พื้นฐานเกี่ยวกับเว็บไซต์ทางการศึกษา

马上开始. 它是免费的哦
注册 使用您的电邮地址
พื้นฐานเกี่ยวกับเว็บไซต์ทางการศึกษา 作者: Mind Map: พื้นฐานเกี่ยวกับเว็บไซต์ทางการศึกษา

1. 2.ทฤษฎีและหลักการพื้นฐานสำหรับออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ทางการศึกษา

1.1. 1. ทฤษฎีการเรียนรู้

1.1.1. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorist Theory) ที่เน้นเรื่องการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้อย่างมีความหมายและมีระบบโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้เดิมและการเชื่อมโยงไปสู่ความรู้ใหม่

1.1.2. ทฤษฎีพุทธิปัญญา (Cognitive Theory) การใช้กลวิธีที่ให้ผู้เข้ารับการเรียนการสอนได้เข้าถึงสื่อการเรียนการสอนได้มากที่สุด เพื่อให้ผู้เข้ารับการเรียนการสอนสามารถถ่ายโอนสิ่งที่ได้รับผ่านประสานสัมผัสไปยังหน่วยความจากระยะสั้น เช่น การอ่าน การมอง และการสัมผัส

1.1.3. ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory) การจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เข้ารับการเรียนการสอนมีส่วนร่วมและวิทยากร ตั้งคำถามหรือเสนอสถานการณ์ปัญหากระตุ้นให้ผู้รับการเรียนการสอนคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา วิทยากร ในฐานะที่เป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้จะต้องจึงเตรียมแหล่งข้อมูลให้เพียงพอต่อการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการเรียน การสอน อันจะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่

1.2. 2. ทฤษฎีระบบ (Systems Theory)

1.2.1. ประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วนคือ Systemic เชื่อว่า ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการออกแบบการสอนอย่างเป็นระบบ (Organized approach) นำไปสู่ นวัตกรรมการสอน (Instruction innovation) ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของผลงานในภาพรวมหรือกระบวนการ ในขณะที่ Systematic พิจารณาแนวคิดจากนวัตกรรมซึ่งอาจอยู่ในรูปของผลงาน กฎเกณฑ์ หรืกระบวนการ ที่ได้นำไปเผยแพร่หรือปรับใช้ในองค์กร โดยเน้นที่ผลลัพธ์ที่ได้จากนวัตกรรมนั้นๆ

1.3. 3. ทฤษฎีติดต่อสื่อสาร (Communication Theory)

1.3.1. ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญองค์ประกอบ หนึ่ง ซึ่งจะเน้นในเรื่องกระบวนการส่งผ่านและถ่ายโอนข้อมูล (Message) ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดจากผู้ส่งสาร(Sender) ไปยังผู้รับสาร (Receiver) และผลย้อนกลับ (Feedback) จากผู้รับสารมายังผู้ส่งสาร และการลดสิ่ง แทรกแซง (noise) ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ผู้รับสารได้กระจ่างและถูกต้องที่สุด ดังนั้นการออกแบบสาร (Message Design) จึงถือเป็นองค์ประกอบส าคัญในการออกแบบการสอนแบบออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ การออกแบบหน้าเว็บที่เหมาะสม (webpage layout) การประยุกต์ใช้หลักการติดต่อสื่อสาร (Communication principle) เพื่อสร้างระบบน าทางที่เหมาะสม (Navigation) ด้วยการใช้ปุ่ม (buttons) สัญรูป (icon) และการเชื่อมโยง (hypermedia) ด้วยข้อความ (text) และสื่อรูปแบบต่างๆ เช่น เสียง (audio) วีดีทัศน์ (video) และสื่อประสม (multimedia) โดยแนวคิดการออกแบบสารต่างๆ เหล่านี้จะใช้เรื่องการสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

1.4. 4. รูปแบบการเรียนการสอน (ID Models)

1.4.1. แบบจำลอง ADDIE ย่อมาจาก Analysis, Design, Development, Implementation, Evaluation โดยหลักการน าไปใช้คือผลรับที่ได้ในแต่ละขั้นจะนำไปสู่ในขั้นต่อๆ ไป

1.4.2. หลักการออกแบบของ ADDIE model

1.4.2.1. 1. ขั้นการวิเคราะห์ Analysis

1.4.2.2. 2. ขั้นการออกแบบ Design

1.4.2.3. 3. ขั้นการพัฒนา Development

1.4.2.4. 4. ขั้นการนำไปใช้ Implementation

1.4.2.5. 5. ขั้นการประเมินผล Evaluation

1.5. 5. การศึกษาทางไกล (Distance Education)

1.5.1. เป็นการศึกษาซึ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนที่มีข้อจำกัดใน เรื่องของเวลาและสถานที่ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน จำแนกออกเป็น 3 ประเภท

1.5.1.1. 1.การเรียนที่ผู้รู้เรียนอยู่ต่างสถานที่และเข้าเรียนต่างเวลา e-mail และกระดานสนทนาจึงถูกใช้เป็นเครื่องมือหลักในการติดต่อสื่อสาร

1.5.1.2. 2. การเรียนที่ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียนและผู้สอนเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันแต่ต่างสถานที่ เช่น การใช้ chatเพื่อการสนทนาโต้ตอบและ

1.5.1.3. 3.การเรียนแบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous) ที่ผู้เรียนและผู้สอน เข้าร่วมการเรียนการสอนต่างเวลากัน

2. 3.องค์ประกอบของเว็บไซต์ทางการศึกษา

2.1. 1. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Courseware) เป็นเนื้อหาสาระที่นำเสนอในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นสื่อประสม โดยเน้นการออกแบบที่ใช้วิธีการ กลยุทธ์และการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ตามความต้องการตลอดจนอาจมีแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบเพื่อให้ผู้เรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดเล็ก สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ โดยการจัดเรียงลำดับเนื้อหาใหม่เกิดเป็นบทเรียนใหม

2.1.1. 1.วัตถุประสงค์การเรียนรู้

2.1.2. 2.หน่วยการเรียนรู้

2.1.3. 3.แบบทดสอบ

2.2. 2. การติดต่อสื่อสาร (Communication) เครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ ติดต่อ สอบถามปรึกษาหารือและ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เรียนและผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนร่วมชันเรียนคนอื่นๆโดยเครื่องมือที่ใช้ ในการติดต่อสื่อสารอาจแยกได้เป็น 2 ประเภท

2.2.1. 1.แบบประสานเวลา (Synchronous)

2.2.2. 2.แบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous)

2.2.3. เครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ ในการติดต่อสื่อสารออนไลน์ที่เป็นที่นิยม

2.2.3.1. แช็ท (Chat) เป็นการสื่อ สารแบบประสานเวลา ซึ่งเหมาะกับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศในกลุ่ม เดียวกัน และสามารถทบทวนไฟล์การสนทนาของกลุ่มได้

2.2.3.2. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) เป็นการสื่อสารแบบไม่ประสานเวลา ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้สอนหรือเพื่อนร่วมชันเรียนได้โดยส่งข้อความในรูปจดหมายพร้อมทังแนบไฟล์ ไปยังพื้นที่ส่วนตัวของผู้รับจึงสามารถนาไปประยุกต์ใช้ได้กบการปรึกษารายบุคคล การส่งงานและการให้ ข้อมูล ปอนกลับแก่ผู้เรียน

2.2.3.3. กระดานอภิปรายและกระดานประกาศ (Discussion Board and Bulletin Board) เป็นการสื่อสารแบบไม่ประสานเวลา ซึงสนับสนุนให้ผู้สอนและผู้เรียนประกาศข้อความ ไฟล์และสารสนเทศ ในพื้นที่ที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้และผู้สอนและผู้เรียนสามารถโต้ ตอบหรือดาวน์โหลดไฟล์เหล่านั้นได้ ซึ่งผู้เรียนสามารถติดตามการสนทนาโต้ ตอบในประเด็นที่ต้องการได้

2.2.3.4. บล็อก (Blog) เป็นการสื่อสารแบบไม่ประสานเวลา ซึงสนับสนุนให้ ผู้เรียนเขียนบันทึก การเรียนรู้ประจาวันและเปิดโอกาสให้ผู้สอนและเพื่อนร่วมชันเรียนสามารถให้ข้อมูลปอนกลับเสนอข้อคิดเห็น หรือคำแนะนาแนบไปกับบันทึกนั้นได้

2.2.3.5. วิกิ (Wiki) เป็นการสื่อสารแบบไม่ประสานเวลา โดยสนับสนุนให้ผู้เรียนและกลุ่มสามารถสร้างและ แก้ไขเอกสารร่วมกัน ซึ่งสนับสนุนการเรียนแบบร่วมมือทั้งนี้กลุ่มผู้เรียนสามารถบันทึกและร่วมกันทางานในพื้นที่ ส่วนกลางร่วมกัน โดยผู้สอนอาจใช้เครื่องมือการติดต่อสื่อสารอื่นร่วมด้วย เพื่อให้ สมาชิกในกลุ่มได้ ร่วมอภิปราย

2.3. การประเมินผลการเรียน (Assessment and Evaluation)

2.3.1. องค์ประกอบที่ผู้สอนควรนามาพิจารณาผลการเรียนรู้ของผู้เรียนประกอบการประเมิน

2.3.1.1. 1.จำนวนครั้งการเข้าเรียนในห้องเรียน หรือในบทเรียนออนไลน์หรือการเข้าร่วม กิจกรรมบนออนไลน์

2.3.1.2. 2.เวลาที่เข้าใช้ ในแต่ละบทเรียน

2.3.1.3. 3.ความถี่ในการแสดงความคิดเห็นหรือการอภิปราย

2.3.1.4. 4.คุณภาพของการแสดงความคิดเห็นหรือการอภิปราย

2.3.1.5. 5.การบ้านและงานที่ได้ รับมอบหมาย และโครงงานต่างๆ

2.3.1.6. 6.คุณภาพของการเขียนบันทึกการเรียนรู้ประจำวัน

2.3.1.7. 7. แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์

3. 1.ความเป็นมาและความหมายของเว็บไซต์ทางการศึกษา และเว็บไซต์เชิงโต้ตอบ

3.1. ความเป็นมาของเว็บไซต์ทางการศึกษา

3.1.1. ยุคที่ 1 คือ ช่วงปลายปี พ.ศ. 2442 ซึ่งใช้จดหมายเป็นสื่อ นักเรียนและผู้สอนติดต่อกันโดยการ เขียนสื่อสารกันเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร

3.1.2. ยุคที่ 2 คือ มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) ซึ่งเริ่มขึ้นประมาณปี พ .ศ. 2513

3.1.3. ยุคที่ 3 คือ การศึกษาทางไกลเริ่มขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2523 มาพร้อมกับวิดีโอเทป การกระจาย เสียง ดาวเทียม และสายเคเบิ้ล

3.1.4. ยุคที่ 4 คือ การเรียนการสอยผ่านเว็บ โดยเน้นการให้ความรู้ผ่านทางเวิร์ด ไวด์ เว็บ โดย บทเรียนส่วนใหญ่ยังมีเนื้อหาที่นิ่งและผู้เรียนเข้าศึกษาบทเรียนในลักษณะของ passive learners

3.1.5. ยุคที่ 5 คือ ยุคอีเลิร์นนิง เป็นยุคของการศึกษาทางไกลที่พัฒนามาจากยุคที่ 4 โดยใช้เทคโนโลยี ทุกประเภทของอินเตอร์เน็ต โดยยุคที่ 5 ของการศึกษาทางไกลจะเน้นบทเรียน ที่มีการสร้างองค์ความรู้ใหม่อยู่ เสมอจะการร่วมระดมสมองผ่านชุมชนแห่งการเรียนต่าง (Community of learning) การเรียนการสอนจะเน้น ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมเชิงรุก (Active) มีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับผู้สอน ผู้เรียนด้วยกันเอง บทเรียน และระบบ บริหารจัดการเรียนการสอน และเน้นบทเรียน (Courseware) ในลักษณะมัลติมีเดีย (Multimedia)

3.2. ความหมายของเว็บไซต์ทางการศึกษา

3.3. การใช้เว็บเพื่อการเรียนการสอนเป็นการนำเอาคุณสมบัติของอินเทอร์เน็ต มาออกแบบเพื่อใช้ในการศึกษา การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) มีชื่อเรียกหลายลักษณะ เช่น การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ เว็บการเรียน เว็บฝึกอบรม อินเทอร์เน็ตฝึกอบรม อินเทอร์เน็ตช่วยสอน เวิลด์ไวด์เว็บฝึกอบรม และเวิลด์ไวด์เว็บช่วยสอน

4. 4.ขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ทางการศึกษา

4.1. กระบวนการในการพัฒนาเว็บไซต์สาหรับการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่งตามแนวทางของ ADDIE Instructional Design Model

4.1.1. 1.การวิเคราะห์ (Analysis)

4.1.1.1. ฝ่ายผู้ผลิต/ผู้ดูแลเว็บไซต์ (Webmaster) : การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของเว็บไซต์กลุ่มผู้ชม/เป้าหมายเนื้อหา และศึกษาแหล่งข้อมูลต่างๆ

4.1.1.2. ฝ่ายผู้สอนและ/หรือนักออกแบบการเรียนการสอน : การวิเคราะห์ (Analysis) คือการวิเคราะห์ วัตถุประสงค์ของบทเรียน ผู้เรียน พื้นฐานของผู้เรียน เนื้อหา แหล่งความรู้ และสื่อที่เหมาะสม

4.1.2. 2.การออกแบบ (Design)

4.1.2.1. ฝ่ายผู้ผลิต/ผู้ดูแลเว็บไซต์ (Webmaster) : การออกแบบ (Design) คือการกำหนดโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure) รายละเอียดหน้าเว็บเพจทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์

4.1.2.2. ฝ่ายผู้สอนและ/หรือนักออกแบบการเรียนการสอน : การออกแบบ (Design) คือ การกำหนดโครงสร้าง แผนขั้นตอนการดาเนินงานและการประเมินบทเรียนอย่างเป็นระบบเช่น การออกแบบเนื้อหาและกิจกรรมแบบ ประสานเวลา (Synchronous) แบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous) หรือแบบผสมผสาน (Blended หรือ (Hybrid) เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทเรียน พื้นฐานของผู้เรียนและเนื้อหา

4.1.3. 3.การพัฒนา (Development)

4.1.3.1. ฝ่ายผู้ผลิต/ผู้ดูแลเว็บไซต์ (Webmaster) : การพัฒนา (Development) คือการสร้างเว็บไซต์โดยเริ่ม จากการกำหนดแผนการดาเนินงานผลิตอย่างเป็นขั้นตอนตาม Storyboard ที่ได้ระบุเนื้อหา รูปแบบของเนื้อหา ในแต่ละหน้าเว็บเพจ รวมถึงรูปภาพ เสียง วีดิทัศน์ และอื่นๆ เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของเว็บไซต

4.1.3.2. ฝ่ายผู้สอนและ/หรือนักออกแบบการเรียนการสอน: การพัฒนา (Development)คือการสร้างบทเรียน โดยเริ่มจากการก าหนดแผนการดาเนินงานผลิตอย่างเป็นขั้นตอนด้วยการเขียน Storyboard โดยระบุเนื้อหา รูปแบบของเนื้อหาที่จะใช้ เช่น รูปภาพ เสียงบรรยายวีดิทัศน์ และผู้รับผิดชอบเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของ บทเรียนและการประเมินบทเรียนอย่างเป็นระบบ

4.1.4. 4.การนำไปใช้(Implementation)

4.1.4.1. ฝ่ายผู้ผลิต/ผู้ดูแลเว็บไซต์ (Webmaster) : การนาไปใช้ (Implementation) คือ การนาเว็บไซต์ที่สร้าง เสร็จไปใช้งานจริงหลังจากที่ได้มีการทดลองนาไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายและได้ปรับแก้ตามข้อเสนอแนะเพื่อ ปรับปรุงแก้ไขแล้ว นอกจากนี้อาจมีการตรวจเช็คและขอค าแนะนาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนา เว็บไซต์

4.1.4.2. ฝ่ายผู้สอนและ/หรือนักออกแบบการเรียนการสอน : การนาไปใช้ (Implementation) คือ การนำ บทเรียนที่สร้างเสร็จไปใช้งานจริงหลังจากที่ได้มีการทดลองนาไปใช้โดยกลุ่มนักออกแบบและนักพัฒนาบทเรียนแล้ว โดยในบทเรียนหนึ่งจะมีคำอธิบายการนำบทเรียนไปใช้สำหรับผู้สอน การเตรียมความพร้อมผู้เรียน และการ เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือสาหรับบทเรียนนั้น ๆ เพื่อให้สามารถนำบทเรียนไปใช้อย่างได้ผลสูงสุด

4.1.5. 5.การวัดผลและการประเมิน (Evaluation)

4.1.5.1. ฝ่ายผู้ผลิต/ผู้ดูแลเว็บไซต์ (Webmaster) : การวัดผลและการประเมิน (Evaluation) คือ การวัดผลและ การประเมินจะต้องทาอย่างมีระบบโดยวัดที่คุณภาพและประสิทธิภาพของขั้นตอนการออกแบบเว็บไซต์รวม ทั้งสิ้นผลงานเว็บไซต์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อน าไปปรับปรุงแก้ไขในการดาเนินงานครั้งต่อๆ ไป และเพื่อ เป็นการเปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้งานจริง

4.1.5.2. ฝ่ายผู้สอนและ/หรือนักออกแบบการเรียนการสอน : การวัดผลและการประเมิน (Evaluation) การ วัดผลและการประเมินจะต้องทาอย่างมีระบบโดยวัดที่คุณภาพและประสิทธิภาพของขั้นตอนการออกแบบ บทเรียนรวมทั้ง ผลงานบทเรียน

4.1.5.2.1. การประเมินผลระหว่างขั้นตอนพัฒนา (Formative Evaluation) เป็นการเก็บข้อมูลเพื่อนาไปปรับปรุงแก้ไขในการดาเนินงานครั้งต่อๆไป

4.1.5.2.2. การประเมินผลเมื่อพัฒนาบทเรียนเรียบร้อยแล้ว (Summative Evaluation) เพื่อเป็นการเปิดโอกาสสำหรับความคิดเห็นจากผู้ใช้งานจริง

5. 5. โครงสร้างเว็บไซต์ทางการศึกษา

5.1. การจัดวางองค์ประกอบอย่างเป็นระบบการจัดลำดับเนื้อหา ตามความสำคัญอย่างมีระเบียบ และการออกแบบเว็บไซต์อย่างมีสุนทรียภาพนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยการจัดทาโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure) แบ่งออกเป็น 4 ประเภทตามแนวทางของ Lynch and Horton

5.1.1. แบบขนาน (Linear) หรือแบบ Sequence (เรียงลาดับ) เหมาะสำหรับเว็บไซต์ทีเนื้อหาน้อยและมีโครงสร้างเนื้อหาที่ไม่ซบซ้อนโดยผู้พัฒนาต้องการให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาไปตามลาดับที่ได้กำหนดไว้

5.1.2. แบบไม่ขนาน (Non-linear) เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเสริมในบางหัวข้อผู้พัฒนา จึงพยายามที่จะออกแบบเว็บไซต์ที่ผู้เรียนสามารถเข้าไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมในหัวข้อนั้นๆ

5.1.3. แบบลำดับขั้น(Hierarchies) เหมาะสาหรับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหามากและมีโครงสร้างเนื้อ หาที่ ซับซ้อนผู้พัฒนาจึงพยายามที่ จะออกแบบเว็บไซต์ที่ผู้เรียนสามารถเข้าไปศึกษาเนื้อหาได้ง่ายยิ่งขึ้น

5.1.4. แบบเว็บ (Web)เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาซับซ้อนและมีความเชื่อมโยงระหว่างหัวข้อค่อนข้างมาก ผู้พัฒนาจึงออกแบบให้ผู้เรียนสามารถศึกษาเนื้อหาโดยการคลิกเชื่อมโยงเนื้อหาในส่วนต่างๆ ได้ ตามต้องการ