1. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ
1.1. ความสัมพันธ์เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์
1.1.1. วิทยาศาสตร์มีจุดมุ่งหมายในการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ โดยตั้งข้อสมมติฐาน พิสูจน์สมมติฐานด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ หรือข้อเท็จจริงจากปรากฎการณ์นั้น ๆ ถ้ามีการพิสูจน อีกก็ยังคงใช้ข้อเท็จจริงเหมือนเดิม เทคโนโลยีเป็นวิทยาการที่เกิดจากการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ในการแก้ปัญหา โดยมุ่งแสวงหากระบวนการหรือวิธีการ (Know How) โดยอาศัยเครื่องมือและความรู้ต่าง ๆ ผลของกระบวนการเทคโนโลยีมี 2 ลักษณะ คือ 1. เครื่องมือ หรือฮาร์ดแวร์ หมายถึง เทคโนโลยีในรูปของอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ เช่น เครื่องบำบัดน้ำเสีย เครื่องปรับอากาศ เครื่องบิน เป็นต้น 2.วิธีการหรือ เรียนกว่า ซอฟต์แวร์ หมายถึง เทคโนโลยีในรูปของวิธีการ กระบวนการ ความรู้ต่าง ๆ เช่น วิธีจัดการระบบบริหารองค์กร วิธีประเมินผลต่าง ๆ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
1.2. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับเกษตรศาสตร์
1.2.1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนา จะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและ การแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศชาติและส่วนอื่นๆอีกมาก
1.3. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศึกษาศาสตร์
1.3.1. การนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอน และเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษาอีกด้วยคณะกรรมการด้านเทคโนโลยีการศึกษาได้สรุปความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาเช่น 1 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น 2 เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี 3 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน เป็นต้น
1.4. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับแพทย์ศาสตร์
1.4.1. การพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่หยุดยั้งทั้งทางด้านเทคโนโลยีการประมวลผล ซอฟต์แวร์เทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ลาธารณสุขมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการให้บริการผู้ป่วยและการจัดการบริหารงานของระบบโรงพยาบาลและสาธารณสุขจวบจนวันนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ไม่เพียงจำกัดแค่การให้บริการในวงการแพทย์ สาธารณสุข และโรงพยาบาลอีกต่อไป แต่เทคโนโลยีทางการแพทย์ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญทำให้ประชาชนและผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์สาธารณสุข รวมทั้งใช้บริการสาธารณสุขจากที่บ้านโดยไม่ต้องเดินทาง
1.5. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับโภชนศาสตร์
1.5.1. การส่งเสริมภาวะ โภชนาการได้ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้มีสุขภาพ พลานามัยดี ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่มีผลผลิตทางการเกษตร อย่างหลากหลาย สามารถนํามาบริโภคและใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร การถนอมอาหา่ร และการแปรรูปอาหาร เพื่อเลี้ยงประชากรของประเทศ หรือเพื่อส่งออกไปจําหน่ายในต่างประเทศ 1. เทคโนโลยีการถนอมอาหารโดยการพาสเจอร์ไรซ์และการสเตอริไลซ์ สามารถทําได้ 2 วิธี คือ การพาสเจอร์ไรซ์ และการ สเตอริไลซ์ 1.1การพาสเจอร์ไรซ์ ใช้ความร้อนที่อุณภูมิต่ำกว่าจุดเดือด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายจุลินทรีย์ที่ไม่สร้างสเปอร์และก่อให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับอาหารแต่จะไม่ทำลายจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ 1.2การสเตอริไลซ์ ใช้ความร้อนที่อุณภูมิจุดเดือดหรือสูงกว่าจุดเดือดเพื่อทำลายปอร์ของจุลินทรีย์ทุกชนิดที่เป็นสาเหตุให้อาหารบูดเสีย ทำให้ผู้บริโภคสามารถรับประทานอาหารที่เก็บรักษาด้วยวิธีนี้ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งใช้ความร้อนที่อุณภูมิ 135-150 องศาเซลเซียล นาน 1-4 วินาที 2. เทคโนโลยีการถนอมอาหารโดยการแช่เย็นและการแช่แข็ง 3เทคโนโลยีปรับปรุงคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูป 4. การเร่งกระบวนการหมัก 5 การถนอมอาหารโดยการฉายรังสี
1.6. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับพลังงานและสิ่งแวดล้อม
1.6.1. เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเป็นการนําความรู้และศิลปวิทยาการในการดํารงชีวิตอยู่อย่างเหมาะสม ในสภาพแวดล้อมที่กําลังเปลี่ยนแปลง 1. เทคโนโลยีจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานจากธรรมชาติที่มีความสะอาดปราศจากการก่อมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม มีปริมาณมากมายมหาศาลและไม่มีหมดสิ้น จึงมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้แทนพลังงานอื่นๆ 1) เทคโนโลยีผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ เป็นระบบการผลิตกระแส-ไฟฟ้าที่ได้รับการออกแบบสําหรับใช้งานในชนบทที่ไม่มีระบบสายไฟส่งไฟฟ้า 2) เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตความร้อน ประเทศมีการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบใช้งานต่างๆเช่น เครื่องผลิตนํ้าร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องอบแห้งจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นต้น 2. เทคโนโลยีจากพลังงานลมเป็นพลังงานธรรมชาติ ที่สะอาด บริสุทธิ์
2. เทคโนโลยีหมายถึงอะไร
2.1. สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้
3. ความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยี
3.1. ด้านการดำรงชีวิต
3.1.1. ทำให้มีความคล่องตัวและสะดวกเร็วมากขึ้นในการทำกิจกรรมต่างๆและทำได้หลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน ประหยัดเวลา
3.2. ด้านการพัฒนาประเทศ
3.2.1. ทำให้มีการแข่งขันด้านธุรกิจมากขึ้น ทันกับข้อมูลข่าวสารตลอดเวลา
3.3. ด้านสิ่งแวดล้อม
3.3.1. ช่วยให้มนุษย์มีความสามารถมากขึ้น โดยเฉพาะความสามารถในการเอาชนะธรรมชาติ เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
4. เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนำเข้า
4.1. เทคโนโลยีท้องถิ่น
4.1.1. เทคโนโลยีดั้งเดิม ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ ในการดำเนิน ชีวิต การทำมาหากิน การต่อสู้กับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อม ของคนในท้องถิ่นนั้น เทคโนโลยีท้องถิ่น จะมีลักษณะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ของท้องถิ่น และมีความสามารถ ในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปได้ ไม่หยุดอยู่กับที่ ทั้งนี้เนื่องจาก การที่มนุษย์ต้องปรับตัว ให้เข้ากับสภาพธรรมชาติ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เทคโนโลยีที่เหมาะสม กับท้องถิ่น ควรมีพื้นฐานมาจาก การพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้าน โดยการดัดแปลงแก้ไข ความรู้พื้นฐาน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เป็นประโยช
4.2. เทคโนโลยีนำเข้า
4.2.1. แม้ว่าเทคโนโลยีทางการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย จะมีอยู่ในระดับสูง แต่เทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศ ยังกล่าว ได้ว่าอยู่ในระดับต่ำ