시작하기. 무료입니다
또는 회원 가입 e메일 주소
Takayazu 저자: Mind Map: Takayazu

1. ข้อมูลพื้นฐาน

1.1. ผู่ป่วยเพศชาย อายุ 23 ปี ตึก มภร. สถานภาพ สมรส เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ อาชีพ รับจ้าง รายได้ 13,500 บาท/เดือน ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 3 วันที่รับไว้ในโรงพยาบาล 22 ธันวาคม 2561 การวินิจฉัยโรค Takayasu Arteritis (โรคหลอดเลือดแดงอักเสบ)

1.2. อาการสำคัญ (Chief complaints) หายใจเหนื่อย นอนราบไม่ได้ 5 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล

1.3. การเจ็บป่วยปัจจุบัน

1.3.1. 5 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีอาการหายใจเหนื่อย ปัสสาวะออกลดลง นอนราบไม่ได้ และมีอาการบวมตามตัว เดินได้ไม่เยอะ เดินมากแล้วเหนื่อย จึงไปพบแพทย์โรงพยาบาลอุทัยธานี หมอจึงวินิจฉัยว่าเป็น congestive heart failure with Chronic Kidney Disease

1.3.2. แพทย์โรงพยาบาลอุทัยธานีจึงขอส่งตัวผู้ป่วยมารักษาต่อที่โรงพยาบาลทรวงอก แพทย์ที่โรงพยาบาลทรวงอกจึงทำ Echocardiogram พบค่า Ejaction Fraction= 39% และ พบ left ventricular clot แพทย์พยายามทำ Coronary Artery Angiography แต่ Fail

1.3.3. ส่งตัวมาโรงพยาบาลตำรวจเมื่อวันที่ 22/12/61  โรงพยาบาลตำรวจจึงวินิจฉัยว่าเป็น โรค Takayasu Arteritis ผลการทำ cardiac catherization พบว่ามีลิ่มเลือด ของเส้นเลือดแดงทั้ง 3เส้น ได้แก่ descending aorta , both iliac artery และ both  radial artery   27/12/61 ทำ Computed tomography of kidneys, ureters and bladder พบว่ามี Ascitesขนาดใหญ่มาก แพทย์จึงทำ abdominal tapping (

2. โรคหลอดเลือดแดงอักเสบทากายาสุ ( Takayasu arteritis)

2.1. อุบัติการณ์

2.1.1. พบได้บ่อยในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี จีน อินเดีย และประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

2.1.2. มักพบในช่วงอายุ 20-30 ปี

2.1.3. พบในเพศหญิงมากกว่าชายถึงประมาณ 8-9 เท่า

2.2. สาเหตุ

2.2.1. ปัจจุบันยังไม่ทราบว่ามาจากสาเหตุหรือปัจจัยใด

2.2.2. แต่การเกิดโรคทากายาสุส่วนหนึ่งมาจากแพ้ภูมิต้านทานของตนเอง

2.2.3. การอักเสบเรื้อรังของหลอดเลือดแดงเอออร์ตา (aorta)

2.2.4. แขนง หลอดเลือดของเอออร์ตา

2.2.4.1. หลอดเลือดแดงพัลโมนารีย์ (pulmonary artery)

2.2.4.2. หลอดเลือดแดงเลี้ยง หัวใจ (coronary artery)

2.2.4.3. หลอดเลือดแดงเลี้ยงไต (renal artery)

2.3. ผลของการอักเสบ

2.3.1. ก่อให้เกิดการ ขาดเลือดของอวัยวะต่างๆ

2.3.1.1. สมอง

2.3.1.2. ไต

2.3.1.3. หัวใจ

2.4. เกณฑ์การวินิจฉัยโรคทากายาสุ

2.4.1. ตามThe American Rheumatological Society จะวินิจฉัยเมื่อ ผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้อย่างน้อย 3 ใน 6 ข้อดังต่อไปนี้

2.4.1.1. 1. เริ่มมีอาการของโรคก่อนอายุ 40 ปี

2.4.1.2. 2. มีอาการปวดเวลาใช้งานแขนหรือขาต่อเนื่อง เป็นเวลานานๆ (claudication of the extremities)

2.4.1.3. 3. ความแรงชีพจรที่แขน (brachial pulse) ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างลดลง

2.4.1.4. 4. มีความแตกต่างของความดันโลหิตที่วัดที่ แขนทั้งสองข้างมากกว่าหรือเท่ากับ 10 มิลลิเมตรปรอท

