ระบบต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม

Comienza Ya. Es Gratis
ó regístrate con tu dirección de correo electrónico
ระบบต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม por Mind Map: ระบบต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม

1. Cushing’s syndrome

1.1. อาการและอาการแสดง

1.1.1. ลำตัวอ้วนกลม (Central obesity) หน้ากลมเหมือนพระจันทร์ (Moon face) มีหนอกที่หลัง (Buffalo hump) แขนขาเล็กไม่สมดุลกับลำตัว

1.1.2. ผิวหนังมีจุดจ้ำเลือด (Bruising) ผิวหนังบาง เปราะ ฉีกขาดเป็นแผลได้ง่ายผิวหนังสีคล้ำขึ้น

1.1.3. กล้ามเนื้ออ่อนแรง

1.1.4. ความทนต่อกลูโคสเสื่อม มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง

1.1.5. ความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง

1.1.6. กระดูกผุ ผิวหนังหน้าท้องแต่เป็นลายสีม่วง

1.1.7. ซึมเศร้า วิตกกังวล อารมณ์ไม่คงที่ นอนไม่หลับ

1.2. การรักษา

1.2.1. รักษาด้วยการใช้ยา

1.2.1.1. ยายับยั้งการสร้างฮอร์โมน

1.2.1.2. ยายับยั้ง dopamine D2 receptor

1.2.1.3. ยายับยั้ง glucocorticoid receptor antagonists

1.2.2. การรักษาด้วยการผ่าตัด

2. Adrenal insufficiency

2.1. อาการและอาการแสดง

2.1.1. ปัสสาวะออกมาก อ่อนเพลีย อ่อนล้า ไม่มีเรี่ยวแรง

2.1.2. การไหลเวียนเลือดบกพร่อง

2.1.3. น้ำตาลในเลือดต่ำเนื่องจากขาดฮอร์โมนที่เปลี่ยนโปรตีนเป็นกลูโคส

2.1.4. ผิวหนังสีคล้ำขึ้น

2.1.5. ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า

2.1.6. เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย

2.2. การวินิจฉัย

2.2.1. มีการหลั่ง cortisol น้อยลงใน Addison’s disease

2.2.2. ระดับโซเดียมในเลือดลดลง ระดับโปแทสเซียมในเลือดเพิ่มขึ้น

2.2.3. ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

2.2.4. Plasma cortisol ต่ำ (<165 nmol/L)

2.2.5. Neutrophil สูง >5000 cell, Lymphocyte มีค่า 35-50% และ Eosinophil มากกว่า 300 million/L

2.3. การรักษา

2.3.1. ทดแทนด้วยฮอร์โมน Cortisol: Hydrocortisone, Fludrocortisone (Floinef)

3. Hypothyroid

3.1. อาการและอาการแสดง

3.1.1. เหนื่อยล้า ช้า เซื่องซึม ง่วงนอนตลอดเวลา

3.1.2. ผมร่วง ผิวหนังหยาบ แห้ง คัน เล็บด้าน ฉีก เปราะ แตกง่าย

3.1.3. เสียงแหบ ทนหนาวไม่ได้ ตัวเย็นกว่าคนทั่วไป ท้องผูก

3.1.4. ประจำเดือนมาผิดปกติ เช่น มาปริมาณมากและนาน ในผู้ชายอาจมีนมตั้งเต้า

3.1.5. อุณหภูมิร่างกายและชีพจรต่ำกว่าปกติ อ้วน บวม น้ำหนักเพิ่ม ผิวหนังหนา แข็ง เงาและมัน

3.2. การวินิจฉัย

3.2.1. Primary hypothyroidism: TSH สูง T4 T3 ลดลง

3.2.2. Secondary or tertiary hypothyroidism : TSH อยู่ในระดับต่ำ ปกติ และสูงเล็กน้อย พร้อมกับมี T4 T3 ลดลง

3.3. การรักษา

3.3.1. ให้ฮอร์โมน Synthetic levothyroxine ทดแทน

3.3.2. ป้องกันการเกิดภาวะหัวใจทำงานผิดปกติ

3.3.3. ป้องกันปฏิกิริยาระหว่างยาเมื่อให้ร่วมกับยาชนิดอื่น

3.3.4. รักษาแบบประคับประคอง

4. โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)

4.1. อาการและอาการแสดง

4.1.1. ปัสสาวะบ่อยและจำนวนมาก (Polyria)

4.1.2. คอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำมากกว่าปกติ (Polydipsia) คอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำมากกว่าปกติ (Polydipsia)

