1. เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนาด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้ 4.1ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยาเก็บเงิน 4.2การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย 4.3 สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยี สารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้ 4.4เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น 4.5เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และ ติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำเป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น 4.6ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกลทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย
2. แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาไว้ 5 ประเด็น คือ 3.1.การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) มีหลายรูปแบบเช่น Drill and Practice, Linear Program , Branching Program, Simulation, Game, Multimedia, Intelligence CAI 3.2.การศึกษาทางไกล (Distance Learning) ซึ่งจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) หรือระบบการประชุมทางไกล (Video Teleconference) 3.3.เครือข่ายการศึกษา(Education Network) ซึ่งเป็นการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งมีบริการในหลายรูปแบบ เช่น Electronic Mail , File Transfer Protocol, Telnet , World Wide Web เป็นต้น เครื่องข่ายคอมพิวเตอร์จะสามารถให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีจำนวนมากมายที่เชื่อมโยงในเครือข่ายทั่วโลก 3.4.การใช้งานในห้องสมุด (Electronic Library) เป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลหนังสือ วารสาร หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย 3.5.การใช้งานในห้องปฏิบัติการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์ (Simulation) การใช้ในงานประจำและงานบริหาร (Computer Manage Instruction) เป็นการประยุกต์ใช้ในสำนักงานเพื่อช่วยในการบริหาร จัดการ ทำให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและแม่นยำ การตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆ ย่อมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3. เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ ลักษณะของเทคโนโลยี
4. เทคโนโลยีคืออะไร
5. เทคโนโลยีท้องถิ่นและการนำเข้า
5.1. เทคโนโลยีท้องถิ่น
5.1.1. เทคโนโลยีท้องถิ่น หมายถึง เทคโนโลยีดั้งเดิม ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ ในการดำเนิน ชีวิต การทำมาหากิน การต่อสู้กับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อม ของคนในท้องถิ่นนั้น เทคโนโลยีท้องถิ่น จะมีลักษณะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ของท้องถิ่น และมีความสามารถ ในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปได้ ไม่หยุดอยู่กับที่ ทั้งนี้เนื่องจาก การที่มนุษย์ต้องปรับตัว ให้เข้ากับสภาพธรรมชาติ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เทคโนโลยีที่เหมาะสม กับท้องถิ่น ควรมีพื้นฐานมาจาก การพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้าน โดยการดัดแปลงแก้ไข ความรู้พื้นฐาน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เป็นประโยชน์ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) หรือ ภูมิปัญญาไทย เป็นการสะสม องค์ความรู้ขึ้นมาจาก ประสบการณ์ของชีวิต สังคม และในสภาพแวดล้อม ที่แตกต่างกัน และมีการถ่ายทอดสืบ ต่อกันมา เป็นวัฒนธรรม ภูมิปัญญาเหล่านี้ เป็นที่มาของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ความเชื่อทางศาสนา วิธีการทำมาหากิน ตลอดจน ศิลปะวิทยาการต่าง ๆ ภูมิปัญญาท้องถิ่น อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า ภูมิปัญญาชาวบ้าน คือ ความรู้ของชาวบ้าน ซึ่งได้มาจาก ประสบการณ์ และความเฉลียวฉลาด ของชาวบ้าน รวมทั้งความรู้ ที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่ง ไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ระหว่างการสืบทอด มีการปรับปรุง ประยุกต์ และเปลี่ยนแปลง จนเกิดเป็นความรู้ใหม่ ตามสภาพ การณ์ทางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ก่อเกิด และสืบทอดกันมา ในชุมชน เมื่อชุมชน เปลี่ยนแปลงไป พร้อมกับสังคมสมัยใหม่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ก็มีการปรับตัว เช่นเดียวกัน ความรู้ต่าง ๆ ที่ไม่มีการปฏิบัติสืบทอด เริ่มสูญหายไป เช่น งานหัตถกรรมทอผ้า เครื่องเงิน เครื่องเขียน และถึงแม้จะยังเหลืออยู่ ก็ได้ถูกพัฒนาไปเป็นการค้า ไม่สามารถรักษา คุณภาพ และฝีมือแบบดั้งเดิมไว้ได้ ในการทำมาหากิน มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ใช้รถไถ แทนควาย รถอีแต๋นแทนเกวียน เปลี่ยนจากการทำ เพื่อ ยังชีพไปเป็นการผลิต เพื่อการขาย ผู้คนต้องการ เงิน เพื่อซื้อเครื่องบริโภคต่าง ๆ ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป สถานการณ์เช่นนี้ ทำให้ผู้นำ การพัฒนาชุมชนหลายคน เริ่มเห็นความสำคัญ ของภูมิปัญญาท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนให้การสนับสนุน และส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และค้นคิดสิ่งใหม่ ความรู้ใหม่ เพื่อประโยชน์สุขของสังคม 2) ระดับของเทคโนโลยีท้องถิ่น เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ 2.1) เทคโนโลยีระดับต่ำ (Low technology) ส่วนมากเป็น เทคโนโลยีที่มีอยู่แต่เดิม ตั้งแต่ยุคโบราณ ตลอดจนใช้แรงงาน ในท้องถิ่น มีการสืบทอดเทคโนโลยีต่อ ๆ กันมาพร้อมกับขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ดังนั้น จึงอาจเรียก เทคโนโลยีอย่างง่าย ๆ ซึ่งผู้ที่มีความ สามารถในระดับต่ำ จำเป็นต้องมีความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับเทคโนโลยีนั้น ๆ อย่างถูกต้อง เนื่องจาก มีความจำเป็นต้องใช้ เพื่อการดำรงชีวิต เราจึงจำเป็น ต้องรู้หลัก และวิธีการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น ยาสมุนไพรพื้นบ้าน ครกตำข้าว ลอบดักปลา และกระต่ายขูดมะพร้าว เป็นต้น 2.2) เทคโนโลยีระดับกลาง (Intermediate technology) เกิดจากการปรับปรุงพัฒนา เทคโนโลยี ระดับต่ำ หรือเทคโนโลยีพื้นบ้านขึ้นมา เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นมากขึ้น มีบทบาทในการเสริมความรู้ และประสบการณ์ ให้กับผู้คนในท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น การผลิตอาหาร โดยใช้ ผลิตผลเหลือใช้ จากการเกษตร การปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อแก้ปัญหา ดินเสื่อม การถนอมอาหาร การสร้างอ่างเก็บน้ำ และเครื่องขูดมะพร้าว เป็นต้น 2.3) เทคโนโลยีระดับสูง (High technology) เป็นเทคโนโลยีที่ได้จาก ประสบการณ์อันยาวนาน มีความสลับซับซ้อน ผู้ใช้ต้องรู้จักดัดแปลงเทคโนโลยีเดิม ให้มีคุณภาพดีขึ้น จนก่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุด เทคโนโลยีระดับสูงนั้น อาจจำเป็นต้องอาศัย การศึกษา เรียนรู้ ในสถาบัน การศึกษาชั้นสูง มีการวิจัยทดลอง อย่างสม่ำเสมอ และมีการประดิษฐ์คิดค้น เครื่องมือ เครื่องจักรกลต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างเช่น การผลิตอาหารกระป๋อง การคัดเลือก พันธุ์สัตว์ โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ กะทิสำเร็จรูป ยู เอช ที และกะทิผง เป็นต้น
5.2. เทคโนโลยีนำเข้า
5.2.1. แม้ว่าเทคโนโลยีทางการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย จะมีอยู่ในระดับสูง แต่เทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศ ยังกล่าว ได้ว่าอยู่ในระดับต่ำ เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ การสื่อสาร โทรคมนาคม การขนส่ง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้ จำเป็นต้องรับเอามาจากต่างประเทศ และนำมาพัฒนา ปรับปรุง ให้เหมาะสม กับสภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต และวัฒนธรรม ของสังคมไทย ดังนี้ 1) เทคโนโลยีการเกษตร ที่จำเป็นต้องนำเข้าจาก ต่างประเทศ ได้แก่ สารเคมีป้องกันกำจัด ศัตรูพืช การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ซึ่งเป็นการปลูกพืชในน้ำยา ที่มีธาตุอาหารครบ ทำให้สามารถ ควบคุมผลผลิต และคุณภาพของพืชได้ นอกจากนี้อาจจะต้อง นำเข้า เทคโนโลยี ในการเก็บรักษา คุณภาพ ผลิตผลทางการเกษตร เพื่อการส่งออก เครื่องจักรกล ที่ทันสมัย มาช่วยทุ่นแรงในการ ทำไร่นา 2) เทคโนโลยีชีวภาพ มีการนำเข้าเทคโนโลยีชีวภาพ จากต่างประเทศมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ทางด้านการแพทย์ เช่น การผลิตวัคซีน ป้องกันโรคต่าง ๆ การผลิตยาบางชนิด 3) เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม มีการนำเข้าเทคโนโลยี เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรม เคมี เช่น อุตสาหกรรมกรดกำมะถัน ต้องใช้วัตถุดิบ จากต่างประเทศ 4) เทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น เทคโนโลยีการผลิต และการพัฒนายาใหม่ เทคโนโลยีการ วินิจฉัยโรค เทคโนโลยีของอวัยวะเทียม เป็นต้น 5) เทคโนโลยีการสื่อสาร โทรคมนาคม นับเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง สำหรับสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ในปัจจุบัน และอนาคต ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน เช่น โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ โทรสาร อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ล้วนแต่เป็นเทคโนโลยี ที่นำเข้าจาก ต่างประเทศแทบทั้งสิ้น 6) เทคโนโลยีการขนส่ง ได้แก่ การเดินรถ เช่น รถยนต์ รถไฟ รถไฟฟ้าการเดินเรือ เครื่องบิน การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ เป็นต้น 7) เทคโนโลยีระดับสูง (ไฮเทค) ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์การสื่อสาร ระบบเลเซอร์ หุ่นยนต์ เป็นต้น 8) เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ นับเป็นกำลังสำคัญ ในการผลักดันความก้าวหน้า ด้านอุตสาหกรรม เป็นอย่างมาก
6. เทคโนโลยีและการพัฒนาประเทศ
6.1. 1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
6.1.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
6.2. 2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านด้านสังคม
6.2.1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ เช่นโรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY(Digital Accessible Information System)
6.3. 3.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา
6.4. 4.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสาธารณสุข
6.5. 5.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
6.5.1. และทรัพยากร ธรรมชาติ นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม
7. ความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยี
7.1. ด้านการดำรงชีวิตในปัจจุบัน
7.1.1. มนุษย์ มีการดำเนินชีวิตมาตั้งแต่อดีตกาล ผ่านการดำรงชีวิตมาในรูปแบบต่างๆตามยุคตามสมัยและมีการดำรงชีวิตในแต่ละยุค ที่ไม่เหมือนกัน อาจจะมีคล้ายกันบางแต่ก็ไม่เหมือนกันซะที่เดียว ซึ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์นั้นต้องมีการประสบพบเจอกับเรื่องหรือปัญหา ต่างๆทำให้มนุษย์เกิดการคิด คิดที่จะทำอะไรซักอย่างเพื่อแก่ปัญหานั้นๆ แรกเริ่มอาจจะคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนแล้วจากนั้นจึงมีการพัฒนาและต่อยอด ความคิดนั้นให้สามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้นกว่าเดิม จนสามารถแก้ปัญหานั้นได้และมนุษย์ก็มีการคิดอยู่ตลอดเวลา ทำให้มนุษย์มีพัฒนาการ เกิดความคิดประดิษฐ์ในเรื่องต่างๆ ซึ่งมีมากมายตามยุคสมัยของมนุษย์ เทคโนโลยีเองก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เกิดจากความคิดและการพัฒนาขึ้นของมนุษย์ เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานาน เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ในการแก้ปัญหาพื้นฐาน ในการดำรงชีวิตไม่ว่าจะเป็น การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานไม่สลับซับซ้อนเหมือนดัง ปัจจุบัน การเพิ่มจำนวนของประชากรและข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมีการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการนำและพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์เองก็มีความสัมพันธ์กันมากเพราะเทคโนโลยีเกิดจาก พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มนุษย์ได้ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่าง ต่อเนื่อง ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า ซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็เป็นความรู้ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ มนุษย์ได้สังเกตเห็น โดยหลักสำคัญคือ สิ่งที่มนุษย์ใช้อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาเป็นอย่างมากและในการดำเนินชีวิตใน ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร เช่น การใช้โทรศัพท์ หรืออินเตอร์เน็ต สังคมเครือข่าย (Social Network) การใช้เทคโนโลยีในด้าน การ ศึกษา จัดระบบในหน่วยงานต่างๆ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ทำให้เทคโนโลยีมีบทบาทกับมนุษย์จนเทคโนโลยีกลายเป็นส่วน หนึ่งของชีวิตมนุษย์ไปแล้ว ที่เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมมนุษย์จึงให้ทั้งผลดีและผลเสีย ต่างๆตามมาเพราะมนุษย์อยู่กันเป็นสังคม ซึ่งสังคมนั้นก็คือคนหมู่มากแล้วเมื่อมีคนมากก็ต้องมีผลต่างๆตามมา การนำเทคโนโลยีมาใช้จึงให้ทั้งผลดีและผลเสียนั้นเอง จึงต้องมีความรู้และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และความต้องการของประเทศพร้อมทั้งเตรียมแนวทางในการรับมือกับปัญหาที่พร้อม จะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อจากการใช้เทคโนโลยีทั้งที่นึกถึงและคาดไม่ถึง
