week-4 ร่วมคิดร่วม พัฒนานวัตกรรมการศึกษา

Jetzt loslegen. Gratis!
oder registrieren mit Ihrer E-Mail-Adresse
week-4 ร่วมคิดร่วม พัฒนานวัตกรรมการศึกษา von Mind Map: week-4 ร่วมคิดร่วม พัฒนานวัตกรรมการศึกษา

1. นวัตกรรมด้านสื่อการสอน

1.1. สุนิสา

1.1.1. นวัตกรรมสื่อการสอน เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่ - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) - มัลติมีเดีย (Multimedia) - การประชุมทางไกล (Tele Conference) - ชุดการสอน - วีดีทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Media) หลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ กิดานันท์ มลิทอง (2543 : 245) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม เป็นแนวความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย เคนเนท (Kencth,1955 : 128 ) กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สำหรับการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาผลิตอุปกรณ์ เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ นำมาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2. นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน

2.1. วิรากร

2.1.1. การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL ได้พัฒนาจากเทคนิค KWL ของโอเกิล ที่ต้องอาศัยทักษะการอ่านเป็นพื้นฐาน นั่นคือ นักเรียนต้องมีความสามารถในการอ่านก่อนจึงจะสามารถพัฒนาทักษะการอ่านใหม่คุณภาพมากขึ้น จากเทคนิคKWL เพื่อใช้สอน การดำเนินการตามลำดับขั้นตอน KWL หรือ KWDL จะช่วยชี้นำ การคิดแนวทางในการอ่านและหาคำตอบของคำถามสำคัญต่าง ๆ จากเรื่องนั้น จากนั้นสามารถนำมาใช้ในการเรียนรู้ตามความต้องการ เทคนิค KWDL มีขั้นตอนการทำ งาน 4 ขั้น ซึ่งเทคนิค KWDL มา จากคำถามที่ว่า K: เรารู้อะไร (What we Know) W: เราต้องการรู้, ต้องการทราบอะไร (What we want to know) D: เราทำอะไร.อย่างไร (What we Do) L: เราเรียนรู้อะไรจากการดำเนินการขั้นที่3 (What we Learned) การกำหนดขั้นตอนของเทคนิค KWDL การมีคำถามนำเพื่อให้คิดหาข้อมูลของคำตอบ ตามที่ต้องการในแต่ละขั้นจะช่วยส่งเสริมการอ่านมากขึ้น โดยเฉพาะการอ่านเชิงวิเคราะห์การนำกระบวนการหรือเทคนิค KWDL ไปใช้ในการสอนคณิตศาสตร์เป็นวิธีที่เหมาะสมอีกวิธีหนึ่ง

2.1.2. ทฤษฎีระบบ (System Theory) เป็นทฤษฎีที่ทำให้นักบริหาร สามารถที่จะมองเห็นภาพรวมขององค์การทั้งหมดตามหน้าที่ที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาองค์การในลักษณะระบบนั้นจะก่อให้เกิดการวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาขององค์การทั้งระบบ

2.1.2.1. ระบบประกอบไปด้วยองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ (1) ปัจจัยนำเข้า (Inputs) ได้แก่ วิชาที่สอน(คณิตศาสตร์ม.3เรื่องโจทย์ปัญหา) นักเรียน ครูผู้สอน อุปกรณ์ในการเรียน (2) กระบวนการแปรสภาพ (Transformation Process) เทคนิคในการจัดการต่างๆ รูปแบบกิจกรรมการผลิต เทคนิค KWDL (3) ปัจจัยนำออก (Outputs) ได้แก่ ผลการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนในการเรียนคณิตศาสตร์ม.3เรื่องโจทย์ปัญหา (4) ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) คือ คะแนนที่ได้จากการวัดผล ได้แก่ การทำแบบฝึกหัด การทำข้อสอบ

2.2. วิลาวัลย์ ::::> การจัดการเรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม (AR) ใช้ทฤษฎี ดังต่อไปนี้ 1) การบริหารจัดการเรียนการสอนแบบการแพร่กระจายนวัตกรรม (Diffusion of Innovations)ของโรเจอร์ส (Rogers, 1995) (file:///C:/Users/Topfy/Downloads/76796-Article%20Text-183356-2-10-20180630.pdf) 2) องค์ประกอบคุณลักษณะของผู้นำเชิงนวัตกรรม (อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์, 2554, http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2553/b168723.pdf) ได้แก่ ด้านที่ 1 องค์ประกอบคุณลักษณะด้านทักษะ (Skill) ด้านที่ 2 องค์ประกอบคุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ (Personality) ด้านที่ 3 องค์ประกอบคุณลักษณะด้านทางสังคม (Social Characteristics) และด้านที่ 4 องค์ประกอบด้านคุณลักษณะด้านบทบาทหน้าที่ (Role) 3) บทบาทผุ้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 (http://www.casjournal.cas.ac.th/admin/filedocuments/1488009444-1.pdf) 4) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม (Innovative Leadership)(ดร.อนุสรา สุวรรณวงศ์,ม.ป.ป) (http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52233/-edu-t2s1-t2-t2s3-

2.3. สรญา

2.3.1. (ระบบการเรียนรู้อนันต์ Infinite Learning System) https://photos.app.goo.gl/JwWkfzyawD6pvmUdA ขั้นตอนวิธีกระบวนการของระบบ https://photos.app.goo.gl/YUBmwLxpxoWpizPx9 ระบบการเรียนรู้อนันต์ เป็นระบบการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี (Digital Disruption) รูปแบบของการเรียนรู้จึงเปลี่ยนแปลงไป เน้นกระบวนการจัดกิจกรรม เน้นตัวผู้เรียนให้มีทักษะในการแสวงหาความรู้บนเครือข่ายสังคมดิจิทัลการเรียนรู้ ทักษะในตัวผู้เรียนเปลี่ยนไป ทักษะสำหรับครูผู้สอนเปลี่ยนแปลงไป โดยผู้สอนต้องมีทักษะ (Coaching) ระบบการเรียนรู้อนันต์ เป็นระบบที่บูรณาการเทคนิควิธีการสอนแบบดั่งเดิม คือ วิธีการสอนแบบสากัจฉา วิธีการสอนแบบสุจิปุลิ และปุจฉาวิสัชนา บูรณาการกับเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งถือเป็นหัวใจที่สำคัญของการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล

3. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร

3.1. ธนันพัชร์

3.1.1. ความหมายการบริหารและการบริหารหลักสูตร

3.1.1.1. การบริหาร

3.1.1.1.1. การร่วมมือกันดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุสิ่งของ เป็นอุปกรณ์ในกรปฏิบัติงาน

3.1.1.2. การบริหารหลักสูตร

3.1.1.2.1. การวางแผนการดำเนินงาน และการจัดการในการใช้ทรัพยากรการบริหาร ซึ่งได้แก่ บุคคล งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการเรียน การสอนให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ และมีประสิทธิภาพที่สุด

3.1.2. องค์ประกอบของการบริหารหลักสูตร

3.1.2.1. ความมุ่งหมาย (Objectives

3.1.2.2. เนื้อหา (Content)

3.1.2.3. การนำหลักสูตรไปใช้ (Curriculum Implementation)

3.1.2.4. การประเมินผล (Evaluation)

3.1.3. สภาพการบริหารหลักสูตร

3.1.3.1. ด้านการเตรียมความพร้อมก่อนการใช้หลักสูตร

3.1.3.1.1. การจัดเอกสารประกอบหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน

3.1.3.1.2. การเตรียมบุคลากร

3.1.3.1.3. การเตรียมอาคารสถานที่

3.1.3.1.4. การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3.1.3.1.5. การเตรียมงบประมาณ

3.1.3.1.6. การจัดระบบบริหารงานการใช้หลักสูตร

3.1.3.1.7. การประชาสัมพันธ์หลักสูตร

3.1.3.2. การดำเนินงานบริหารหลักสูตร

3.1.3.2.1. การวางแผนงานด้านวิชาการ

3.1.3.2.2. การจัดอาจารย์เข้าสอน

3.1.3.2.3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้หลักสูตร

3.1.3.2.4. การจัดการนิเทศการใช้หลักสูตร

3.1.3.2.5. การส่งเสริมขวัญและกำลังใจ

3.1.3.2.6. การส่งเสริมการใช้ทรัพยากรท้องถิ่น

3.2. ปรียานุช

3.2.1. เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎีและปรัชญาทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย

3.2.1.1. เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส (Saylor J.G, Alexander. W.M. and Lewis Arthur J 1981: 24) นำเสนอแบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ภายใต้แนวคิดของการวางแผนให้โอกาสในการเรียนรู้เพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องสำหรับประชากร ดังนี้

3.2.1.1.1. จุดหมาย วัตถุประสงค์และขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา

3.2.1.1.2. การออกแบบหลักสูตร

3.2.1.1.3. การนำหลักสูตรไปใช้

3.2.1.1.4. การประเมินหลักสูตร

3.2.1.2. การพัฒนาหลักสูตร

3.2.1.2.1. หลักสูตรบูรณาการ

3.2.1.2.2. หลักสูตรรายบุคคล

3.2.1.2.3. หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์

3.2.1.2.4. หลักสูตรท้องถิ่น

3.3. เนื้อหาหลักสูตรว่าวไทยความสำคัญ ว่าวเป็นสิ่งที่คนไทยคุ้นเคยและรู้จักกันดีมาตั้งแต่เด็ก เพราะเป็นการละเล่นและเป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ราคาก็ไม่แพงมากนัก หรือถ้าสามารถทำเองได้ยิ่งประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะวัสดุที่ใช้ทำก็เป็นวัสดุพื้นบ้านที่หาได้ง่าย แต่การทำต้องมีทักษะว่าวจึงจะขึ้นได้ดี เรียกว่าติดลม การเล่นว่าวมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มิได้เป็นการเล่นเพียงแต่สนุกสนานเหมือนกับปัจจุบันนี้เท่านั้น มีประวัติและความเป็นมาที่น่าสนใจของตำนานว่าวไทย

3.4. ศาศวัต

3.4.1. การพัฒนาหลักสูตร หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาโดยท้องถิ่นเองทั้งหมด แต่ต้องเป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางได้กำหนดไว้ เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริการัฐแต่ละรัฐสามารถจัดทำหลักสูตรของตนเองตามความต้องการของรัฐนั้นๆ ได้ แต่ต้องไม่ขัดกับนโยบายของรัฐบาลส่วนกลาง (Federal Government) ที่ได้กำหนดไว้อย่างกว้างๆ

3.4.1.1. ทฤษฎีที่ใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม ความหมาย การบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นการจูงใจให้ผู้ร่วมปฏิบัติงานในองค์การได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ความรับผิดชอบ และร่วมมือใน องค์พัฒนาปฏิบัติด้วยความเต็มใจเทคนิคการใช้บริหารแบบมีส่วนร่วม 1. การใช้กลุ่มงานเฉพาะกิจและคณะกรรมการ (Special Task Forces and Committee) 2. กรรมการให้คำแนะนำ 3. การใช้แนวความของหมุดเชื่อมโยง (Linkeng Pin) 4. การติดต่อสื่อสารแบบประตู 5. การระดมความคิด 6. การฝึกอบรมแบต่าง ๆ 7. การบริหารโดยมีวัตถุประสงค์ (MBO)

3.4.1.1.1. เนื้อหาความสำคัญ ว่าวเป็นสิ่งที่คนไทยคุ้นเคยและรู้จักกันดีมาตั้งแต่เด็ก เพราะเป็นการละเล่นและเป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ราคาก็ไม่แพงมากนัก หรือถ้าสามารถทำเองได้ยิ่งประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะวัสดุที่ใช้ทำก็เป็นวัสดุพื้นบ้านที่หาได้ง่าย แต่การทำต้องมีทักษะว่าวจึงจะขึ้นได้ดี เรียกว่าติดลม การเล่นว่าวมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มิได้เป็นการเล่นเพียงแต่สนุกสนานเหมือนกับปัจจุบันนี้เท่านั้น มีประวัติและความเป็นมาที่น่าสนใจของตำนานว่าวไทย

3.5. สุนิสา

3.5.1. หลักสูตรส่วนมากจะพัฒนามาจากแนวคิดของนักการศึกษาชาวต่างประเทศ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป แต่กระบวนการและขั้นตอนควรประกอบด้วยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่ซึ่งประกอบด้วยปรัชญาการศึกษา ผู้เรียน สังคม สภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีและอื่นๆ เพื่อนำมากำหนดจุดมุ่งหมายเลือกเนื้อหาสาระและประสบการณ์การเรียนรู้จัดลงในหลักสูตร แล้วนำหลักสูตรไปทดลองใช้เพื่อหาข้อบกพร่องเพื่อนำมาแก้ไขหลักสูตรที่สมบูรณ์และนำไปใช้

3.5.1.1. ในการพัฒนาหลักสูตร เซย์เลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander, 1974: 8-9) ชี้ให้เห็นว่า การจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรนั้นมีงานที่ต้องทำสำคัญๆ อยู่ 3 ประการ คือ 1. การพิจารณาและการกำหนดเป้าหมายเบื้องต้นที่สำคัญของหลักสูตรที่จัดทำนั้นว่ามีเป้าหมายเพื่ออะไร ทั้งโดยส่วนรวมและส่วนย่อยของหลักสูตรนั้นๆ อย่างเด่นชัด 2. การเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและวัสดุประกอบการเรียนการสอน การเลือกสรรเนื้อหาเพื่อสาระเพื่อการอ่าน การเขียน การทำแบบฝึกหัด และหัวข้อสำหรับการอภิปรายตลอดจนกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน เป็นต้น 3. การกำหนดระบบการจัดวัสดุอุปกรณ์และการจัดการเรียนการสอน ตลอดทั้งการทดลองที่เป็นประโยชน์ เหมาะสมกับการเรียนการสอนแต่ละวิชาและแต่ละชั้นเรียน

3.6. สรญา

3.6.1. การพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาคนให้มีทักษะของการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4. นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล

4.1. ปรียานุช

4.1.1. เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์

4.1.1.1. การพัฒนาคลังข้อสอบ

4.1.1.2. การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต

4.1.1.3. การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา

4.1.1.4. การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด

4.1.2. นวัตกรรมทางด้านการประเมินผลนับเป็นเรื่องที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีเหมือนบางสถาบันการศึกษาเท่านั้นที่สามารถให้บริการได้ เนื่องจากบางสถาบันยังไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และขาดบุคลากร ที่มีความอำนวยด้านการออกแบบระบบและการพัฒนาเครือข่ายซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาอีกช่วงหนึ่งที่จะพัฒนาระบบให้เหมาะสมกับการใช้งานในสถาบัน

5. นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ

5.1. พิมพ์ชนก

5.1.1. การบริหารเชิงระบบที่ส่งเสริมงานวิชาการ เป็นวิธีการนำความรู้เรื่องระบบเข้ามาเป็นกรอบ ช่วยในการค้นหาปัญหา กำหนดวิธีการแก้ปัญหา และใช้แนวทางความคิดเชิงระบบ ช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหา เพื่อนำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา

5.1.1.1. ทฤษฎีเชิงระบบ (System Theory)

5.1.1.1.1. (1) ปัจจัยนำเข้า (Inputs) ได้แก่ ทรัพยากรต่างๆ ที่ต้องใช้ในกระบวนการบริหาร

5.1.1.1.2. (2) กระบวนการแปรสภาพ (Transformation Process) ประกอบด้วย เทคนิคในการจัดการต่างๆ รูปแบบกิจกรรมการผลิต เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิต

5.1.1.1.3. (3) ปัจจัยนำออก (Outputs) ได้แก่ สินค้า บริการ กำไร ขาดทุน และผลที่คาดหวังอื่น ๆ เช่น ศักยภาพของพนักงานที่พัฒนาขึ้น เป็นต้น

5.1.1.1.4. (4) ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) คือ ข้อมูลเกี่ยวกับผลที่เกิดจากกิจกรรมขององค์การ ซึ่งสามารถนำไปพิจารณาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในขั้นตอนต่าง ๆ ได้

5.1.1.2. ประโยชน์ของแนวคิดเชิงระบบ

5.1.1.2.1. 1) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถกำหนดกรอบการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถมองเห็น กระบวนการทำงานทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ

5.1.1.2.2. 2) ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม เนื่องจากสามารถสื่อสารกระบวนการทำงานทุกขั้นตอนกับทีมงาน ได้กระจ่างชัด ซึ่งทำให้สามารถอธิบาย หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆในมุมมองที่กว้าง

5.1.1.2.3. 3) ทำให้มองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น หรือสิ่งที่กำลังปฏิบัติอยู่ ความผิดพลาดต่างๆที่เกิดจากระบบ จะทำให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนและหาวิธีแก้ไขได้ถูกต้องทันท่วงที ซึ่งเป็นผลดีทั้งในระยะสั้นและระยาว

5.1.1.2.4. 4) ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คือ มีความถูกต้อง ประหยัดค่าใช้จ่าย ทันตามเวลาที่กำหนดและสอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้

