Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เทคโนโลยีสัมพันธ์ by Mind Map: เทคโนโลยีสัมพันธ์

1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ

1.1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

1.1.1. ประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

1.2. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านด้านสังคม

1.2.1. เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้

1.3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา

1.3.1. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

1.3.2. การศึกษาทางไกล (Distance Learning)

1.3.2.1. การใช้วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) หรือระบบการประชุมทางไกล (Video Teleconference)

1.3.3. เครือข่ายการศึกษา(Education Network)

1.3.4. การใช้งานในห้องสมุด (Electronic Library)

1.3.5. การใช้งานในห้องปฏิบัติการ

1.3.5.1. เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์

1.4. เทคโนโลยี สารสนเทศกับการพัฒนาด้านสาธารณสุข

1.4.1. ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย

1.4.1.1. ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยาเก็บเงิน

1.4.2. การสนับสนุนการรักษาพยาบาล

1.4.3. สามารถให้คำปรึกษาทางไกล

1.4.4. เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.4.4.1. เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น

1.4.5. ในด้านการให้ความรู้

1.5. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

1.5.1. ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม

2. เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนําเข้า

2.1. เทคโนโลยีท้องถิ่น

2.1.1. หมายถึง เทคโนโลยีดั้งเดิม ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต การทำมาหากิน การต่อสู้กับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของคนในท้องถิ่นนั้น

2.1.2. แบ่งได้ 3 ระดับ

2.1.2.1. เทคโนโลยีระดับต่ำ (Low technology) เป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่แต่เดิม เช่น ยาสมุนไพรพื้นบ้าน ครกตำข้าว เป็นต้น

2.1.2.2. เทคโนโลยีระดับสูง (High technology) เป็นเทคโนโลยีที่ได้จาก ประสบการณ์อันยาวนาน มีความสลับซับซ้อน รู้จักดัดแปลงเทคโนโลยีเดิม ให้มีคุณภาพดีขึ้น จนก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การผลิตอาหารกระป๋อง กะทิสำเร็จรูป ยู เอช ที เป็นต้น

2.2. เทคโนโลยีนําเข้า

2.2.1. เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ จำเป็นต้องรับเอามาจากต่างประเทศและนำมาพัฒนาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต และวัฒนธรรมของสังคมไทย

2.2.1.1. เทคโนโลยีการเกษตร ที่จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน และอาจจะต้องนำเข้าเทคโนโลยีในการเก็บรักษาคุณภาพผลิตผลทางการเกษตร

2.2.1.2. เทคโนโลยีชีวภาพ โดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ เช่น การผลิตวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ การผลิตยาบางชนิด

2.2.1.3. เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม มีการนำเข้าเทคโนโลยีเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมเคมี เช่น อุตสาหกรรมกรดกำมะถันต้องใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศ

2.2.1.4. เทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น เทคโนโลยีการผลิตและการพัฒนายาใหม่ เทคโนโลยีการวินิจฉัยโรค

2.2.1.5. เทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์

2.2.1.6. เทคโนโลยีการขนส่ง ได้แก่ การเดินรถ เช่น รถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน เป็นต้น

2.2.1.7. เทคโนโลยีระดับสูง(ไฮเทค) ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์การสื่อสาร ระบบเลเซอร์ หุ่นยนต์ เป็นต้น

2.2.1.8. เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์

3. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

3.1. วิทยาศาสตร์

3.1.1. ใช้การออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อแก้ปัญหา

3.1.1.1. การประดิษฐ์สายล่อฟ้า

3.1.1.2. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตและแปรรูปอาหาร

3.2. เกษตรศาสตร์

3.2.1. การผลิตเครื่องจักรและพัฒนากระบวนการผลิตแทนที่ใช้กำลังคน

3.2.1.1. ใช้เครื่องจักรการเก็บเกี่ยวผลผลิต

3.2.1.2. ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช

3.3. ศึกษาศาสตร์

3.3.1. นำมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพการสอนและการศึกษา

3.3.1.1. ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

3.3.1.2. ขยายขีดความสามารถของครู ในการควบคุมผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิด

3.4. โภชนศาสต์

3.4.1. เป็นการแปรรูปผลิตผลการเกษตรหรือของสดเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีคุณภาพดี ปลอดภัย และสามารถเก็บรักษาได้นาน

3.4.1.1. อาหารกระป๋อง

3.4.1.2. การถนอมอาหารโดยการฉายรังสีเพื่อยับยั้งแบคทีเรีย

3.5. แพทยศาสตร์

3.5.1. ช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแพทย์ได้ง่ายขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพ และความสะดวกในการทำงานของแพทย์

3.5.1.1. Medical Grid ทำให้การรักษาของพยาบาลสมบูรณ์แบบมากขึ้น

3.5.1.2. ระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) การส่งผ่านภาพถ่ายจากเครื่อง PET-CT ไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่ออ่านผลและวินิจฉัยภาพถ่ายเซลล์มะเร็งผ่านระบบเครือข่าย

3.6. พลังงานและสิ่งแวดล้อม

3.6.1. เทคโนโลยีจากพลังงานธรรมชาติเป็นการจัดการทรัพยากรเพื่อให้เปลี่ยนเป็นของเสียน้อยที่สุด

3.6.1.1. เทคโนโลยีจากพลังงานลม อาศัยเทคโนโลยีกังหันลม

3.6.1.2. การนำเศษแก้วมารีไซเคิลใหม่ในอุตสาหกรรมการผลิตขวดแก้ว ช่วยลดพลังงานในการหลอมวัตถุดิบและต้นทุนการผลิต

4. ความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยี

4.1. ด้านการดำรงชีวิตประจำวัน

4.1.1. ช่วยส่งเสริมงานค้นคว้าด้านเทคโนโลยี

4.1.2. ช่วยส่งเสริมด้านความสะดวกสบายของมนุษย์

4.1.3. ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์

4.1.4. ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย

4.1.5. ช่วยส่งเสริมสุขภาพ

4.1.6. ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง

4.2. ด้านการพัฒนาประเทศ

4.2.1. ด้านเศรษฐกิจ อุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสินค้าออกที่มีความสำคัญและมูลค่าสูงมากของสินค้าออกของประเทศ

4.2.2. ด้านการศึกษา การพัฒนาการศึกษาของประเทศ มขึ้นอยู่กับระบบข้อมูลข่าวสารและระบบสารสนเทศที่ดี

4.2.3. ด้านสาธารณสุข เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพ ของสถานพยาบาลของรัฐและเอกชนในการให้บริการแก่ประชาชน

4.2.4. ด้านการเกษตร ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของเกษตรกรไทยในเรื่องการรับรู้ข่าวสาร ข้อมูล การตลาด ผลิตผลทางการเกษตร

4.2.5. ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การนำดาวเทียมเข้ามาช่วยในการสำรวจและเก็บข้อมูลฐานทรัพยากรธรรมชาติ

4.2.6. ด้านอุตสาหกรรมและการบริการ เพื่อให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลง

4.2.7. ด้านการบริหารของรัฐ เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการสำรองตั๋วโดยสารรถไฟ

4.2.8. ด้านการท่องเที่ยว เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนประกอบหนึ่งในกระบวนการส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการจองตั๋วเครื่องบิน

4.3. ด้านสิ่งแวดล้อม

4.3.1. การนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับความรู้ด้านต่างๆ เช่น ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การทำกังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การทำกังหันน้ำชัยพัฒนาเพื่อบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำ

5. ความหมายของเทคโนโลยี

5.1. วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม