Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ICT Strategy 2560-2565 by Mind Map: ICT Strategy 2560-2565

1. dICT61-3 การพัฒนาและประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนงานบริการวิชาการแก่สังคมชุมชน และเสริมสร้างความสัมพันธ์เครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

1.1. เป้าประสงค์ที่ 1 เกษตรกร และประชาชนทุกกลุ่ม มีโอกาสในการเข้าถึงและใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริการวิชาการ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต

1.1.1. ตัวชี้วัด 1) จำนวนเนื้อหา และองค์ความรู้ ที่ถูกแปลงให้อยู่ในแบบดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล

1.1.1.1. กลยุทธ์ [1] สร้างระบบนิเวศดิจิทัล (Digital Ecosystem) แหล่งรวบรวมผลงาน องค์ความรู้ และสื่อประชาสัมพันธ์ องค์ความรู้ ทางด้านศิลปวัฒธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนทุกกลุ่ม ให้มีโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลและบริการดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสู่วิสัยทัศน์และแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกของมหาวิทยาลัย

1.1.2. ตัวชี้วัด 2) ร้อยละของผู้เข้าใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้ โดยผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล เพิ่มขึ้นร้อยละ 20

1.1.2.1. กลยุทธ์[2] สนับสนุนการให้บริการสารสนเทศและสื่อดิจิทัลในผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการอิเล็กทรอนิกส์อย่างเสมอภาค

1.1.2.2. กลยุทธ์[3] ส่งเสริมการใช้ระบบเกษตรอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีดิจิทัล ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในกระบวนการผลิต

1.1.3. ตัวชี้วัด 3) จำนวนบริการอิเล็กทรอนิกส์แบบ Smart Service ที่เพิ่มขึ้น 2 บริการต่อปี

1.1.3.1. กลยุทธ์[4] สนับสนุนเทคโนโลยี ICT ที่ใช้งานง่ายให้กับเกษตรกร เพื่อเพิ่มศักยภาพในกระบวนการผลิตแบบครบวงจร (Smart Agriculture)

1.1.3.2. กลยุทธ์[5] สนับสนุนและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริการวิชาการ

1.2. เป้าประสงค์ที่ 2 มีกิจกรรมความร่วมมือระหว่างเครือข่ายภายใน-ภายนอก

1.2.1. ตัวชี้วัด1. จำนวนกิจกรรมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างบุคลากรหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

1.2.1.1. กลยุทธ์[1] สร้างชุมชนออนไลน์ และเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ภูมิปัญญา องค์ความรู้ อย่างมีส่วนร่วม เพื่อการสร้างเครือข่ายที่เกี่ยวข้องอย่างยั่งยืน

1.3. เป้าประสงค์ที่ 3 มีรายได้จากการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัล

1.3.1. ตัวชี้วัด 1. รายได้จากการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัล

1.3.1.1. กลยุทธ์ สร้างรายได้จากการให้บริการระบบเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ แก่ผู้รับบริการทั้งภายในและภายนอกให้เกิดประโยชน์สูงสุด

1.4. เป้าประสงค์ที่ 4 มหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

1.4.1. ตัวชี้วัด 1. อันดับเว็บของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ RANKING WEB OF UNIVERSITIES ในระบบ Webometrics

1.4.1.1. กลยุทธ์พัฒนาและปรับการดำเนินการ ให้สอดคล้องกับเกณฑ์ที่มีการปรับเปลี่ยนของ Webometrics เพื่อยกระดับการจัดอันดับเว็บมหาวิทยาลัยแม่โจ้ RANKING WEB OF UNIVERSITIES

2. ICT61-4 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ

2.1. เป้าประสงค์ที่ 1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจที่ดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

2.1.1. ตัวชี้วัด- ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ ให้ตรงความต้องการของผู้ใช้ และผู้ใช้สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

2.1.1.1. กลยุทธ์[1] พัฒนาระบบสารสนเทศ ในรูปแบบ Data Center รองรับเทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่มีการบูรณาการข้อมูลและบริการ ระหว่างหน่วยงาน ที่นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อการตัดสินใจที่สำคัญตามสภาวกาณ์อันเป็นภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย

2.2. เป้าประสงค์ที่ 2 ระบบถูกนำไปใช้และลดค่าใช้จ่าย หรือก่อเกิดรายได้

2.2.1. ตัวชี้วัด 1) จำนวนผู้ใช้งานระบบ 2) ลดค่าใช้จ่ายในการใช้ทรัพยากร เกินร้อยละ 50 เมื่อเปรียบเทียบกับไม่ได้ใช้งานระบบ 3) ลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

2.2.1.1. กลยุทธ์ [1] ส่งเสริมและกระตุ้นการปรับปรุงข้อมูลในระบบสารสนเทศ ให้ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน

2.2.1.2. กลยุทธ์[2] ส่งเสริมการปรับปรุงกระบวนการทำงาน ลดขั้นตอน และเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมาตรฐานการปฏิบัติงาน โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และทรัพยากรร่วมกันอย่างเป็นระบบ

2.2.2. ตัวชี้วัด 4) จำนวนระบบที่มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายนอกที่ก่อให้เกิดรายได้

2.2.2.1. กลยุทธ์ [3] ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการบริหารจัดการ

3. ICT61-5 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เสริมสร้าง พัฒนาศักยภาพและทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

3.1. เป้าประสงค์ที่ 1 นักศึกษา บุคลากร ศิษย์เก่า ชุมชน มีความรู้และทักษะในการใช้งาน ICT (ICT Literacy) มีความรอบรู้สารสนเทศ (Information Literacy) และรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy)

3.1.1. ตัวชี้วัด 1) ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม 2) ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับการฝึกอบรม 3) ร้อยละเฉลี่ยของบุคลากรที่ผ่านการประเมินสมรรถนะหลักการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ในระดับที่มหาวิทยาลัยคาดหวัง

3.1.1.1. กลยุทธ์[1] ส่งเสริมและพัฒนาความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการ รวมถึงการประยุกต์ใช้ สื่อ ICT เพื่อการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา บุคลากร ศิษย์เก่า อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรอบรู้สารสนเทศ (Information Literacy) และรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) และสามารถใช้ ICT เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ การปฏิบัติงานและการบันเทิงในเชิงสร้างสรรค์ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับโอกาสและทางเลือกของเทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างหลากหลาย รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ถึงประโยชน์ของการใช้ ICT อย่างปลอดภัย

3.1.1.2. กลยุทธ์ [2] พัฒนาบุคลากรให้ สามารถใช้และประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ได้แก่การค้นหาข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ การแสดงความคิดเห็น และการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ การทำงาน

3.2. เป้าประสงค์ที่ 2 ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต/นายจ้าง

3.2.1. ตัวชี้วัด ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการระดับปานกลางขึ้นไป

3.2.1.1. กลยุทธ์ [1] เสริมสร้างความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต/นายจ้าง โดยการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีที่ตรงตามความต้องการ และสามารถประยุกต์ใช้ในงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.3. เป้าประสงค์ที่ 3 บุคลากรสายวิชาชีพเฉพาะทางด้าน ICT มีศักยภาพการพัฒนาอาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ

3.3.1. ตัวชี้วัด-จำนวนบุคลากรทางด้าน ICT ที่ได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถตามมาตรฐาน

3.3.1.1. กลยุทธ์[1] พัฒนาบุคลากรสายอาชีพ ICT ให้มีศักยภาพในการพัฒนาอาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ ในระดับประเทศ ที่สอดคล้องกับระดับภูมิภาค และระดับสากล รวมถึงสนับสนุนการวิจัยด้าน ICT ในการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้าน ICT เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้าน ICT ของประเทศ

4. ICT61-1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัล

4.1. เป้าประสงค์ที่ 1 มีโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัล ที่สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายกันได้อย่างทั่วถึง มีความมั่นคงปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

4.1.1. ตัวชี้วัด 1) ร้อยละของพื้นที่ที่ได้รับบริการ 2) สถิติการใช้งานเครือข่าย 3) จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนกลางให้บริการ 4) Softwares/Hardwares

4.1.1.1. กลยุทธ์ที่ [1] สำรวจและจัดทำแผนการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานฯ ส่วนกลาง ตามความต้องการใช้งานระบบ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอนาคต เป้าหมายการพัฒนามหาวิทยาลัย สอดคล้องกับแผนพัฒนาทางกายภาพของมหาวิทยาลัย

4.1.1.2. กลยุทธ์ที่ [2] พัฒนาระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ต แบบมีสายและไร้สาย รองรับโครงข่าย Next Generation และโครงข่ายอัจฉริยะ (Intelligent network) ของอนาคต และกระจายอย่างทั่วถึง เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายกันได้อย่างไร้ตะเข็บ

4.2. เป้าประสงค์ที่ 2 มีคุณภาพการให้บริการตามมาตรฐานสากล และประกันความมั่นคงปลอดภัยของโครงข่าย เพื่อสร้างความเชี่อมั่นในการใช้งานระบบเครือข่าย ข้อมูลสารสนเทศ การสื่อสาร และการทำธุรกรรมออนไลน์

4.2.1. ตัวชี้วัด คุณภาพการให้บริการตามมาตรฐานสากล

4.2.1.1. กลยุทธ์ที่ [1] ปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อการศึกษาและการปฏิบัติราชการที่มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพ ตรงตามความต้องการการใช้งานระบบ

4.2.1.2. กลยุทธ์ที่ [2] ประกันความมั่นคงปลอดภัยของโครงข่าย เพื่อสร้างความเชี่อมั่นและความพึงพอใจในการใช้งานระบบเครือข่าย ข้อมูลสารสนเทศ การสื่อสาร และการทำธุรกรรมออนไลน์

4.3. เป้าประสงค์ที่ 3 มีการเพิ่มมูลค่าโครงสร้างพื้นฐานทางด้าน ICT

4.3.1. ตัวชี้วัด รายได้และการร่วมลงทุนผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางด้าน ICT

4.3.1.1. กลยุทธ์ที่ [1] ทบทวน ปรับปรุง ระเบียบการจัดเก็บการเช่าใช้อุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

4.3.1.2. กลยุทธ์ที่ [2] เพิ่มมูลค่าและการลงทุนร่วมกับผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี นวัตกรรม ทางด้าน ICT

5. ICT61-2 การพัฒนาและประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนภารกิจมหาวิทยาลัย

5.1. เป้าประสงค์ที่ 1 มีระบบสนับสนุนการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21 การค้นคว้าวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม (3 ภารกิจ)

5.1.1. ตัวชี้วัด 1) จำนวนระบบ 3 ระบบ

5.1.1.1. กลยุทธ์ที่ [1] สำรวจ จัดซื้อ พัฒนา ปรับปรุงระบบสนับสนุนการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21 และการค้นคว้าวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม อย่างมีประสิทธิภาพ

5.2. เป้าประสงค์ที่ 2 ระบบถูกนำไปใช้และก่อเกิดประโยชน์ หรือรายได้

5.2.1. ตัวชี้วัด 2) ร้อยละของสื่อดิจิทัลการเรียนการสอน เพิ่มขึ้นปีละ ร้อยละ 5

5.2.1.1. กลยุทธ์ที่ [2] พัฒนาและผลิตสื่อดิจิทัลการเรียนการสอน

5.2.1.2. กลยุทธ์ที่ [3] สร้างระบบนิเวศน์ดิจิทัล ส่งเสริมการเข้าถึง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต

5.2.1.3. กลยุทธ์ที่ [4] ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาช่วยสนับสนุนด้านการเรียนการสอน และการใช้งานที่ก่อเกิดประโยชน์หรือรายได้