2.4.1.5. 5. ได้ยินเสียงฟู่ที่บริเวณ aorta หรือ subclavian artery

2.4.1.6. 6. มีการตีบของหลอดเลือดแดง aorta และแขนง หลัก จากการตรวจ angiogram

2.5. พยาธิสภาพ

2.5.1. prepulseless phase

2.5.1.1. มีอาการไม่จำเพาะ

2.5.1.1.1. ไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดข้อ ปวดศีรษะ และผื่นผิวหนัง อาการของผู้ป่วยอาจหายได้เองภายในระยะเวลา ประมาณ 3 เดือน

2.5.2. occlusive phase

2.5.2.1. เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้ไม่เพียงพอ ซึ่งมีอาการแสดงขึ้นกับตำแหน่งของหลอดเลือดแดงที่ตีบหรือตัน

2.5.2.1.1. ภาวะความดันโลหิตสูง เกิดจากการมีหลอดเลือดแดงของไตตีบ (renal artery stenosis)

2.6. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

2.6.1. ใช้inflammatory marker

2.6.1.1. ESR

2.6.1.2. CPR

2.6.2. รังสีวิทยา

2.6.2.1. ฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในเส้นเลือด ( conventional angiogram )

2.6.3. เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือด (CT angiography)

2.6.4. ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเส้นเลือด (Doppler ultrasound)

2.6.5. การตรวจเส้นเลือดด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance angiography, MRA)

2.7. การรักษา

2.7.1. ลดการอักเสบของหลอดเลือดและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นปัจจุบันจึงใช้ corticosteroid เป็นยาหลักในการรักษา

3. ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล

3.1. เสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันเนื่องจากพยาธิสภาพของโรคทากายาสุ

3.2. เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากปริมาณเลือดที่ไหลจากหัวใจลดลง

3.3. เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกง่ายหยุดยากเนื่องจากมีระยะเวลาในการแข็งตัวของเลือดสูง มีภาวะน้ำเกินจากหัวใจล้มเหลว

3.4. ความทนกิจกรรมลดลงเนื่องจากประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจลดลง

4. พยาธิสภาพของผู้ป่วย

4.1. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

4.1.1. 25/12/61 ค่า CPR 6.630 mg/l 05/02/62 ค่า CPR 27.050 mg/l ค่า ESR 75 mm/hr 09/02/62 ค่า CPR 9.060 mg/l ค่า ESR 43 mm/hr ความรุนแรงการอักเสบสูง

4.1.2. X-ray

4.1.2.1. เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือด (CT angiography) พบว่า มีหลอดเลือดอุดตันที่ Descendary aorta (both iliac artery) และ left radial artery คาดว่าน่าจะอุดตันที่ right radial artery ด้วย

5. ยา

5.1. Monolin 20 MG.Tab Isosorbide-5mononitrate20mg

5.1.1. ใช้บำบัดรักษาอาการเจ็บหน้าอกจากภาวะหัวใจขาดเลือด

5.2. Folic acid 5 MG.tab

5.2.1. ใช้ในการรักษาโรคโลหิตจาง

5.3. Thyrosit 100 MCG.Tab Levothyroxine 100 MCG.tab

5.3.1. ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีระดับไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ

5.4. Caltab 1.25 tab Calcium carbonate 1250 mg tab

5.4.1. ใช้เป็นยาลดกรด บรรเทาอาการกรดไหลย้อน

5.5. Chlovas 40 tab Atorvastatin 40 mg tab

5.5.1. ยาลดระดับไขมันในเลือด

5.6. Sodium bicarbonate 300 mg tab

5.6.1. รักษาโรคความดันโลหิตสูง

5.6.2. ใช้เป็นยาลดกรด บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก

5.7. Cesoline-w 25 mg tab

5.8. Cazosin 2 mg tab

5.8.1. ยาลดความดันโลหิต

5.9. Madiplot 20 mg tab

5.9.1. ยารักษาความดันโลหิตสูง

5.9.2. ยาขับปัสสาวะ

5.10. Orfarin 5 mg tab

5.10.1. ยาต้านการแข็งตัวของเลือด

5.11. Furosemide 40 mg tab

5.12. Hyles 25 mg tab

5.12.1. สำหรับภาวะท้องมานและบวมน้ำจากโรคตับแข็ง

5.13. Carvedilol 6.25 mg tab

5.13.1. รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวและความดันโลหิต

5.14. Enoxaparin 0.6 ml inj

5.14.1. เป็นยากลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือด