พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539

马上开始. 它是免费的哦
注册 使用您的电邮地址
พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 作者: Mind Map: พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539

1. ความแตกต่างระหว่างกฎ VS คำสั่งทางปกครอง

1.1. บังคับเป็นการทั่วไป vs เจาะจงตัวบุคคลเฉพาะเรื่อง

1.2. เป็นหนังสืออย่างเดียว VS เป็นวาจาหรือหนังสือก็ได้

1.3. ฟ้องศาลปกครองได้เลย Vs ต้องอุทธรณ์ก่อน

2. กระบวนการพิจารณาทางปกครอง

2.1. การเข้าสู่กระบวนการพิจารณาทางปกครอง

2.1.1. เจ้าหน้าที่(ม.12+5)

2.1.1.1. เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจในการออกคำสั่งทางปกครอง

2.1.1.1.1. เจ้าหน้าที่ที่เป็นบุคคลคนเดียว

2.1.1.1.2. เจ้าหน้าที่ที่เป็นคณะบุคคล

2.1.1.1.3. เจ้าหน้าที่ที่เป็นนิติบุคคล

2.1.1.2. หลักเจ้าหน้าที่ต้องมีความเป็นกลาง(หลักความไม่มีส่วนได้เสียของเจ้าหน้าที่)

2.1.1.2.1. สามารถคัดค้านก่อนที่จะมีคำสั่งทางปกครองได้

2.1.1.2.2. ผู้ซึ่งได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง

2.1.1.2.3. ถ้าหลังจากมีคำสั่งแล้วต้องอุทธรณ์

2.1.1.3. ผลของการพิจารณาที่ฝ่าฝืนหลักความเป็นกลางหรือหลักความมีส่วนได้เสีย

2.1.1.3.1. ไม่เสียไป(ม.17)

2.1.1.3.2. เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

2.1.1.4. ข้อยกเว้นที่ไม่นำหลักความเป็นกลางมาใช้บังคับ

2.1.1.4.1. ม.18 ล่าช้า/เสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ

2.1.2. คู่กรณี

2.1.2.1. สิทธิถูกกระทบ/อาจถูกกระทบ(ม.21)

2.1.2.1.1. ผู้ยื่นคำขอ

2.1.2.1.2. ผู้คัดค้านคำขอ

2.1.2.1.3. ผู้อยู่ในบังคับหรือจะอยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง

2.1.2.2. ผู้ที่สามารถเป็นคู่กรณี(ม.22)

2.1.2.2.1. (1)บรรลุนิติภาวะ

2.1.2.2.2. (2)กฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ

2.1.2.2.3. (3)นิติบุคคล/คณะ โดยผู้แทนหรือตัวแทน

2.1.2.2.4. (4)ตามประกาศนายก

2.1.2.3. สิทธิของคู่กรณีในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง

2.1.2.3.1. สิทธิแต่งตั้งผู้แทน(ม.24)

2.1.2.3.2. สิทธิแต่งตั้งทนายความ/ที่ปรึกษา(ม.25)

2.1.2.3.3. สิทธิที่จะได้รับแจ้งสิทธิที่ตนมี(ม.27)

2.1.2.3.4. สิทธิที่จะได้รับแจ้งสิทธิที่จะอุทธรณ์(ม.40)

2.1.2.3.5. สิทธิที่จะได้รับการรับฟังข้อเท็จจริงจากเจ้าหน้าที่ และสิทธิที่จะโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน(ม.30)

2.1.2.3.6. สิทธิที่จะตรวจดูเอกสาร(ม.31)

2.2. การดำเนินการพิจารณาทางปกครอง

2.2.1. หลักการสำคัญในการพิจารณาทางปกครอง

2.2.1.1. หลักการไต่สวนในกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริง

2.2.1.1.1. ม.28 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ตามความเหมาะสม(ระบบไต่สวน)

2.2.1.1.2. ม.29 เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐาน

2.2.1.2. หลักในการรับฟังและให้สิทธิโต้แย้งแก่คู่กรณี

2.2.1.2.1. ม.30 ให้คู่กรณีได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน

2.2.1.2.2. หลักสิทธิโต้แย้ง/หลักป้องกันตนเองของผู้ถูกกระทบสิทธิ

2.2.1.2.3. ม.31 สิทธิในการขอตรวจดูเอกสารที่จำเป็น

2.3. การเสร็จการพิจารณาทางปกครอง

2.3.1. รูปแบบของคำสั่งทางปกครอง

2.3.1.1. ม.34 ทำเป็นหนังสือ/วาจา/รูปแบบอื่น

2.3.1.1.1. กรณีเป็นหนังสือ

2.3.1.1.2. กรณีด้วยวาจา

2.3.1.1.3. กรณีทำโดยวิธีอื่น

2.3.2. การกำหนดเงื่อนไขในคำสั่งทางปกครอง

2.3.3. ข้อยกเว้นในผลของการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการออกคำสั่งทางปกครอง

2.3.4. การมีผลใช้บังคับของคำสั่งทางปกครอง

2.3.5. การสิ้นผลบังคับของคำสั่งทางปกครอง

2.4. การทบทวนคำสั่งทางปกครอง

2.5. การบังคับการตามคำสั่งทางปกครอง

3. ขอบเขตการบังคับใช้(ม.3)

3.1. เป็นกฎหมายกลาง

3.2. หลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม

3.2.1. หลักสิทธิโต้แย้ง(ม.30)

3.3. มาตรฐานในการปฏิบัติราชการ

3.3.1. เช่น

3.3.1.1. คำสั่งทางปกครองต้องทำเป็นหนังสือและระบุเหตุผล(ม.37)

3.4. ข้อยกเว้น(ม.4)

3.4.1. (1)รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี

3.4.1.1. -> เป็นการกระทำทางการเมืองของฝ่ายบริหาร

3.4.2. (2)องค์กรที่ใช้อำนาจตามรธน. โดยเฉพาะ

3.4.3. (3)การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ในงานทางนโยบายโดยตรง

3.4.3.1. ->การกระทำทางการเมือง

3.4.4. (4)การพิจารณาพิพากษาคดีของศาล และการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคดี การบังคับคดี และการวางทรัพย์

3.4.4.1. ->การกระทำทางตุลาการ

3.4.5. (5)การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ และการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา

3.4.5.1. ->ไม่มีแล้ว

3.4.6. (6)การดำเนินงานเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ

3.4.6.1. ->การกระทำทางการเมือง

3.4.7. (7)การดำเนินงานเกี่ยวกับราชการทหาร หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหาร ในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ

3.4.8. (8)การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

3.4.8.1. ->การกระทำทางตุลาการ

3.4.9. (9)การดำเนินกิจการขององค์การทางศาสนา

4. บทวิเคราะห์ศัพท์(ม.5)

4.1. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

4.1.1. เตรียมการ/ดำเนินการ ให้มีคำสั่งทางปกครอง/กฎ/การดำเนินการใดๆในทางปกครอง

4.2. การพิจารณาทางปกครอง

4.2.1. เตรียมการ/ดำเนินการ ให้มีคำสั่งทางปกครอง

4.3. คำสั่งทางปกครอง

4.3.1. เกิดนิติสัมพันธ์

4.3.2. กระทบต่อสถานภาพของสิทธิ/หน้าที่ของบุคคล

4.4. กฎ

4.5. เจ้าหน้าที่

4.6. คู่กรณี

5. กฎ

5.1. ความหมาย

5.1.1. ตามพรบ.นี้ ม.5 และ พรบ.จัดตั้งศาลปกครองฯ ม.3

5.1.1.1. (ก)พระราชกฤษฎีกา

5.1.1.2. (ข)กฎกระทรวง

5.1.1.3. (ค)ประกาศกระทรวง

5.1.1.4. (ง)ข้อบัญญัติท้องถิ่น

5.1.1.4.1. ข้อบัญญัติ อบจ.

