เทคโนโลยีสัมพันธ์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เทคโนโลยีสัมพันธ์ by Mind Map: เทคโนโลยีสัมพันธ์

1. ความหมายของเทคโนโลยี

1.1. เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด สรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ ลักษณะของเทคโนโลยี

1.1.1. ตัวอย่าง

1.1.1.1. ระบบเอทีเอ็ม

1.1.1.2. การลงทะเบียนเรียน

1.1.1.3. การทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต

1.1.1.4. การบริการออนไลน์

1.1.1.5. การสืบค้นข้อมูล

1.1.1.6. การเผยแพร่ข้อมูล

1.1.1.7. การติดต่อประสานงาน

2. เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนำเข้า

2.1. เทคโนโลยีท้องถิ่น หมายถึง ศิลปะในการสร้าว ประยุกต์ หรือดัดแปลง เครื่องมือใช้ให้สอดคล้อง เหมาะสมวิถีชีวิต สภาพท้องถิ่นได้อย่างมีประโยชน์และประหยัดเทคโนโลยีท้องถิ่น รวมทั้งสิ่งที่ท้องถิ่นคิดขึ้นเอง หรือพัฒนาเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย ประหยัดคุ้มค่า

2.1.1. ตัวอย่าง

2.1.1.1. เครื่องจักรสาน เครื่องทอผ้า อาหารหมักดอง

2.2. เทคโนโลยีนำเข้า หมายถึง เทคโนโลยี ที่จำเป็นต้องรับเอามาจากต่างประเทศ และนำมาพัฒนา ปรับปรุง ให้เหมาะสม กับสภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต และวัฒนธรรม ของสังคมไทย เช่น เทคโนโลยีการเกษตร ชีวภาพ อุตสาหกรรม การแพทย์ การสื่อสาร เป็นต้น

2.2.1. ตัวอย่าง

2.2.1.1. การผลิตวัคซิน อวัยวะเทียม อุตสาหกกรมเคมี

3. เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ

3.1. 1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก

3.1.1. ตัวอย่าง

3.1.1.1. การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

3.2. 2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้

3.2.1. ตัวอย่าง

3.2.1.1. คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY

3.3. 3.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาไว้ 5 ประเด็น คือ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การศึกษาทางไกล เครือข่ายการศึกษา การใช้งานในห้องสมุด การใช้งานในห้องปฏิบัติการ

3.3.1. ตัวอย่าง

3.3.1.1. การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม หรือระบบการประชุมทางไกล

3.4. 4.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนาด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ

3.4.1. ตัวอย่าง

3.4.1.1. แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์

3.5. 5.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากร ธรรมชาติ นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์

3.5.1. ตัวอย่าง

3.5.1.1. นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม

4. ความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยี

4.1. ด้านการดำรงชีวิตประจำวัน

4.1.1. มนุษย์มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดีทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อกันได้ตั้งแต่การตื่นนอนจนถึงการเข้านอน ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองที่ชีวิตประจำวันมีแต่ความเร่งรีบต้องแข่งขันกับเวลา การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานแล้วยังช่วยย่นระยะเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้สั้นลง

4.1.1.1. ตัวอย่าง

4.1.1.1.1. โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ นาฬิกา ฯลฯ

4.1.1.1.2. บัตรเครดิต ธนาคาร หรือข้อมูลบัชญีเงินฝาก ATM

4.2. ด้านการพัฒนาประเทศ

4.2.1. การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

4.2.1.1. ตัวอย่าง

4.2.1.1.1. การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการเกษตรและพยากรณ์ผลผลิตด้านการเกษตร

4.2.2. การพัฒนาด้านด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ เช่นโรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY(Digital Accessible Information System)

4.2.2.1. ตัวอย่าง

4.2.2.1.1. ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน

4.2.3. การพัฒนาด้านสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนาด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ

4.2.3.1. ตัวอย่าง

4.2.3.1.1. การทำทะเบียนคนไข้ ตลอดจนการวินิจฉัย และรักษาโรคต่าง ๆ

4.3. ด้านสิ่งแวดล้อม

4.3.1. การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากร ธรรมชาติ นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม

4.3.1.1. ตัวอย่าง

4.3.1.1.1. ระบบป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม หรือภาพถ่ายทางอากาศร่วมกับการจดเก็บรักษาข้อมูลระดับน้ำทะเล ความสูงของคลื่นจากระบบเรดาร์

5. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

5.1. วิทยาศาสตร์

5.1.1. เทคโนโลยีสัมพันธ์กับความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเกิดการใช้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เทคโนโลยีก็เพื่อแก้ปัญหาทางเทคโนโลยี เทคโนโลยีใช้เพื่อเสริมการแก้ปัญหา นั่นก็คือ การนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปคู่การปฏิบัตินั่นเอง

5.1.1.1. ตัวอย่าง

5.1.1.1.1. การแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ โดยตั้งข้อสมมติฐาน พิสูจน์สมมติฐานด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

5.2. เกษตรศาสตร์

5.2.1. เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าว หน้าควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติ คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจน เป็นต้น ตั้งเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีเพื่อถ่ายทอดและสอนให้ผู้อื่นได้ศึกษาและพัฒนา

5.2.1.1. ตัวอย่าง

5.2.1.1.1. การผลิตคิดค้นเครื่องจักรกลทางการเกษตรและพัฒนากระบวนการผลิตแทนการเกษตรแบบดั้งเดิมที่ใช้กำลังคน

5.3. ศึกษาศาสตร์

5.3.1. การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น ปัญหาผู้สอน ปัญหาผู้เรียน ปัญหาด้านเนื้อหา ปัญหาด้านเวลา ปัญหาเรื่องระยะทางนอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษาอีกด้วย

5.3.1.1. ตัวอย่าง

5.3.1.1.1. การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยบทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอน

5.4. เเพทย์ศาสตร์

5.4.1. การพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่หยุดยั้งทั้งทางด้านเทคโนโลยีการประมวลผล ซอฟต์แวร์เทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ลาธารณสุขมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการให้บริการผู้ป่วยและการจัดการบริหารงานของระบบโรงพยาบาลและสาธารณสุขจวบจนวันนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ไม่เพียงจำกัดแค่การให้บริการในวงการแพทย์ สาธารณสุข และโรงพยาบาลอีกต่อไป

5.4.1.1. ตัวอย่าง

5.4.1.1.1. ประชาชนและผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์สาธารณสุขรวมทั้งใช้บริการสาธารณสุขจากที่บ้านโดยไม่ต้องเดินทาง

5.5. โภชนศาสตร์

5.5.1. โภชนาการ (Nutrition) หมายถึง ศาสตร์หรือความรู้เกี่ยวกับอาหาร (Food) ที่เมื่อนำเข้าสู่ร่างกายแล้วช่วยสร้างเสริมสุขภาพที่ดี ทั้งในด้านการเจริญเติบโต การให้พลังงาน การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และ การสร้างเสริมภูมิต้านทานโรค หรือ อาจก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ เช่น อาหารที่ปนเปื้อน ดังนั้น โภชนาการจึงต้องเรียนรู้ถึงคุณค่าหรือคุณประโยชน์ของ “ สารอาหาร (Nutrient) ” ที่ประกอบด้วย โปรตีน (Protein) คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) ไขมัน (Fat) วิตามิน (Vitamin) เกลือแร่ (Mineral) น้ำ (Water)

5.5.1.1. ตัวอย่าง

5.5.1.1.1. นำเอาความรู้ไปให้การศึกษา อบรม และดำเนินการ ส่งเสริมให้ผู้คนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง

5.6. พลังงานเเละสิ่งเเวดล้อม

5.6.1. เทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์มีความสามารถมากขึ้นโดยเฉพาะความสามารถในการเอาชนะธรรมชาติเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยเฉพาะเทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์สามารถทำงานได้มากขึ้นเดินทางได้รวดเร็วขึ้น ด้วยการนำเอาเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคนและแรงงานสัตว์ด้านเทคโนโลยีพลังงานมนุษย์มีความสามารถสูงจากการรู้จักเอาพลังงานต่างๆมาใช้เช่นพลังงานแสงอาทิตย์พลังงานน้ำมันแก๊สธรรมชาติและพลังงานจากน้ำตกฯลฯ

5.6.1.1. ตัวอย่าง

5.6.1.1.1. เติมอากาศเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนลงในน้ำ

5.6.1.1.2. ลดพลังงานในการหลอมวัตถุดิบและต้นทุนการผลิต