4.1.3. หิวบ่อย รับประทานจุ (Polyphagia)

4.1.4. น้ำหนักตัวลด (Weight loss)

4.2. ประเภทของโรคเบาหวาน

4.2.1. โรคเบาหวานชนิดที่1

4.2.1.1. ไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เลย กลุ่มนี้ต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินอย่างเดียวครับ กลไกการเกิดไม่ทราบแน่ชัด แต่ที่แน่ๆคือ ตับอ่อนไม่สร้างอินซูลินเลย ยังไงก็ไม่สร้าง กลุ่มนี้เราจะเริ่มพบในคนอายุน้อยๆ

4.2.2. โรคเบาหวานชนิดที่2

4.2.2.1. สร้างอินซูลินได้แต่ทำงานได้ไม่เต็มที่ กลุ่มนี้เกิดจากการ ดื้ออินซูลินเป็นหลักครับ ซึ่งมักเกิดในคนที่อายุเยอะมากขึ้น และมีภาวะอ้วนกระตุ้น

4.2.3. โรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ (Gestational diabetes mellitus)

4.2.3.1. ซึ่งกลไกในกลุ่มนี้เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงตอนตั้งครรภ์เป็นหลัก อาจพบระดับน้ำตา ในเลือดสูงกว่าปกติ

5. Thyroid Crisis

5.1. อาการและอาการแสดง

5.1.1. ใจสั่นเหนื่อยง่าย หงุดหงิดง่าย มือสั่น หิวบ่อย น้ำหนักลด มีไข้สูงมากกว่า 40 องศา

5.1.2. หัวใจเต้นผิดจังหวะ ชีพจรเต้นเร็วมาก (>130ครั้ง/นาที) ความดันโลหิตสูง

5.1.3. ตกใจง่าย ขี้หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล กระสับกระส่าย สับสน

5.1.4. ปวดท้องรุนแรง อาเจียน ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน ตับม้ามโต

5.2. ข้อวินิจฉัย

5.2.1. ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ

5.2.1.1. ระดับ T3 T4 สูง

5.2.1.2. มี High Radioiodine uptake

5.2.1.3. ระดับน้ำตาลในเลือดสูง

5.2.1.4. ระดับแคลเซียมในเลือดสูงจากการสลายกระดูก

5.2.1.5. ตับทำงานผิดปกติ

5.2.1.6. Serum cortisol สูงอาจทำให้เกิด Adrenal insufficiency

5.2.2. เกณฑ์การวินิจฉัยของ Burch และ Wartofsky

5.2.2.1. คะแนน มากกว่าหรือเท่ากับ 45 มีภาวะ Thyroid crisis

5.2.2.2. คะแนนระหว่าง 25-44 มีแนวโน้ม หรือมีภาวะเสี่ยงที่จะเป็น Thyroid crisis

5.2.2.3. น้อยกว่า 25 คะแนน ไม่มีภาวะ Thyroid crisis

5.3. การรักษา

5.3.1. ยับยั้งการสังเคราะห์และหลั่งฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์

5.3.2. ยับยั้งการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนไทรอยด์ที่มีผลต่ออวัยวะต่างๆ

5.3.3. การรักษาประคับประคองตามอาการ และลดภาวะ Systemic disturbance

5.3.4. ค้นหาแก้ไขและรักษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุ

6. Hyperthyroid

6.1. อาการและอาการแสดง

6.1.1. อาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือด

6.1.1.1. หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ความดันโลหิตค่าบนสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ เหนื่อยง่าย เนื้อตัว แขน ขา บวม

6.1.2. อาการทางผิวหนัง

6.1.2.1. ผิวแห้งหยาบ มีเหงื่อออกมาก

6.1.3. อาการทางกล้ามเนื้อ

6.1.3.1. กล้ามเนื้ออ่อนแรง

6.1.4. อาการทางจิตใจ

6.1.4.1. เครียดมาก วิตกกังวลมาก อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ พูดไม่ชัด กระสับกระส่าย

6.1.5. อาการทางตา

6.1.5.1. ตาโปน

6.1.6. อาการทางเดินอาหาร

6.1.6.1. ท้องเสียเรื้อรัง

6.2. การวินิจฉัย

6.2.1. ค่า TSH ต่ำ

6.2.2. ค่า T3 และ T4 สูง

6.2.3. ค่า FT4 ที่ไม่ได้จับกับโปรตีนจะมีค่าสูง

6.3. การรักษา

6.3.1. ให้ยา Antithyroid medication

6.3.2. ผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์บางส่วนออกไป