2.1.4. ระยะเวลาดำเนินการ ตลอดปีการศึกษา ๒๕๕๘

13.2.1.5. งบประมาณ ๕๐,๓๘๐ บาท

13.2.2. ชื่อโครงการปรับภูมิทัศน์(พัฒนาแหล่งเรียนรู้)(เวฬุรีย์)

13.2.2.1. หลักการและเหตุผล ปัจจุบันการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนบ้านหนองจาน ยังไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งนี้เนื่องมาจาก โรงเรียนขาดงบประมาณในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ภูมิทัศน์ภายในโรงเรียน ซึ่งหากไม่เร่งแก้ไขจะส่งผลให้ นักเรียนไม่ต้องการมาโรงเรียน เนื่องจากสภาพแวดล้อมของโรงเรียนไม่เอื้อต่อการเรียนและไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน แนวทางแก้ไขโรงเรียนควรเร่งระดมทรัพยากรจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ห้องปฏิบัติการ และจัดหาสื่อเทคโนโลยีให้บริการแก่ผู้เรียน ตลอดจนประสานกับชุมชนเพื่อจัดแหล่งเรียนรู้

13.2.2.2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ 2. เพื่อจัดแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในโรงเรียนให้แก่ผู้เรียน 3. เพื่อจัดหาสื่อเทคโนโลยีให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

13.2.2.3. วิธีดำเนินงาน 1.ประชุมวางแผนการดำเนินการ 2.แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ 3.ดำเนินการตามกิจกรรม ดังนี้ 3.1กิจกรรมการจัดสภาพแวดล้อม ห้องเรียน, ห้องปฏิบัติการต่างๆ ,แหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียนและบริเวณโรงเรียนให้สะอาดปลอดภัยต่อการจัดการศึกษา 4.ประเมินการดำเนินงาน 5.สรุปผลการดำเนินงาน 6.รายงานผลการำดำเนินงาน

13.2.2.4. ระยะเวลาดำเนินการ 16 พฤษภาคม 2556 -31 มีนาคม 2557

13.2.2.5. งบประมาณ งบประมาณปี 2555-2556 จำนวน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)

13.3. ตัวชี้วัดที่ 2.3 การวางแผนการบริหารและการจัดการข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ (สิทธิศักดิ์ , วรินทร์ยุพา)

13.3.1. ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาเครือข่ายระบบข้อมูลสารสนเทศ (สิทธิศักดิ์)

13.3.1.1. หลักการและเหตุผล การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ เป็นการสร้างกลยุทธ์ใหญ่ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สามารถตอบสนองความต้องการของบุคคล ผู้เรียนต้องมีศักยภาพให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โรงเรียนจึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารเพื่อการบริหาร และการเรียนการสอนให้ทันต่อเหตุการณ์โลกปัจจุบัน ดังนั้น ทางโรงเรียนบ้านนาพู่จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

13.3.1.2. วัตถุประสงค์ 3.1 เพื่อเป็นแหล่งเก็บข้อมูลสารสนเทศ ของโรงเรียนที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ 3.2 เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่นๆ ตลอดจนชุมชน 3.3 เพื่อเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ของครูและนักเรียน

13.3.1.3. การดำเนินการ 1.ประชุมชี้แจงโครงการ 2.แต่งตั้งคณะทำงาน 3.ดำเนินงานตามโครงการ 3.1 จัดซื้อจัดหาวัสดุในโครงการ 3.2 กำหนดขั้นตอนปฏิบัติงาน 3.2 ดำเนินการจัดซื้อจัดหาตามขั้นตอน 4.ประเมินผล 5.สรุป รายงานผล

13.3.1.4. ระยะเวลาดำเนินการ ตลอดปีการศึกษา 2556

13.3.1.5. งบประมาณ 16,000 บาท

13.4. ตัวชี้วัดที่ 2.1 การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน(รุ้งระวี)

13.4.1. ชื่อโครงการ พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน

13.4.1.1. หลักการและเหตุผล ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 6 มาตรา 49 กำหนดให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประกันคุณภาพภายนอก และทำหน้าที่ประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมาย หลักการ และแนวทางการจัดการศึกษาในแต่ละระดับ ดังนั้น สถานศึกษาจึงต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้พร้อมในการตรวจสอบ โดยการดำเนินการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ

13.4.1.2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2. เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้มีมาตรฐานตามเกณฑ์

13.4.1.3. ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ศึกษา รวบรวม ข้อมูล สภาพปัจจุบัน ปัญหา นำเสนอข้อมูล 2. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน 3. ดำเนินงานพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา - พัฒนาระบบบริหารและสารสนเทศ - พัฒนามาตรฐานการศึกษา - จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ - ดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา - ตรวจสอบทบทวนคุณภาพการศึกษา - ประเมินคุณภาพการศึกษา - การรายงานการประเมินคุณภาพการศึกษา 4. สรุปรายงานผลการปฏิบัติงาน

13.4.1.4. ระยะเวลา ต.ค. 2554 - ก.ย. 2555

13.4.1.5. งบประมาณ 1,000 บาท

14. New node

15. ตัวชี้วัดที่ 2.2.4

16. ตัวชี้วัดที่1.1

16.1. 1.1.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาการจากผลการสอบวัดระดับชาติ

16.1.1. โครงการยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน (อุศนาวัลย์)

16.1.1.1. หลักการและเหตุผล

16.1.1.1.1. New Topic

17. ชื่อโครงการ ส่งเสริมการพัฒนาสถานศึกษา ให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นที่กำหนดขึ้น

17.1. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้สถานศึกษามีการจัดโครงการ กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษา 2.เพื่อให้มีผลการดำเนินงานส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษามาตรฐานด้านมาตรการส่งเสริม

17.2. การดำเนินงาน 1. เสนอโครงการต่อผู้บริหาร 2. การอนุมัติโครงการฯ 3. แต่งตั้งคณะทำงานตามโครงการฯ 4. ดำเนินการตามโครงการฯ - กิจกรรมครูพระสอนในโรงเรียน - กิจกรรมสอนธรรมในโรงเรียน - กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ - กิจกรรมครอบครัวสันติสุข - กิจกรรมลูกเสือ - กิจกรรมเขตรับผิดชอบ - กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยใน - กิจกรรมออมทรัพย์ 5. ติดตามผลและประเมินผล

17.3. ระยะเวลาดำเนินการ 18พฤษภาคม2557 – 31 มีนาคม2558

17.4. งบประมาณ 25,500 บาท

18. วิธีดำเนินงาน 1ศึกษานโยบายของโรงเรียน 2ศึกษาผลการดำเนินโครงการในปีที่ผ่านมา 3ศึกษาบริบทและสภาพความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ 4จัดทำโครงการนำเสนอต่อฝ่ายบริหาร 5ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงโครงการ 6ดำเนินงานตามโครงการ 7ผู้รับผิดชอบโครงการ นิเทศติดตามการดำเนินงานและคอยอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมของผู้เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามภาระงานที่โครงการกำหนด 8สรุปประเมินโครงการ 9จัดทำรายงานโครงการ นำเสนอฝ่ายบริหาร ผู้เข้าร่วมโครงการ 1ผู้บริหารสถานศึกษา 2คณะครู 3นักเรียน 4คณะกรรมการสถานศึกษา 5ผู้ปกครอง 6ประชาชนในเขตบริการโรงเรียน 7พระสงฆ์