7.2. ด้านการพัฒนาประเทศ
7.2.1. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานรากที่รองรับ “สังคมสารสนเทศ” (Information Society) ที่มี “สารสนเทศ” เป็นหัวใจสำคัญ เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการจัดบริการสังคมพื้นฐาน ในขบวนการพัฒนาสังคม เช่น ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา ทางด้านสาธารณสุข การบริหารรัฐกิจ ฯลฯ เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา ครรชิต มาลัยวงศ์ (2540) และได้เสนอแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาไว้ 5 ประเด็น คือ 1.การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) มีหลายรูปแบบเช่น Drill and Practice, Linear Program , Branching Program, Simulation, Game, Multimedia, Intelligence CAI 2.การศึกษาทางไกล (Distance Learning) ซึ่งจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) หรือระบบการแระชุมทางไกล (Video Teleconference) 3.เครือข่ายการศึกษา (Education Network) ซึ่งเป็นการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งมีบริการในหลายรูปแบบ เช่น Electronic Mail , File Transfer Protocol, Telnet , World Wide Web เป็นต้น เครื่องข่ายคอมพิวเตอร์จะสามารถให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีจำนวนมากมายที่เชื่อมโยงในเครือข่ายทั่วโลก 4.การใช้งานในห้องสมุด (Electronic Library) เป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลหนังสือ วารสาร หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย 5.การใช้งานในห้องปฏิบัติการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์ (Simulation) การใช้ในงานประจำและงานบริหาร (Computer Manage Instruction) เป็นการประยุกต์ใช้ในสำนักงานเพื่อช่วยในการบริหาร จัดการ ทำให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและแม่นยำ การตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆ ย่อมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
7.3. ด้านสิ่งแวดล้อม
7.3.1. นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม
8. ความสำพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ
8.1. วิทยาศาสตร์
8.1.1. เทคโนโลยีเป็นวิทยาการที่เกิดจากการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ในการแก้ปัญหา โดยมุ่งแสวงหากระบวนการหรือวิธีการ (Know How) โดยอาศัยเครื่องมือและความรู้ต่าง ๆ ผลของกระบวนการเทคโนโลยีมี 2 ลักษณะ คือ 1. เครื่องมือ หรือฮาร์ดแวร์ หมายถึง เทคโนโลยีในรูปของอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ เช่น เครื่องบำบัดน้ำเสีย เครื่องปรับอากาศ เครื่องบิน เป็นต้น 2.วิธีการหรือ เรียนกว่า ซอฟต์แวร์ หมายถึง เทคโนโลยีในรูปของวิธีการ กระบวนการ ความรู้ต่าง ๆ เช่น วิธีจัดการระบบบริหารองค์กร วิธีประเมินผลต่าง ๆ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ผู้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับปรากฎการณ์ธรรมชาติ คือ นักวิทยาศาสตร์ ความใฝ่รู้ หรืออยากรู้อยากเห็น ทำให้คนเป็นนักวิทยาศาสตร์ ความใฝ่ประดิษฐ์ทำให้คนเป็นช่างฝีมือ คนที่เรียนเทคโนโลยีจะต้องมีจิตวิญญาณสองส่วน คือ ใฝ่รู้ หรือ ใฝ่ศึกษาธรรมชาติ และใฝ่ทำหรือใฝ่ประดิษฐ์ บุคคลที่มีคุณลักษณะทั้ง 2 ประการ ได้แก่ โธมัส อัลวา เอดิสัน เป็นนักประดิษฐ์ ที่รวมความเป็นนักวิทยาศาสตร์และช่างฝีมือในตัวเอง เมื่อประมาณ 4,500 ปี มาแล้ว ชาวอียิปต์โบราณสร้างพีระมิดด้วยเทคโนโลยีบางอย่างสำหรับขนหินแกรนิตขนาดใหญ่ขึ้นไปเรียงกันถึงยอดสูงประมาณ 164 ฟุต เทคโนโลยีเกิดจากการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และการพัฒนาเครื่องมือของช่างฝีมือ ทำให้ได้เครื่องจักรกลที่ซับซ้อน
8.2. เกษตรศาสตร์
8.2.1. เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (คริสต์ศตวรรษที่ 16-17) ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าว หน้าควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติ คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจน เป็นต้น ตั้งเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีเพื่อถ่ายทอดและสอนให้ผู้อื่นได้ศึกษาและพัฒนา ส่วนในความหมาย ของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขาย แต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีมาเป็นลำดับ เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พ.ศ. 2514 และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนา จะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและ
8.3. ศึกษาศาสตร์
8.4. โภชนศาสตร์
8.4.1. การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น - ปัญหาผู้สอน - ปัญหาผู้เรียน - ปัญหาด้านเนื้อหา - ปัญหาด้านเวลา ปัญหาเรื่องระยะทางนอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษาอีกด้วยคณะกรรมการด้านเทคโนโลยีการศึกษาได้สรุปความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาดังนี้ 1 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น 2 เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี 3 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน 4 เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น การนำเทคโนโลยีด้านสื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้การศึกษามีพลัง 5 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง และได้พบกับสภาพความจริงในชีวิตมากที่สุด 6 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้เปิดโอกาสทางการศึกษาทั้งๆ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยบทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอนจึงมีอยู่ 4 บทบาท ดังนี้ 1. บทบาทด้านการจัดการ 2. บทบาทด้านการพัฒนา 3. บทบาทด้านทรัพยากร 4. บทบาทด้านผู้เรียนจาก Domain of Education Technology
8.4.2. โภชนศาสตร์ หรือ โภชนาการ เป็นวิชาวิทยาศาสตร์แขนง-หนึ่งที่กล่าวถึงความสำคัญของอาหารที่มีต่อสุขภาพของร่างกาย “ ศัพท์เฉพาะทางโภชนศาสตร์ที่ควรทราบ “ 1. อาหารที่กำหนดให้ (DIET) เป็นอาหารที่ได้กำหนดไว้หรือให้ รายชื่อตายตัวของอาหารนั้นแต่ละมื้อโดยมักจะกำหนดเป็นรายการอาหาร 2 .ผู้กำหนดอาหาร(Dietitian หรือ Dietecian) คือบุคลผู้ด้ำเนินงานด้านจัดปรุงอาหาร โดยยึดหลักวิชาโภชนศาสตร์ ในการจัดเตรียมอาหารบุคคลผู้นี้ต้อง คิดทำรายการอาหารเพื่อบริโภคเป็นมื้อรวมทั้งอาหารปกติและสำหรับคนป่วย 3. อาหาร (Food) คือสิ่งที่มนุษย์นำมาบริโภคได้ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายซ่อมแซมชำรุดส่วนที่สึกหรอให้พลังงานและความอบอุ่นตลอดจนช่วยในการคุ้มกันโรค พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ได้นิยามคำศัพท์คำว่า อาหาร ว่า อาหาร คือของกินหรือของค้ำจุนชีวิต ได้แก่ วัตถุทุกชนิดที่กิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายแต่ไม่รวมถึงยา วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร 4. อุปนิสัยในการบริโภค (Food Habbit) ศึกษาการกินและความเคยชินในการบริโภค 5. ทุพโภชนาการ(Mulnutrition) เป็นสภาพร่างกายที่ขาดสารอาหาร หรืออาจเรียกว่าเป็นโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร 6. สารอาหารหรือธาตุอาหาร(Nutrients) ได้แก่สารเคมีต่างๆที่มีอยู่ในอาหารที่คน รับประทานเข้าไป แบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่ๆ คือ 6.1 Inorganic compounds ประกอบด้วยเกลือแร่และน้ำ 6.2 Organic compounds ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน และวิตามิน 7. โภชนาการ(Nutritionist) คือบุคคลที่เรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โภชนศาสตร์แล้วนำเอาความรู้ไปให้การศึกษา อบรม และดำเนินการ ส่งเสริมให้ผู้คนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง ประโยชน์ของอาหาร 1. ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย 2. ทำให้มีการเจริญเติบโต 3. ช่วยบำรุงและกระตุ้นอวัยวะต่างๆให้ทำงาน 4. ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรค บำรุงสุขภาพ 5. ช่วยในการสืบพันธุ์ 6. ช่วยให้มีชีวิตยืนยาว โภชนบัญญัติ 9 ประการ องค์การอนามัยโลก(WHO) ได้ประกาศไว้ว่า ปี 2000 เป็นปีสุขภาพดีทั่วหน้า หรือ Health for all ทั้งหน่วยงานในประเทศต่างๆรวมถึงประเทศไทย ก็ต้องจัดกิจกรรมส่งเสริมเรื่องการโภชนาการ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ทางด้านประเทศไทยเช่น กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรงสาธารณะสุข สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และอีกหลายๆแห่งได้ร่วมกันรณรงค์โดยเน้นเรื่องการบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ และการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย ตาม โภชนบัญญัติ 9 ประการ ได้แก่ 1. กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่หลากหลาย หมั่นดูน้ำหนัก 2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก 3. กินผักให้มากและผลไม้เป็นประจำ 4. กินปลาเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ถั่ว 5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย 6. กินอาหารที่มีไขมันพอสมควร 7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารเผ็ด เค็ม หวาน จัด 8. กินอาหารที่ปราศจากสิ่งปนเปื้อน 9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอลล์
8.5. แพทยศาสตร์
8.5.1. การพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่หยุดยั้งทั้งทางด้านเทคโนโลยีการประมวลผล ซอฟต์แวร์เทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ลาธารณสุขมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการให้บริการผู้ป่วยและการจัดการบริหารงานของระบบโรงพยาบาลและสาธารณสุขจวบจนวันนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ไม่เพียงจำกัดแค่การให้บริการในวงการแพทย์ สาธารณสุข และโรงพยาบาลอีกต่อไป แต่เทคโนโลยีทางการแพทย์ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญทำให้ประชาชนและผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์สาธารณสุข รวมทั้งใช้บริการสาธารณสุขจากที่บ้านโดยไม่ต้องเดินทาง เพียงแค่คลิกคอมพิวเตอร์ที่บ้าน หรือแค่นอนพักผ่อนที่บ้าน คอมพิวเตอร์ที่อยู่รอบๆ ตัวคุณก็สามารถตรวจเช็คสุขภาพของคุณโดยที่คุณไม่รู้ตัวและสามารถส่งข้อมูลสุขภาพไปยังแพทย์เจ้าของไข้ หรือตรวจโรคผ่านระบบ ออนไลน์ สิ่งเหล่านี้จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป เมื่อบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และแอพพลิคเคชั่นต่างๆ หันมาพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อตอบสนองชีวิตประจำวันของมนุษย์มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแพทย์ทางไกลมาให้บริการผู้ป่วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาพยาบาล บริการสุขภาพสู่ยุค Health 3.0
8.6. พลังงานและสิ่งแวกล้อม
8.6.1. ในยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ในด้านความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษย์ในปัจจุบันจึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน อันเป็นผลมาจากการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมากมาย ในชีวิตประจำวันของคนทุกวันนี้ มีความผูกพันอยู่กับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกลมหายใจเข้าออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อยู่ในสังคมเมืองยิ่งต้องผูกพันตนเองติดอยู่กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อมนุษย์เพิ่มมากขึ้นความต้องการปัจจัยต่างๆ ในการดำรงชีวิตก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว มนุษย์จึงมีการแข่งขันในการสร้างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ขึ้น เพื่อความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจและสังคม แต่เทคโนโลยีก็มีผลในทางลบด้วย คือ ทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมเลวลง เมื่ออาณาจักรของมนุษย์ได้แผ่ขยายรุกรานธรรมชาติของโลกมากขึ้น สิ่งที่กำลังถูกทำลายมากที่สุดในปัจจุบัน คือ พื้นที่ที่เป็นป่าไม้ อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธรรมชาติหลายอย่างบนโลกผิดแปลกไป ตลอดจนการนำทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอื่นๆ มาใช้อย่างฟุ่มเฟือย ไม่คำนึงถึงประโยชน์สูงสุด ผลสืบเนื่องที่ตามมานอกจากความร่อยหรอเสื่อมโทรมของทรัพยากรแล้ว ยังได้สร้างปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วยการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ทั้งที่มีชีวติ และไม่มีชีวิต เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ในธรรมชาติ ทั้งในสภาพนิ่งหรือสภาพที่มีการเปลี่ยนแปลง ตามกาลเวลาและตามสภาพการกระตุ้น ทั้งจากภายในหรือภายนอก การศึกษาทางวิทยาศาสตร์มีจุดหมายเพื่อแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบจากการสังเกต ตั้งข้อสมมติฐาน พิสูจน์สมมติฐาน ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการ และเครื่องมือที่ได้จากการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ มาผสมผสานประยุกต์หรือใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ จึงมีประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่