1. ความหมายของเทคโนโลยี
1.1. เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทาง วิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อ ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
2. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ
2.1. วิทยาสตร์ศาสตร์ นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาแก้ไขปัญหาเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ก็ต้องอาศัยเทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ เช่น นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ การใช้เครื่องมือต่างๆในการทดลองทางวิทยาศาสตร์
2.2. ศึกษาศาสตร์ นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ปัญหาด้านการศึกษา นอกจากนั้นนำมาเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนและการเรียนรู้ เช่น การใช้โทรศัพท์ในการค้นหาความรู้ต่าง การใช้โปรเจกต์เตอร์ในการสอน
2.3. โภชนศาสตร์ นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการแปรรูปถนอมอาหารต่างๆ และใช้เทคโนโลยีในการค้นหาความรู้มาใช้ด้านโภชนาการ เช่น การถนอมอาหารโดยการพาสเจอร์ไรซ์ การใช้โทรศัพท์หาข้อมูลหลัก 5 หมู่
2.4. แพทยศาสตร์ นำเอาเทคโนโลยีมาสร้างเป็นเครื่องมือทางแพทย์ต่างๆ ประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการแพทย์ เช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างเครื่องฉายรังสีในการรักษาโรค การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทดลองทางการแพทย์
2.5. พลังงานสิ่งแวดล้อม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตพลังงานต่างๆ และการนำพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านเทคโนโลยี เช่น พลังงานลมต้องอาศัยเทคโนโลยีกังหันลม การนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้สร้างเทคโนโลยี
2.6. เกษตรศาสตร์ ปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเกษตร ทั้งดานการผลิตคิดค้นเครื่องจักรกลทางการเกษตรและพัฒนากระบวนการผลิตแทนการเกษตรแบบดั้งเดิมที่ใช้กำลังคน เช่น การใช้คนเกี่ยวข้าวแทนการใช้คน
3. เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ
3.1. สาระสำคัญ
3.1.1. เทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมในประเทศไทนยังมีระดับต่ำและ การเผยแพร่ไปยังผู้ใช้เทคโนโลยียังไม่มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีที่ เหมาะสมกับท้องถิ่น ควรมีพื้นฐานมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้าน โดยการดัดแปลงแก้ไชความรู้พื้นฐานหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็น ประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3.2. รูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ ขึ้นอยู่กับชนิดโครงการที่ต้องการพัฒนา ซึ่งประเทศไทยต้องใช้เทคโนโลยี 5แบบคือ
3.2.1. 1. เทคโนโลยีด้านมาตรวิทยา
3.2.2. 2.เทคโนโลยีด้านเทคนิคการผลิตและการควบคุมคุณภาพ
3.2.3. 3.เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบและการผลิต
3.2.4. 4.เทคโนโลยีด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์และคุณภาพ
3.2.5. 5.เทคโนโลยีด้านการจัดการต้นทุนมาตรฐานสินค้าและสิ่งแวดล้อม
4. ความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยี
4.1. ด้านการพัฒนาประเทศ
4.1.1. 1.เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก
4.1.2. 2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้
4.1.3. 3.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา เช่น 3.1.การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3.2การศึกษาทางไกล 3.3การใช้งานในห้องปฎิบัติการ
4.2. ด้านการดำรงชีวิต
4.2.1. ในชีวิตประจำวันเราต้องเจอกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากมาย ดังนั้นเทคโนโลยีจึงมีผลกับเรา ทั้งในด้านการเรียนการสอนในโรงเรียนจะมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ เป็นต้น จะเห็นว่าเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิต บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป
4.3. ด้านสิ่งแวดล้อม
4.3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากร ธรรมชาติ นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม
5. เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนำเข้า
5.1. เทคโนโลยีท้องถิ่น
5.1.1. เทคโนโลยีเหล่านี้แต่เดิมเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นโดยผู้คิดค้นอาจไม่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เป็นระบบเลย หากแต่อาศัยการช่างสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติของตนเป็นพื้นฐานในการคิดค้นเทคโนโลยีขึ้นมา เทคโนโลยีเหล่านี้อาจเรียกว่าเป็น เทคโนโลยีท้องถิ่น (Indigenious Technology)
5.1.2. เทคโนโลยีท้องถิ่นสามารถแบ่งได้ 3 ระดับคือ 1. เทคโนโลยีระดับต่ำ (Low Technology) – เป็นเทคโนโลยีที่มีตั้งแต่ในอดีต ใช้วัสดุจากธรรมชาติ รวมทั้งแรงงานในท้องถิ่น วัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ผู้ที่มีความสามารถในระดับนี้จำเป็นต้องมีความรู้ในเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพียงแต่รู้หลักและวิธีการใช้เทคโนโลยีนั้น ๆ ก็เพียงพอแล้ว เช่น ครกตำข้าว ลอบดักปลา
5.1.3. 2. เทคโนโลยีระดับกลาง (Intermediate Technology) – เกิดจากการปรับปรุงเทคโนโลยีระดับต่ำ เพื่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ผู้พัฒนาเทคโนโลยีมีความรู้ลึกซึ้ง นักพัฒนามีบทบาทมากในการใช้เทคโนยโลยีระดับกลางในการเสริมความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้คนในท้องถิ่น เช่น การถนอมอาหาร การปลูกพืชหมุนเวียน การสร้างอ่างเก็บน้ำ
5.1.4. 3. เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology) – เกิดจากการสะสมประสบการณ์อันยาวนาน มีความสลับซับซ้อน เทคโนโลยีระดับสูงจำเป็นต้องอาศัยการศึกษาเรียนรู้ในสถาบันการศึกษาระดับสูง มีการวิจัยอย่างสม่ำเสมอ คิดค้นเครื่องมือต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น การผลิตอาหารกระป๋อง การผลิตเครื่องคัดขนาดพืช การผลิตแผ่นผลิตพลังงานแสงอาทิตย์
5.1.5. ประเภทของเทคโนโลยีท้องถิ่นสามารถแบ่งได้ดังนี้ 1. เทคโนโลยีการเกษตร เช่น ความรู้ในการเพาะปลูกพืช การขยายพันธ์พืช 2. เทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การหมักน้ำปลา อาหารหมักดอง การทำเหล้าสาโท 3. เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม ได้แก่เทคโนโลยีกระบวนการผลิต การวางแผนการสร้างโรงงาน
5.2. เทคโนโลยีนำเข้า
5.2.1. ประเทศไทยต้องพึ่งพาเทคโนโลยีนำเข้าจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก สาเหตุนี้เนื่องมาจากความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต เพราะประเทศไทยมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ไม่จำเป็นต้องมีการดัดแปลงสิ่งใหม่ ๆ ก็อยู่ได้ จึงทำให้คนไทยไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างจริงจัง
5.2.2. เทคโนโลยีที่ประเทศไทยได้นำเข้าประกอบด้วย 1. เทคโนโลยีการเกษตร เช่น เครื่องจักรทางการเกษตร ด้านการกำจัดศัตรูพืช เครื่องมือเก็บเกี่ยว การรักษาคุณภาพผลผลิตหลังจากเก็บเกี่ยว 2. เทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การผลิตวัคซิน การผลิตยา 3. เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกกรมเคมี 4. เทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น เทคโนโลยีอวัยวะเทียม การผลิตและพัฒนายา 5. เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม เช่นโทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์