5.1.1.4.2. ข้อบัญญัติ อบต.

5.1.1.4.3. เทศบัญญัติ

5.1.1.4.4. ข้อบัญญัติ กทม.

5.1.1.4.5. ข้อบัญญัติเมืองพัทยา

5.1.1.5. (จ)ระเบียบ

5.1.1.6. (ฉ)ข้อบังคับ

5.1.1.7. (ช)ข้อบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

5.2. ลักษณะสำคัญของกฎ

5.2.1. ต้องเป็นบุคคลทีี่ถูกนิยามไว้เป็นประเภท

5.2.2. ต้องเป็นกรณีที่ถูกกำหนดไว้อย่างเป็นนามธรรม

6. คำสั่งทางปกครอง

6.1. ลักษณะสำคัญของคำสั่งทางปกครอง

6.1.1. ต้องเป็นการใช้อำนาจรัฐตามกฎหมาย

6.1.1.1. กฎหมายปกครอง

6.1.2. ต้องเป็นการใช้อำนาจของ เจ้าหน้าที่ทางปกครอง

6.1.3. ต้องเป็นการกำหนดสภาพทางกฎหมาย

6.1.4. เป็นคำสั่งที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงตัวบุคคล หรือเฉพาะเรื่อง เฉพาะกรณี

6.1.5. ต้องมีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

6.1.5.1. เช่น มติที่ประชุม ไม่เป็นคำสั่งทางปกครอง

6.1.6. "การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง"

6.1.6.1. 1.การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาหรือให้สิทธิประโยชน์ ในกรณีของ

6.1.6.1.1. (ก)สั่งรับหรือไม่รับ คำเสนอขาย รับจ้าง แลกเปลี่ยน ให้เช่าซื้อ เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์

6.1.6.1.2. (ข)การอนุมัติสั่งซื้อ จ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย ให้เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์

6.1.6.1.3. (ค)การสั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณาคำเสนอ หรือการดำเนินการอื่นใดในลักษณะเดียวกัน

6.1.6.1.4. (ง)การสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน

6.1.6.2. 2.การให้หรือไม่ให้ทุนการศึกษา

6.2. คำสั่งทางปกครองและคำสั่งทางปกครองทั่วไป

6.2.1. คำสั่งทางปกครองทั่วไป

6.2.1.1. บังคับทั่วไปไม่ระบุตัวเจาะจงตัวบุคคล(เฉพาะเรื่องไม่เฉพาะราย)

6.2.1.1.1. ex. ประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน

6.2.1.2. ไม่ต้องอุทธรณ์ตาม ม.44

6.2.1.2.1. ฟ้องคดีตาม พรบ.จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา42 ได้เลย

6.2.2. คำสั่งทางปกครอง(เฉยๆ)

6.2.2.1. เฉพาะเรื่องเฉพาะราย

6.2.2.2. ต้องอุทธรณ์ก่อน

6.3. ประเภทของคำสั่งทางปกครอง

6.3.1. คำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย

6.3.1.1. อาจเพิกถอนได้(ม.53)

6.3.1.2. ศาลปกครองไม่มีอำนาจยกเลิกหรือเพิกถอน

6.3.2. คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

6.3.2.1. มีสภาพบังคับจนกว่าจะเพิกถอน(ม.42ว.2)

6.3.2.2. ฝ่ายปกครองเพิกถอนได้เสมอ(ม.49-52)

6.3.2.3. ฟ้องศาลปกครองได้

6.3.3. คำสั่งทางปกครองที่ไม่สมบูรณ์(ม.41)

6.3.3.1. กลายเป็นคำสั่งที่สมบูรณ์ภายหลังได้