5.1.2. องค์ประกอบของระบบ ประกอบไปด้วย 5 ส่วนสำคัญ คือ 1.ปัจจัยนำเข้า 2. กระบวนการ 3. ผลผลิต 4. การป้อนกลับ 5. สภาพแวดล้อม แนวคิดทฤษฎีระบบ มีบทบาทในการพัฒนาสร้างเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับองค์การและการบริหารต่างมีความเชื่อมั่นว่าจะส่งผลให้องค์การตามแนวทางแห่งความรู้ในมิติใหม่สามารถดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสม่ำเสมอ แม้สภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปงอย่างไรก็ตาม ดังนั้น การศึกษาวิธีการบริหารเชิงระบบเป็นกระบวนการหนึ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการบริหารงานในองค์การประเภทต่างๆ ทำให้ผู้บริหารเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอก บริหารลักษณะองค์รวมเป้าหมาย กระบวนการระบบย่อย องค์ประกอบต่างๆ มีปฏิสัมพันธ์กัน มีการปฏิบัติงานแลกเปลี่ยนข่าวสาร เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการบริหาร การบริหารเชิงระบบวิธีการนี้ทำให้การดำเนินงานตามระบบบรรลุตามเป้าหมาย ตามขั้นตอนที่วางไว้ ใช้เวลา งบประมาณบุคลากรมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด การศึกษาการบริหารเชิงระบบ เป็นแนวทางหนึ่งที่จะมีบทบาทในการสร้างสรรค์งานและแก้ปัญหาในองค์การได้เป็นอย่างดี และมีการพัฒนาวิธีการคิดนี้ ในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย เฉพาะขั้นตอนหลักๆ ที่ไม่แตกต่างกันมากนัก

5.2. ทัตศร การบริหารเชิงระบบ การบริหารเชิงระบบ หมายถึง วิธีการนำความรู้เรื่องระบบเข้ามาเป็นกรอบ ช่วยในการค้นหาปัญหา กำหนดวิธีการแก้ปัญหา และใช้แนวทางความคิดเชิงระบบ ช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหา ทฤษฎีเชิงระบบ หมายถึง การพิจารณาปรากฏการณ์ต่างๆทั้งระบบ เพื่อจะได้เห็นความสำคัญ และลักษณะขององค์ประกอบต่างๆ ที่สัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียว ผู้คิดค้นทฤษฎีระบบเป็นคนแรก คือ ลูควิก วอน เบอร์ทาแลฟฟี่ ( Ludwig Von Bertalaffy )

5.3. อรุณี

5.3.1. การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อแก้ไขปัญหาทะเลาะวิวาทระหว่างสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา

5.3.2. ใช้ทฤษฎี

5.3.3. 1.การบริหารแบบมีส่วนร่วม Participative Management สรุปได้ว่า กระบวนการที่บุคคลได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฎิบัติงานทั้งทางด้านความคิดเห็น การตัดสินใจ การรับผิดชอบ การวางแผนจนตลอดจนการประเมินผล //กระบวนการหรือวิธีที่ส่งเสริมและเปิดโอกาส การมีส่วนร่วม (Participation) การที่ส่วนเกี่ยวข้อง (Involvement) การมีความผูกพัน (Commitment)

5.3.4. 2.แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (David McClelland)

5.3.5. 3. แนวคิดการบริหารเชิงมนุษยสัมพันธ์ และการบริหารเชิงมนุษยสัมพันธ์ (Mamy parker Follet) ให้ผู้บริหารแก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์การด้วยวิธีการสร้างมนุษยสัมพันธ์

5.3.6. 4.

5.4. รัชพงษ์

5.4.1. การพัฒนา Application เพื่อการบริหารและประเมินโครงการในโรงเรียน

5.4.1.1. ทฤษฎี

5.4.1.1.1. การบริหารแบบมีส่วนร่วม

5.4.1.1.2. การบริหารเชิงระบบ

5.4.1.1.3. การบริหารตามทฤษฎี X Y Z

5.5. อัญชลี

5.5.1. การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 ประกอบด้วยทฤษฎี 1. แนวคิด ทฤษฎี ขององค์กรการเรียนรู้ (Learning Organization) 2. แนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้ ของ เพดเลอร์, เบอร์กูล และบอยเดล (Pedler, Burguyne and Boydell) 3. แนวคิดขององค์กรแห่งการเรียนรู้ของ มิเชล เจ มาร์การ์ด (Michel J. Marquardt) 4. แนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ จีพสร์ด และอื่น ๆ (Gephart & Others) โดยอาศัยทฤษฎีการบริหาร คือ การปรับเปลี่ยนองค์กร (Organization Transformal) การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เทคโนโลโยีเพื่อการเรียนรู้ (Learning Technology) การให้อำนาจแก่บุคคล (People Empowerment) และพลวัตการเรียนรู้ (Learning Dynamic)

5.6. สรญา

5.6.1. หลักการบินของฝูงห่านไซบีเรีย เป็นหนึ่งในต้นแบบที่ถูกนำปรับใช้เป็นจิตวิทยาองค์กร โดย โปรเฟซเซอร์ ดร. ลีโอนาร์ด โยง นักจิตวิทยา และวิทยากรชื่อดังชาวมาเลเซีย จากสถาบัน IITD โดยหยิบมาสร้าง "ทฤษฎีผู้นำ" โดยเรียนรู้วิธีการบินของฝูงห่าน ซึ่งแสดงถึงการทำงานเป็น"ทีม" ทฤษฎีการบริหารองค์กรแบบฝูงห่านสำหรับผู้นำ ผลัดกันนำ ผลัดกันตาม เป็นทฤษฎีสำหรับนักบริหารในการบริหารคนในองค์กร 1. การบินรูปตัว V มีผู้นำฝูงบินนำแล้วตัวอื่นๆ บินตามแบบเยื้องๆ (ตามภาพข้างบน) การบินแบบนี้พิสูจน์แล้วว่า การกระพือปีกของนกตัวหน้าจะมีเกิดแรงพุ่งไปด้านหลังช่วยพยุงให้นกตัวที่บินตามใช้พลังงานน้อยลงถึง ร้อยละ 70 ( มีแรงยกทำให้ประหยัดพลังงาน) ...เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน... 2. ถ้าเมื่อใดที่นกผู้นำฝูง(ตัวนี้จะเหนื่อยที่สุด)เกิดอาการอ่อนล้า ก็จะบินถอยมาเป็นตัวตามและจะมีตัวอื่นบินขึ้นไปนำแทน ...ในหนึ่งองค์กรทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้เสมอ... 3. ขณะที่บินฝูงห่านจะร้องเสียงดัง เปรียบเสมือนสัณญานการเคลื่อนขบวนอย่างพร้อมเพียงในระดับความเร็วที่เหมาะสมทั้งตัวอยู่ข้างหน้าและตัวหลังสุด ...การทำงานของคนในองค์กรต้องเคลื่อนไปพร้อมๆกัน.. 4. หากมีนกบางตัวแหกฝูง ( ตัวปัญหา) บินออกไปบินเดี่ยวจะบินไปได้ไม่นานจะอ่อนแรง เพราะต้านแรงลมไม่ไหว จะกลับเข้าสู่ฝูงอีกครั้งเพื่ออาศัยแรงยกในที่สุด ...ความสามัคคีคือพลัง.. 5. เมื่อใดก็ตามที่นกบางตัวบาดเจ็บ บินตามไปไม่ไหวต้องลงสู่พื้นเพื่อรักษาตัวเอง จะมีเพื่อนนกบินตามลงมาเป็นเพื่อนและคอยจนกว่านกที่ป่วยจะแข็งแรง/หรือตาย จึงบินกลับฝูง ...จงมีความเอืออาทรในการทำงาน... สรุป การทำงานเป็นทีม สำคัญที่สุด

5.6.2. บันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียงในการบริหารองค์กร “ทฤษฏีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง” เป็นแนวทางที่ใช้ลำดับขั้นเพื่อเดินตามไปทีละขั้น ค่อยๆ ก้าวไปแบบยั้งยืนและมั่นคง ซึ่งหากใครทำตามได้ รับรองว่าไม่มีจนแน่นอน โดยแต่ละขั้นจะมีดังนี้ “ทฤษฏีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง” เป็นแนวทางที่ใช้ลำดับขั้นเพื่อเดินตามไปทีละขั้น ค่อยๆ ก้าวไปแบบยั้งยืนและมั่นคง ซึ่งหากใครทำตามได้ รับรองว่าไม่มีจนแน่นอน โดยเป็นการประยุกต์ขั้นตอนของทฤษฎีบันได 9 ขั้นของความพอเพียง มาบริหารจัดการสถานศึกษาทั้งกระบวนการ โดยเริ่มจาก ขั้นตอนที่ 1 พอกิน ขั้นที่ 2-4 พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น ขั้นที่ 5-6 บุญและทาน ขั้นที่ 7 เก็บรักษา ขั้นที่ 8 ขาย ขั้นที่ 9 เครือข่าย เกษตรโยธิน ทฤษฎี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร