นางสมจิตร XXX

Lancez-Vous. C'est gratuit
ou s'inscrire avec votre adresse e-mail
นางสมจิตร XXX par Mind Map: นางสมจิตร XXX

1. Hypoglycemia&Hyperglycemia

1.1. hyperglycemia เช่น มีอาการหน้าแดง ตัวร้อน ชีพจรเร็ว ปัสสาวะออกมาก กระหายน้ำ และความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น

1.2. น้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีปริมาณน้ำตาลกลูโคส (Glucose) ในเลือดสูงเกินปกติ

1.3. รักษาโดยดูแลให้ Regular insulin 8-10 unit sc ตามแผนการรักษาของแพทย์และสังเกตอาการภาวะน้ำตาลในเลือด

1.4. พยาธิ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) หมายถึง ระดับน้ำตาลหรือกลูโคสในเลือดต่ำกว่าปกติ โดยระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร เป็นภาวะที่ร้ายแรง หากรักษาไม่ทันอาจเป็นอันตรายได้ เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำเกินกว่าที่จะให้พลังงานแก่ร่างกาย ในผู้ใหญ่

1.5. Hypoglycemia เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง มือสั่นกระสับกระส่าย คลื่นไส้ เหงื่อออก ชา รู้สึกหิว มือเท้าเย็น ซึม ชักเกร็ง

2. Hyponatremia

2.1. เป็นภาวะที่มีปริมาณโซเดียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะ กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนล้าหมดแรง ซึมลง คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งอาจเกิดจากการเสียน้ำ ดื่มน้ำมากเกินไป หรือฮอร์โมนผิดปกติ เป็นต้น

2.2. อาการของ Hyponatremiaปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนล้า หมดแรง สับสนมึนงง กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกร็ง หรือกระตุก กระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย

2.3. การรักษา Hyponatremia ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ โดยในช่วงที่รักษา ผู้ป่วยอาจต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากแพทย์อาจจำเป็นต้องวัดชีพจร ตรวจความดันโลหิต รวมถึงใส่สายสวนปัสสาวะ เพื่อวัดปริมาณการขับออกของเหลว แต่หากผู้ป่วยมีภาวะโซเดียมในเลือดต่ำเฉียบพลัน หรือมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยอาจต้องรับการรักษาดังต่อไปนี้ ให้โซเดียมเข้าทางหลอดเลือดดำ งดให้ยาที่อาจทำให้ระดับโซเดียมในเลือดลดลง งดให้ของเหลวชั่วคราว และให้ใช้ยาขับปัสสาวะ เพื่อช่วยเพิ่มระดับโซเดียมในเลือด (หากสาเหตุคือการรับน้ำเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป)

3. Urinary tract infection

3.1. โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection หรือ UTI) เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งส่วนใหญ่ โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ จะเกิดขึ้นที่บริเวณทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ซึ่งได้แก่ กระเพาะปัสสาวะ (bladder) เรียกว่า “Cystitis” และ ท่อปัสสาวะ (urethra –ท่อที่ลำเลียงน้ำปัสสาวะออกไปจากร่างกาย) เรียกว่า “Urethritis”

3.2. ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียเข้าไปในทางเดินปัสสาวะ โดยผ่านทางท่อปัสสาวะ

3.2.1. อาการจากการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่พบได้บ่อย คือ ปัสสาวะบ่อย ครั้งละน้อยๆ ปวดแสบเวลาปัสสาวะ โดยเฉพาะเมื่อสิ้นสุดปัสสาวะ และมักตื่นปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ อาจกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นแรง หรือเหม็น ผิดปกติ อาจมีปัสสาวะเป็นเลือด ปวดท้องน้อย/อุ้งเชิงกราน

3.3. โดยส่วนใหญ่โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ มักเกิดจากเชื้อ E. coli (อี. โคไล) และแบคทีเรียอื่น ๆ ที่พบได้ปกติในบริเวณทางเดินอาหาร

