Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เทคโนโลยีสัมพันธ์ by Mind Map: เทคโนโลยีสัมพันธ์

1. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

1.1. วิทยาศาสตร์

1.1.1. วิทยาศาสตร์เป็นตัวความรู้ ส่วนเทคโนโลยีนั้นเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติให้เกิดสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ เช่น นักชีววิทยาจะอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่อขวั้นและขูดเปลือกของพืชยืนต้นออกจะมีรากงอกออกมาได้ นักฟิสิกส์ก็จะอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็ก จึงมีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้น

1.2. โภชณาศาสตร์

1.2.1. ทำให้เทคโนโลยีด้านนี้สามารถกำหนดการบริโภคแล้วการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

1.3. เเพทยศาสตร์

1.3.1. เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อการให้บริการการแพทย์ ในประเทศไทยเองได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาเสริม เพื่อยกระดับการให้บริการสาธารณสุขไทย โดยเฉพาะกับประชาชนผู้ที่อยู่ห่างไกล และเทคโนโลยีเครือข่ายและระบบการแพทย์ทางไกล นับว่าเข้ามามีส่วนสำคัญที่ทำให้การรักษาพยาบาลภายในประเทศเกิดความเสมอภาพและเท่าเทียมกัน

1.4. พลังงานและสิ่งแวดล้อม

1.4.1. การนําพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การใช้พลังงานแบบประหยัด และการใช้เทค โนโลยีเพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเป็นการนําความรู้และศิลปวิทยาการในการดํารงชีวิตอยู่อย่างเหมาะสม ในสภาพแวดล้อมที่กําลังเปลี่ยนแปลง

1.5. ศึกษาศาสตร์

1.5.1. การนำเทคโนโลียีมาใช้ในการศึกษา หาความรู้เพิ่มเติม เช่นการสืบค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

1.6. เกษตรศาสตร์

1.6.1. เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ปฏิวัติวิทยาศาสตร์(คริสต์ศตวรรษที่16-17)ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่าเมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจน เป็นต้น ตั้งเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีเพื่อถ่ายทอดและสอนให้ผู้อื่นได้ศึกษาและพัฒนา ส่วนในความหมายของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้

2. เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ

2.1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านด้านสังคม

2.1.1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ เช่นโรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY(Digital Accessible Information System)

2.2. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

2.2.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

2.3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา

2.3.1. แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาไว้ 5 ประเด็น คือ 3.1.การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) มีหลายรูปแบบเช่น Drill and Practice, Linear Program , Branching Program, Simulation, Game, Multimedia, Intelligence CAI 3.2.การศึกษาทางไกล (Distance Learning) ซึ่งจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) หรือระบบการประชุมทางไกล (Video Teleconference) 3.3.เครือข่ายการศึกษา(Education Network) ซึ่งเป็นการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งมีบริการในหลายรูปแบบ เช่น Electronic Mail , File Transfer Protocol, Telnet , World Wide Web เป็นต้น เครื่องข่ายคอมพิวเตอร์จะสามารถให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีจำนวนมากมายที่เชื่อมโยงในเครือข่ายทั่วโลก 3.4.การใช้งานในห้องสมุด (Electronic Library) เป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลหนังสือ วารสาร หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย 3.5.การใช้งานในห้องปฏิบัติการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์ (Simulation) การใช้ในงานประจำและงานบริหาร (Computer Manage Instruction) เป็นการประยุกต์ใช้ในสำนักงานเพื่อช่วยในการบริหาร จัดการ ทำให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและแม่นยำ การตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆ ย่อมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

2.4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสาธารณสุข

2.4.1. เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนาด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้ 4.1ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยาเก็บเงิน 4.2การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย 4.3 สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยี สารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้ 4.4เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น 4.5เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และ ติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำเป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น 4.6ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกลทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย

2.5. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

2.5.1. นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม

3. เทคโนโลยีคืออะไร?

3.1. เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น

4. ความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยี

4.1. 2.1ด้านการดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีการคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา

4.2. 2.2ด้านการพัฒนาประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

4.3. 2.3ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติ นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม

5. เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนำเข้า

5.1. เทคโนโลยีท้องถิ่น หมายถึง ศิลปะในการสร้าว ประยุกต์ หรือดัดแปลง เครื่องมือใช้ให้สอดคล้อง เหมาะสมวิถีชีวิต สภาพท้องถิ่นได้อย่างมีประโยชน์และประหยัดเทคโนโลยีท้องถิ่น รวมทั้งสิ่งที่ท้องถิ่นคิดขึ้นเอง เช่น การสารแห เครื่องจักรสาน ทอผ้า เป็นต้น หรือหมายถึงสิ่งที่นำมาดัดแปลง ปรับปรุง หรือพัฒนาเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย ประหยัดคุ้มค่า สะดวกและปลอดภัยในการใช้ เช่น ปืนแก๊ป การทำเครื่องมือหยอดเมล็ดพืช เป็นต้น

5.2. เทคโนโลยีนำเข้า หมายถึงแม้ว่าเทคโนโลยีทางการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย จะมีอยู่ในระดับสูง แต่เทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศ ยังกล่าว ได้ว่าอยู่ในระดับต่ำ เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ การสื่อสาร โทรคมนาคม การขนส่ง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้ จำเป็นต้องรับเอามาจากต่างประเทศ และนำมาพัฒนา ปรับปรุง ให้เหมาะสม กับสภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต และวัฒนธรรม ของสังคมไทย ดังนี้ 1) เทคโนโลยีการเกษตร ที่จำเป็นต้องนำเข้าจาก ต่างประเทศ ได้แก่ สารเคมีป้องกันกำจัด ศัตรูพืช การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ซึ่งเป็นการปลูกพืชในน้ำยา ที่มีธาตุอาหารครบ ทำให้สามารถ ควบคุมผลผลิต และคุณภาพของพืชได้ นอกจากนี้อาจจะต้อง นำเข้า เทคโนโลยี ในการเก็บรักษา คุณภาพ ผลิตผลทางการเกษตร เพื่อการส่งออก เครื่องจักรกล ที่ทันสมัย มาช่วยทุ่นแรงในการ ทำไร่นา 2) เทคโนโลยีชีวภาพ มีการนำเข้าเทคโนโลยีชีวภาพ จากต่างประเทศมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ทางด้านการแพทย์ เช่น การผลิตวัคซีน ป้องกันโรคต่าง ๆ การผลิตยาบางชนิด 3) เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม มีการนำเข้าเทคโนโลยี เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรม เคมี เช่น อุตสาหกรรมกรดกำมะถัน ต้องใช้วัตถุดิบ จากต่างประเทศ 4) เทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น เทคโนโลยีการผลิต และการพัฒนายาใหม่ เทคโนโลยีการ วินิจฉัยโรค เทคโนโลยีของอวัยวะเทียม เป็นต้น 5) เทคโนโลยีการสื่อสาร โทรคมนาคม นับเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง สำหรับสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ในปัจจุบัน และอนาคต ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน เช่น โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ โทรสาร อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ล้วนแต่เป็นเทคโนโลยี ที่นำเข้าจาก ต่างประเทศแทบทั้งสิ้น 6) เทคโนโลยีการขนส่ง ได้แก่ การเดินรถ เช่น รถยนต์ รถไฟ รถไฟฟ้าการเดินเรือ เครื่องบิน การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ เป็นต้น 7) เทคโนโลยีระดับสูง (ไฮเทค) ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์การสื่อสาร ระบบเลเซอร์ หุ่นยนต์ เป็นต้น 8) เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ นับเป็นกำลังสำคัญ ในการผลักดันความก้าวหน้า ด้านอุตสาหกรรม เป็นอย่างมาก