3.4. การใช้ยาปฏิชีวนะ โดยชนิด ขนาดยา (Dose) และระยะเวลาที่ใช้ยา ขึ้นกับ ความรุนแรงของอาการ เชื้อที่เป็นสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง การเป็นการเกิดโรคครั้งแรกหรือเป็นโรค/ภาวะย้อน กลับเป็นซ้ำ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย และในผู้ป่วยที่เกิดโรคบ่อย อาจมีการให้ยาปฏิชีว นะ เพื่อการป้องกันการเกิดโรคย้อนกลับเป็นซ้ำ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

3.5. การรักษาสาเหตุ เช่น การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อโรคเกิดจากโรคติดต่อทางเพสสัมพันธ์ หรือการรักษาโรคนิ่วในไต หรือโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อโรคเกิดจากโรคนิ่วในไต หรือในกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

3.6. การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด ยาลดไข้ ยาบรรเทาอาการ คลื่น ไส้ อาเจียน และการดื่มน้ำมากๆ มากกว่าปกติ เป็นต้น

4. Anemia

4.1. อาการโรคโลหิตจาง

4.1.1. 1. อาการเหนื่อยง่ายจากการออกแรงไม่มาก เช่น การเดินขึ้นบันได การเดินเร็วๆ ซึ่งอาหารเหนื่อยอาจเกิดรุนแรงมากสำหรับผู้ที่มีภาวะโลหิตจางขั้นรุนแรง ทำให้การออกแรงเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้เหนื่อยหอบได้ รวมถึงมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น หัวใจสั่น เป็นลม หมดสติ และอาจรุนแรงถึงขั้นหัวใจวายได้

4.1.2. 2. อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หรือเป็นลม หน้ามืด

4.1.3. 3. อาการทางระบบประสาท เช่น รู้สึกมนงง หลงลืมง่าย หงุดหงิด ขาดสมาธิในการทำงาน

4.1.4. 4. อาการหัวใจขาดเลือด โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยภาวะโลหิตจางส่งเสริมให้เกิดอาการกำเริบ และรุนแรงมากขึ้น

4.1.5. 6. อาการการปวดตามกล้ามเนื้อจากการขาดเลือดของกล้ามเนื้อ ภาวะโลหิตจางส่งเสริมให้เกิดอาการกำเริบ และรุนแรงมากขึ้น

4.1.6. 7. มีอาการเบื่ออาหาร ท้องอืด แน่นท้องจากภาวะเซลล์ขาดเลือด และออกซิเจน

4.2. ลักษณะเฉพาะโรคโลหิตจางที่ตรวจพบ 1. อาการชี้ชัดภาวะโลหิตจาง ได้แก่ เกิดอาการซีดบริเวณต่างๆ ได้แก่ สีผิวซีด โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือ ใต้เล็บ และเยื่อบุเปลือกตาล่าง 2. อาการบ่งชี้สาเหตุภาวะโลหิตจาง เช่น อาการตัวเหลือง ตาเหลือง (ดีซ่าน) จะหมายถึง ภาวะโลหิตจางที่เกิดจากการแตกสลายของเม็ดเลือดแดง

5. Rheumatoid arthritis

5.1. มีความผิดปรกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำลายข้อตัวเอง นอกจากนั้นยังพบว่า กรรมพันธ์ ฮอร์โมน บุหรี่ การติดเชื้อเป็นตัวกระตุ้นทำให้โรคกำเริบ

5.2. อาการที่พบบ่อยได้แก่ ปวดข้อ ข้อบวม ข้อติด อ่อนเพลีย ซึมเศร้า ซีด อาการเหมือนไข้หวัด ไม่สบายตัว

5.3. เกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้แบ่งออกเป็น 4 หมวดประกอบด้วย จำนวนและตำแหน่งของข้อที่มีการอักเสบ(synovitis) (0-5 คะแนน) การตรวจพบrheumatoid factor หรือ ACPA ในเลือด (0-3 คะแนน) ระยะเวลาที่มีข้ออักเสบ (0-1 คะแนน) และ ค่าacute phase reactants ที่สูงขึ้น (0-1 คะแนน) รวบรวมคะแนนหากมากกว่า 6 คะแนนจะช่วยวินิจฉัย

5.4. การรักษาด้วยยาแบ่งงอกเป็น ยาแก้ปวด ยากลุ่ม NSAID ยากลุ่ม disease-modifying anti-rheumatic drugs (DMARDs) ยาsteroid